Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /home/idomy/domains/vlovepeugeot.com/public_html/forum/Sources/Load.php(249) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /home/idomy/domains/vlovepeugeot.com/public_html/forum/Sources/Load.php(249) : runtime-created function on line 3
 พิมพ์หน้านี้ - หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9

Vlovepeugeot ชมรมคนรักเปอโยต์ (เปอร์โยต์) ประเทศไทย

มีปัญหา /สอบถาม /ให้คำแนะนำ รถยนต์ peugeot แต่ละรุ่น => 40X => ข้อความที่เริ่มโดย: zuzarz ที่ วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2009 เวลา 20:37:41



หัวข้อ: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2009 เวลา 20:37:41
    บทความนี้เกิดขึ้นจากการ ขุดคุ้ย-ค้น-คว้า-ถาม-ฟัง แล้วรวบรวมมาเล่าสู่กัน หวังเพียงเพื่อให้ได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกับอุปกรณ์และหลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ที่ได้นำเอาเทคโนโลยีเครื่องยนต์กลไกและอิเล็กทรอนิกส์มาผสมผสานกัน ช่วยให้เห็นภาพการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กันของระบบต่างๆ  อันเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการช่วยวิเคราะห์ปัญหาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ทั้งนี้ผู้เล่าเรื่องเองก็มิได้เป็นผู้รู้จริงแต่อย่างใด แต่เขียนขึ้นตามความเข้าใจของตนเองเป็นหลักจึงต้องมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนบ้างเป็นแน่ และการใช้คำศัพท์บางคำอาจแตกต่างออกไปบ้างและหากมีข้อผิดพลาดอันใดใคร่ขอคำชี้แนะจากท่านด้วยความเคารพ  และถ้าท่านมีข้อมูลดีๆที่เป็นประโยชน์ได้โปรดแบ่งปัน การที่มีภาษาอังกฤษติดปนมาด้วยก็เพื่อให้ท่านสามารถนำคำนั้นๆไปค้นหาความรู้เพิ่มเติมต่อยอดได้อีกทางหนึ่ง
   บทความนี้จะเล่าให้ฟังไปทีละระบบว่ามีส่วนประกอบ, หน้าที่และหลักการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ควรรู้ รวมถึงระบบเครือข่ายการถ่ายโอนและใช้ข้อมูลร่วมกัน (Multiplex Network) และการ Reset BSI ในอีกรูปแบบหนึ่ง และคาดหวังว่าเรื่องเล่านี้คงจะพอมีสาระประโยชน์อยู่บ้าง
   เรามาเริ่มทำความรู้จักกับองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์รุ่น EW10J4 ที่ติดตั้งอยู่ใน Peugeot 406 EA9 ที่ชื่อว่า Magneti  Marelli 4.8P กันพอสังเขปดังต่อไปนี้


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2009 เวลา 20:40:32
   ระบบควบคุมเครื่องยนต์ - Engine Management Systems (EMS)
   ระบบควบคุมเครื่องยนต์นี้จะมี หน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ECU) ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับมาจากตัวตรวจจับสัญญาณ (Sensors) ต่างๆ แล้วส่งสัญญาณไปสั่งการให้อุปกรณ์ทำงาน (Actuators) ต่างๆ   โดยที่ข้อดีของการใช้ระบบที่ควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิคส์คือ การทำให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและช่วยลดปริมาณการปล่อยมลพิษสู่ออกบรรยากาศ
   การทำงานสามารถแบ่งออกเป็นระบบย่อยๆได้ 8 ระบบ กับอีก 1 เครือข่าย ดังนี้ คือ
    1. ระบบบรรจุอากาศ - Air Supply System
    2. ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง - Fuel Supply System
    3. ระบบการจุดระเบิด - Ignition System
    4. ระบบการฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง - Injection System
    5. ระบบควบคุมมลภาวะ - Emission Control System
    6. ระบบระบายความร้อนให้เครื่องยนต์ - Engine Cooling System
    7. ระบายความร้อนให้กับระบบแอร์ - Cooling requirement for Air condition Cooling System
    8. หน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ - Electronic Control Unit (ECU)
และกับอีกหนึ่งขบวนการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนข้อมูล
    9. ระบบเครือข่ายข้อมูล - Multiplex Network

   ซึ่งต่อจากนี้ไปเราจะมาทำความเข้าใจกับระบบต่างๆว่ามีหน้าที่และหลักการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
แต่ก่อนอื่นเรามาดูแผนผังแสดงวงจรไฟฟ้าของ ระบบควบคุมเครื่องยนต์  Magneti  Marelli 4.8P และภาพแสดงตำแหน่งที่ตั้งของอุปกรณ์ต่างๆกันก่อน


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2009 เวลา 20:42:00
ผังแสดงโครงสร้างโดยรวมของระบบ MM4.8P ใน Peugeot 406 ea9, EW10J4 - Engine


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2009 เวลา 20:42:58
แผนผังแสดงวงจรไฟฟ้าของ ระบบควบคุมเครื่องยนต์  Magneti  Marelli 4.8P


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2009 เวลา 20:44:51
ภาพแสดงตำแหน่งที่ตั้งของอุปกรณ์ต่างๆ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2009 เวลา 20:46:39
  โปรดติดตามตอนต่อไป
- ระบบบรรจุอากาศ (Air Supply System)


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2009 เวลา 12:30:34
1  ระบบบรรจุอากาศ (Air Supply System)
   ระบบบรรจุอากาศ ประกอบด้วย กรองอากาศ, ชุดปีกผีเสื้อควบคุมปริมาณอากาศ, มอเตอร์เดินเบา, ตัวทำความร้อนให้เรือนปีกผีเสื้อ, มาตรวัดความดันอากาศ และ ท่อร่วมไอดี

แผนผังแสดงระบบบรรจุอากาศ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2009 เวลา 12:31:28
1.1   Idle Control Stepper Motor - มอเตอร์เดินเบา
      Idle Control Stepper Motor มีหน้าที่ควบคุมรอบเดินเบาให้คงที่ โดยการปรับแต่งปริมาณอากาศที่ข้ามผ่านชุดลิ้นปีกผีเสื้อที่ปิดอยู่เข้าไป โดยมี ECU เป็นผู้กำหนดตำแหน่งการปิด-เปิดวาล์วเพื่อปรับปริมาณอากาศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสัญญาณและสภาวะต่างๆที่ ECU ได้รับ เพื่อรักษารอบเดินเบาให้คงที่แม้เครื่องยนต์จะมีภาระแตกต่างกันเช่น รอบเดินเบาในขณะเครื่องยนต์เย็น, ขณะร้อน, ขณะมีภาระจากคอมเพรสเซอร์แอร์, เมื่อใช้กระแสไฟฟ้ามาก, ขณะเปลี่ยนตำแหน่งคันเกียร์จาก P หรือ N ไปเกียร์อื่นๆเป็นต้น
       การทำงานของมอเตอร์เดินเบา ประกอบด้วย Stepper Motor และมีชุดวาล์วเคลื่อนที่ปิด-เปิด ช่องทางให้อากาศผ่านประกอบอยู่ในชุดเดียวกัน
        Stepper Motor ประกอบด้วย Rotor (แกนหมุน) ที่มีแท่งแม่เหล็กถาวรวางเรียงสลับขั้ว N, S กันโดยรอบ และ Stator ที่ติดอยู่กับตัวเสื้อของมอเตอร์ โดย Stator นี้จะประกอบด้วยแกนเหล็กอ่อนที่ถูกพันขดลวด วางเรียงรายโดยรอบ   แกนเหล็กของ Stator นี้จะมี2ชุดคือชุดที่ถูกพันขดลวด Coil A และ Coil B วางอยู่ในแนวเดียวกัน แต่พันขดลวดต่างทิศทางกัน ดังนั้นเมื่อจ่ายไฟให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าขดลวดทีละชุด กระแสไฟฟ้าก็จะเหนี่ยวนำให้แกนเหล็กอ่อนเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีขั้วต่างกันเป็นขั้ว N และ S และขั้วแม่เหล็กไฟฟ้านี้จะมีแรงในการดูด-ผลักกับขั้วแม่เหล็กถาวรที่อยู่บน Rotor เป็นจังหวะตามการสั่งจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แต่ละ Coil โดย ECU    ฉะนั้นเมื่อมีแรงดูด-ผลักกันขึ้นก็จะทำให้ Rotor หมุนไปเป็นขั้นๆนั่นเอง   และ ECU จะสั่งเปลี่ยนขั้วกระแสไฟฟ้าที่จ่ายเข้า Coil เมื่อต้องการกลับทิศทางการหมุนของ Rotor  
        ชุดวาล์วเคลื่อนที่จะมีแกนที่ทำเกลียวไว้ให้หมุนเข้าไปในชุด Rotor   ดังนั้นเมื่อ Rotor หมุนแกนของชุดวาล์วก็จะเคลื่อนที่ เข้า-ออก ไปปิด-เปิด ช่องทางอากาศผ่านนั่นเอง  
        
 ภาพประกอบเคลื่อนไหวจาก Link :  http://www.usna.edu/EE/ee461/Homework/StepperMotorConstructionAllPhases1.gif
ภาพประกอบโครงสร้างและหลักการทำงานของ Idle Control Stepper Motor

        


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2009 เวลา 12:36:41
1.2   Throttle Housing Heater Resistor - ตัวทำความร้อนให้เรือนปีกผีเสื้อ
       Throttle Housing Heater Resistor   เป็นขดลวดความร้อน มีไว้ป้องกันไม่ให้เกิดน้ำแข็งจับตัวขึ้นที่ชุดลิ้นปีกผีเสื้อ   โดยมี ECU เป็นผู้ควบคุมการทำงานทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายนอก
                                                   ***************


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2009 เวลา 12:41:55
1.3   Manifold Absolute Pressure (MAP) Sensor หรือ Inlet Air Pressure Sensor ? เซ็นเซอร์วัดความดัน อากาศในท่อร่วมไอดี
      MAP Sensor นับเป็นอุปกรณ์หลักที่มีความสำคัญมากอีกตัวหนึ่ง มีหน้าที่คอยตรวจวัดค่าความดันอากาศในท่อร่วมไอดี แล้วส่งสัญญาณเป็นแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ให้ ECU ใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลร่วมกับข้อมูลที่ได้จาก Engine Speed Sensor และ Inlet Air Temperature Sensor เพื่อให้ทราบว่าในขณะนั้นเครื่องยนต์มีความต้องการปริมาณมวลอากาศต่อ1 รอบของเครื่องยนต์เท่าใด   แล้วจึงสั่งการให้ทำการปรับเปลี่ยนระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่หัวฉีด
      ขณะเครื่องยนต์มีภาระมากขึ้นความดันในท่อร่วมไอดีจะเพิ่มขึ้นตามการเปิดลิ้นปีกผีเสื้อ เครื่องยนต์ก็จะดูดอากาศได้มากขึ้น จึงมีความต้องการปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นด้วย เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์
     การทำงานของอุปกรณ์  จะใช้คุณสมบัติของสารที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานไฟฟ้าได้ตามความดัน   โดยใช้ Silicon แผ่นบางๆปิดไว้ที่ปลายข้างหนึ่งของท่อสุญญากาศที่ยื่นเข้าไปในห้องสุญญากาศโดยสมบูรณ์ และแผ่น Silicon นี้จะต่อวงจรเข้ากับตัว IC เมื่อแรงดันในท่อร่วมไอดีเปลี่ยนแปลงแผ่น Silicon ก็จะโก่งตัวทำให้ ค่าความต้านทานไฟฟ้าเปลี่ยนไป     IC จะทำหน้าที่แปลงให้เป็นสัญญาณแรงดันไฟฟ้า   โดยค่าแรงดันไฟฟ้าที่ได้นี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อความดันอากาศเพิ่มขึ้น
   ดัวย MAP Sensor มีความไวต่อความเปลี่ยนแปลงค่าความดันอย่างยิ่ง ฉะนั้นถ้ามีสิ่งใดไปรบกวนการทำงานของมันเช่น  มีสิ่งสกปรกที่ไปเกาะแผ่น Silicon, มีสิ่งกีดขวางภายในท่อ หรือเกิดปัญหาขึ้นภายในตัวมันเอง รวมถึงการที่มีอากาศรั่วซึมเข้าไปในระบบสุญญากาศของท่อร่วมไอดีได้ล้วนแต่จะสร้างความสับสนวุ่นวายขึ้นให้กับอัตราส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งสิ้น  โดยจะแสดงอาการให้เห็นเช่น ความเร็วรอบขึ้น-ลงวูบวาบจนอาจถึงดับได้, รอบเดินเบาไม่เรียบ, เครื่องยนต์กำลังตก   และถ้ามีอากาศรั่วซึมเข้าไปในระบบสุญญากาศของท่อร่วมไอดีทำให้  MAP Sensor  เข้าใจว่าเครื่องยนต์กำลังมีภาระมาก ECU ก็จะสั่งชดเชยโดยเพิ่มปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงและลดองศาการจุดระเบิดทำให้สิ้นเปลือง, สูญเสียสมรรถนะการทำงานของเครื่องยนต์และระบบควบคุมมลภาวะ

ภาพประกอบโครงสร้าง, กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความดันกับแรงดันไฟฟ้า และวงจรของ MAP sensor


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2009 เวลา 12:45:46
พบกันใหม่หลังอาหารเย็นนะครับ .... :พักสบาย:


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2009 เวลา 19:26:31
1.4   Inlet Air Temperature Sensor - เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิอากาศ
    Inlet Air Temperature Sensor มีหน้าที่คอยตรวจวัดอุณหภูมิของอากาศที่กำลังผ่านเข้าสู่ชุดลิ้นปีกผีเสื้อ แล้วส่งสัญญาณเป็นแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ที่ตกคร่อมตัวต้านทานของตัว Sensor   ให้ ECU ใช้เป็นข้อมูลในการประเมินค่าความหนาแน่นของอากาศเพื่อปรับเปลี่ยนระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง โดยที่อากาศเย็นจะมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศร้อน   ดังนั้นเมื่ออากาศเย็นจึงต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นเพื่อคงไว้ซึ่งอัตราส่วนผสมของ อากาศ/น้ำมัน = 14.7 /1 โดยน้ำหนัก อันเป็นอัตราส่วนตามทฤษฎีที่ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์  
    การทำงานของอุปกรณ์ จะใช้คุณสมบัติของสารที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานไฟฟ้าได้ตามอุณหภูมิ ที่เรียกว่า Thermistor ซึ่งเป็นตัวต้านทานชนิดหนึ่ง (NTC Resistor) ที่ค่าความต้านทานจะลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นโดย ECU จะรับค่าแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ที่ตกคร่อมตัวต้านทานของตัว Sensor นี้ไปประมวลผล
     สาเหตุที่จะทำให้ Inlet Air Temperature Sensor เสียหายหรืออ่านค่าผิดพลาดได้ เช่น การเกิด Back Fire ในท่อร่วมไอดี, มีฝุ่นและคราบน้ำมันติดที่ปลาย Sensor หรือการเสื่อมคุณสมบัติของตัวมันเอง โดยจะแสดงอาการให้เห็นเช่น รอบเดินเบาไม่นิ่งหรือสะดุดเมื่อเร่งเครื่องขณะอุ่นเครื่องยนต์ รอบเครื่องยนต์ขึ้น-ลงวูบวาบเมื่อเครื่องร้อน

      ค่าความต้านทานที่ 20  ?C = 6250 ?, ค่าความต้านทานที่ 80 ?C = 600 ?

ภาพประกอบโครงสร้างและวงจรไฟฟ้าของ Inlet Air Temperature Sensor


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 12:36:32
2.   ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Supply System)
    ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงมีหน้าที่ส่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีความดันคงที่และปริมาณการจ่ายพอเพียงกับความต้องการในทุกสภาวะทำงานของเครื่องยนต์  ระบบนี้ประกอบด้วย ถังน้ำมัน, ปั๊มน้ำมันไฟฟ้า, กรองน้ำมัน, ตัวควบคุมแรงดันน้ำมัน, ท่อจ่ายและระบายไอน้ำมัน, รางหัวฉีดแบบไม่มีท่อไหลกลับ, วาล์วปล่อยแรงดันน้ำมันในรางหัวฉีด, หัวฉีดแต่ละสูบและสวิทซ์ตัดน้ำมัน

ผังแสดงระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 12:37:32
2.1   Fuel Pump ? ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง
      Fuel Pump มีหน้าที่ดูดน้ำมันเชื้อเพลิงจากถังส่งไปให้หัวฉีดแต่ละลูกสูบ
      การทำงานของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง แบบใบพัด (Turbine Type) ประกอบด้วยใบพัด (Turbine Impeller) ที่ติดอยู่กับแกนมอเตอร์ไฟฟ้า วาล์วกันกลับ (Check Valve) และวาล์วระบายความดัน (Relief Valve)
    ปั๊มนี้จะถูกแช่อยู่ในถังน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อช่วยระบายความร้อนให้กับมอเตอร์   ทันทีที่จ่ายไฟให้มอเตอร์ ใบพัดก็จะหมุนไปพร้อมกัน น้ำมันจะถูกดูดเข้าสู่ใบพัดแล้วเหวี่ยงออกผ่านตัวมอเตอร์ไปออกทาง Check Valve ที่ทำหน้าที่กักเก็บน้ำมันที่ผ่านตัวมันออกไปไม่ให้ย้อนกลับลงถังอีก ดังนั้นจึงมีน้ำมันค้างอยู่ในรางหัวฉีดตลอดเวลา เตรียมพร้อมที่จะจ่ายเมื่อต้องการสตาร์ทเครื่องยนต์ในครั้งถัดไป   ถ้าน้ำมันที่อยู่ในระบบรั่วไหลย้อนกลับลงถังได้ก็จะมีฟองอากาศเกิดขึ้นในระบบทำให้การสตาร์ทเครื่องยนต์ในครั้งถัดไปยากขึ้น   
       Relief Valve จะทำหน้าที่ระบายความดันน้ำมันในตัวปั๊มที่สูงเกินกำหนดให้ล้นออกลงถัง เช่นเมื่อมีการอุดตันขึ้นในไส้กรองน้ำมัน

ภาพตัดของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 12:38:53
2.2   Fuel Filter ? กรองน้ำมันเชื้อเพลิง
      Fuel Filter มีหน้าที่กักกันไม่ให้สิ่งสกปรกต่างๆผ่านไปได้
      การทำงานของกรองน้ำมันเชื้อเพลิง  น้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกจากปั๊มอาจมีสิ่งสกปรกติดปนมาด้วยเมื่อมาถึงไส้กรองกระดาษก็จะถูกกักไว้ไม่ให้ผ่านรูเยื่อกระดาษออกไปกีดขวางหรืออุดตันหัวฉีด   ดังนั้นหากเกิดการอุดตันขึ้นในไส้กรองก็จะทำให้ปริมาณการไหลของน้ำมันลดลงจนอาจทำให้ความดันในระบบต่ำกว่ากำหนด  อันเป็นเหตุให้ปริมาณการจ่ายน้ำมันที่หัวฉีดผิดพลาดไป ทำให้เครื่องยนต์ สตาร์ท ติดยาก-ไม่ติด เดินสะดุด ไม่มีกำลังเป็นต้น

ภาพโครงสร้างของกรองน้ำมัน


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 12:39:45
2.3   Fuel Pressure regulator - ตัวควบคุมแรงดันน้ำมัน
     ด้วยเหตุที่หัวฉีดจะเปิดทางให้น้ำมันไหลผ่านออกไปเท่ากันทุกครั้ง ฉะนั้นจึงมีความสำคัญจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งเข้าหัวฉีดให้คงที่ที่ 3.5 Bar. ตลอดเวลาเพื่อไห้ได้ปริมาณการฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วยเวลาคงที่เสมอ โดยมี Fuel Pressure Regulator ทำหน้าที่ควบคุมรักษาแรงดันให้คงที่   ตัวของ Pressure Regulator ประกอบด้วยเสื้อโลหะทรงกระบอกที่ถูกแบ่งเป็น 2 ห้องด้วยแผ่น Diaphragm ที่มีวาล์วติดอยู่ตรงกลาง ในห้องหนึ่งมีสปริงคอยดันแผ่น Diaphragm ไว้ทำให้วาล์วไปปิดทางไหลกลับของน้ำมันในอีกห้องหนึ่งที่ต้องการควบคุมแรงดันน้ำมัน   ต่อเมื่อมีน้ำมันเข้ามาในห้องควบคุมแรงดันก็จะออกแรงกดแผ่นDiaphragm ลงจนเมื่อแรงดันนี้เอาชนะแรงสปริงได้วาล์วก็จะเปิดทางให้น้ำมันส่วนที่ทำให้เกิดความดันส่วนเกินไหลกลับคืนลงถังไป  ใน  PG406 Pressure Regulator  นี้จะประกอบรวมกันอยู่ในหน่วยเดียวกันกับ ปั๊มน้ำมันและลูกชุดลูกลอย   จากหลักการทำงานจะพบว่าถ้าแผ่น Diaphragm รั่วหรือฉีกขาดจะทำให้แรงดันน้ำมันในระบบสูงขึ้นและเมื่อมีสิ่งใดไปติดค้างที่วาล์วหรือสปริงล้าอ่อนแรงก็จะทำให้แรงดันลดลงกว่าค่ากำหนดซึ่งล้วนแต่ทำให้ปริมาณการฉีดจ่ายน้ำมันเข้าลูกสูบผิดพลาดไปด้วย

ภาพแสดงผังของระบบส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของ PG406 และโครงสร้างของ Pressure regulator


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 12:40:43
2.4   SCHRADER VALVE - วาล์วปล่อยแรงดันน้ำมันในรางหัวฉีด
     วาล์วปล่อยแรงดันน้ำมันในรางหัวฉีด มีลักษณะเหมือนกับจุ๊บลมยางล้อรถ มีไว้เพื่อ ปล่อยแรงดันน้ำมันในรางหัวฉีดออก  หรือจะใช้ต่อเข้ากับ Pressure Gauge เพื่อตรวจสอบแรงดันในระบบ หรือจะต่อเข้ากับมาตรวัดอัตราการไหลเพื่อตรวจสอบปริมาณการส่งจ่ายน้ำมันของปั๊มก็ได้

ภาพ SCHRADER VALVE - วาล์วปล่อยแรงดันน้ำมันในรางหัวฉีด


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 12:41:48
2.5   Injector - หัวฉีด
Electronic fuel injector มีหน้าที่ฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าให้แต่ละลูกสูบทางด้านท่อไอดีใกล้ๆกับลิ้นไอดี ตามจังหวะและระยะเวลาการฉีดที่ ECU กำหนดให้
การทำงานของหัวฉีด หัวฉีดประกอบด้วยตัวเสื้อที่มีขดลวดไฟฟ้าที่พันอยู่บนปลอกบังครับแกนวาล์ว และแกนวาล์วที่มีแม่เหล็กถาวรติดอยู่ที่ปลายบน  ส่วนปลายอีกข้างจะมีวาล์วติดอยู่   และมีสปริงคอยดันให้วาล์วนั่งปิดรูหัวฉีดไว้ตลอด     ทันทีที่ ECU สั่งจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ขดลวดก็จะเกิดสนามแม่เหล็กไปดึงแม่เหล็กถาวรบนแกนวาล์วให้ยกสูงขึ้น ประมาณ 0.1 ม.ม. น้ำมันเชื้อเพลิงในรางหัวฉีดที่มีแรงดันคงที่ 3.5 Bar. ก็จะไหลผ่านไส้กรองของหัวฉีดผ่านพื้นที่วงแหวนที่เกิดจากการยกตัวของวาล์วกับรูที่ปลายหัวฉีดออกไปเป็นละอองน้ำมันจนกว่า ECU จะหยุดการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ขดลวด    ปกติ ECU จะจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ขดลวดช่วงสั้นๆประมาณ 1-2 ส่วนในพันส่วนของวินาที (1-2 ms) เท่านั้น   ฉะนั้นปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ฉีดจ่ายออกไปจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาการเปิดหัวฉีดนั่นเอง

ภาพประกอบโครงสร้างและหลักการทำงานของหัวฉีด


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 12:42:44
2.6   Inertia Fuel Shutoff Switch (IFS) ? สวิทซ์ตัดน้ำมัน
      IFS คืออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยชนิดหนึ่ง เป็นสวิทช์ที่ทำงานทันทีที่มีแรงกระแทกอย่างฉับพลัน
     หลักการทำงานของ IFS   คือทันทีที่มีแรงกระแทกประมาณ 10-12 G หรือมากกว่า เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ลูกบอลเหล็กที่ถูกแรงแม่เหล็กถาวรดูดอยู่ให้ติดอยู่ด้านล่างก็จะกระเด้งขึ้นไปชนแผ่นสปริงที่ถูกรั้งไว้ (spring loaded) ให้ดีดตัวขึ้น หน้าสัมผัสของสวิทช์ก็จะแยกออกจากขั้วต่อ และจะอยู่ในสภาวะนั้นจนกว่าจะกดปุ่ม (Manual reset) ให้คืนสู่สภาวะเดิม
     นั่นคือสวิทช์นี้จะทำงานเมื่อรถยนต์วิ่งด้วยความเร็วประมาณ 35 กม/ชม วิ่งเข้าชนเสาตอหม้อแล้วหยุดทันที!!!!

ภาพประกอบโครงสร้างของ IFS


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 12:43:31
        ใน Peugeot 406 EA9 สวิทช์ IFS นี้จะทำหน้าที่ตัดไฟที่จ่ายให้กับ Double Relay ตัวที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ดังในภาพประกอบ และตั้งแต่รุ่นปี 2002   IFS Switch นี้ถูกตัดออกไปแล้ว

ภาพประกอบอุปกรณ์ทำงานต่างๆที่  IFS ไปตัดการจ่ายไฟ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: kumchai ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 13:59:14
ข้อมูลดี ๆ หามาลงอีกนะครับ  ขอบคุณมาก ๆ ครับ   


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: ภณ(PON) ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 14:16:34
แจ่มมากๆๆ ครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zebre ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 16:09:31
อธิบายได้ชัดเจนดีครับ
 :สุดยอด:
เอาอีก ๆ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: lovepg ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 17:27:33
ขอพาดพิงถึงบุคคลท่านอื่นหน่อยน่ะครับ พี่วันชัยคือตำนานนักสู้หัวใจสิงห์ตัวจริงสมาชิกใหม่หลายๆท่านอาจไม่รู้จักก็ไม่เป็นรัย ส่วนสำหรับพี่คนที่เขียนบทความนี้ผมเคยบอกพี่แล้วว่าพี่.....คือ โคตรตำนาน!!! :สุดยอด:
ปล เป็นกำลังใจให้พี่นำบทความดีๆแบบนี้มาลงไว้ในนี้เพื่อสมาชิกของเราน่ะครับ รบกวนด้วยครับ :Pika:


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 17:57:23
3.   ระบบการจุดระเบิด (Ignition System) 
     ระบบการจุดระเบิด (Ignition System) ประกอบด้วย Coil จุดระเบิด, หัวเทียน, หน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ECU), On Board Diagnostic system (EOBD : European On Board Diagnosis, diagnosis of anti-pollution equipment)

   ผังแสดงระบบการจุดระเบิด


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 17:58:36
3.1   Twin Static Ignition Coil - คอยล์จุดระเบิด
     Ignition Coil เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงไฟฟ้าแรงดันต่ำให้เป็นไฟฟ้าแรงดันสูง ส่งไปยังหัวเทียนเพื่อให้เกิดประกายไฟใช้ในการจุดระเบิดส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ ที่ถูกอัดอยู่ในตอนบนของกระบอกสูบ
      โครงสร้างของ Ignition Coil ประกอบด้วย ขดลวด Primary เส้นโตๆพันอยู่รอบแกนเหล็กแผ่นที่ซ้อนกันอยู่และมี ขดลวด Secondary เส้นเล็กมากพันอยู่รอบนอกของขดลวด Primary อีกที โดยที่ขดลวด Secondary นี้จะมีจำนวนรอบที่พันไว้มากกว่าขดลวด Primary มาก และระหว่างแกนเหล็กแผ่น, ขดลวด Primary, ขดลวด Secondary และเปลือกนอกจะถูกหล่อเทด้วยเรซิ่นที่เป็นฉนวนไฟฟ้า
       แต่ด้วยมี Ignition coil 2 ชุดประกอบต่อกันอยู่เป็นชุดตัวเดียวกันจึงเรียกชื่อเป็น Twin Static Ignition Coil โดยที่ขดลวด Secondary ของชุดที่1 จะส่งไปยังหัวเทียนสูบที่ 1 และ 4   และขดลวด Secondary ของชุดที่2 จะส่งไปยังหัวเทียนสูบที่ 2 และ 3
        การทำงานของคอยล์จุดระเบิด อาศัยหลักการเหนี่ยวนำร่วมกล่าวคือเมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ขดลวด Primaryจะค่อยๆเกิดสนามแม่เหล็กขึ้นรอบขดลวดไปเหนี่ยวนำให้แผ่นแกนเหล็กกลายเป็นแม่เหล็กอย่างช้าๆเช่นกันและสนามแม่เหล็กนี้จะไปเหนี่ยวนำให้เกิดแรงดันฟ้าไฟฟ้าขึ้นที่ขดลวด Secondary อย่างช้าๆ จึงเกิดแรงดันไฟฟ้าขึ้นต่ำๆ แต่ทันทีที่ตัดการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ขดลวด Primary สนามแม่เหล็กที่ขดลวดและแผ่นแกนเหล็กจะยุบตัวหมดลงทันทีทันใดจึงเหนี่ยวนำให้เกิดแรงดันฟ้าไฟฟ้าขึ้นที่ขดลวด Secondary มีค่าสูงมากในทันที   ซึ่งชุดควบคุมการจุดระเบิดในตัว ECU ได้คำนวณชดเชยเวลาการหน่วงนี้ไว้ให้ด้วย
        โดย ECU จะมีชุดควบคุมการจ่ายไฟให้กับขดลวด 2 ชุด สำหรับขดลวด Primary ชุดที่ 1 และชุดที่ 2 ทำงานสลับกันทุกครึ่งรอบของเครื่องยนต์ที่หมุนไป ทั้งนี้ขึ้นกับสัญญาณที่รับจาก Engine speed and Crankshaft Sensor และ Camshaft position Sensor ตามลำดับการจุดระเบิดของสูบที่ 1 (ทางด้านเกียร์)-3 - 4 - 2   
 
ภาพประกอบโครงสร้าง, วงจรไฟฟ้าและภาพตัดจากของจริง


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:00:24
     จากภาพล่าง แสดงจังหวะ การฉีดและจุดระเบิดจะพบว่าในทุกๆ 180 องศา หรือครึ่งรอบที่ Crankshaft หมุนไปจะมีการฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูบใดสูบหนึ่งเพียงครั้งเดียวแต่จะมีการจุดระเบิดเกิดขึ้นพร้อมกันทีละ 2 สูบ คือที่ปลายของจังหวะ อัดและที่ปลายจังหวะคาย โดยการจุดระเบิดที่ปลายจังหวะคายนี้จะเป็นการจุดทิ้งเปล่า (Wasted spark)

ภาพแสดงจังหวะ การฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและการจุดระเบิด


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:01:51
3.   Spark Plugs ? หัวเทียน
   หัวเทียนทำหน้าที่บังครับ (555 - Auto Edit ทำพิษแล้ว = บัง-คั บ = to force) ให้ประจุไฟฟ้าแรงสูงที่มาจาก Ignition Coil กระโดดข้ามช่องว่างระหว่างเขี้ยวจนเกิดประกายไฟขึ้นไปจุดระเบิดให้กับไอน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกอัดอยู่ในส่วนบนของกระบอกสูบ
 ด้วยมีประจุไฟฟ้าแรงดันสูงมากผ่านวิ่งผ่านไปยังเขี้ยวของหัวเทียนและหัวเทียนต้องทนทานต่อความร้อนและแรงดันที่เกิดจากการระเบิดในห้องเผาไหม้สูงมากจึงต้องใช้ Ceramic มาเป็นฉนวนอยู่ภายในเพื่อบังครับให้ประจุไฟฟ้าทั้งหมดพุ่งตรงไปที่ปลายเขี้ยวเท่านั้น
      บางเครื่องยนต์ต้องใช้หัวเทียนร้อน(Hot plug) ที่ออกแบบมาให้ฉนวน Ceramic มีพื้นที่สัมผัสกับเกลียวโลหะน้อยซึ่งทำไห้การถ่ายเทความร้อนจาก Ceramic ผ่านเกลียวหัวเทียนไปเสื้อฝาสูบได้น้อย แต่หัวเทียนเย็น (Cold Plug) จะออกแบบให้มีพื้นที่สัมผัสมากกว่าจึงระบายความร้อนได้ดีกว่า

ภาพตัดและชนิดของหัวเทียน


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:03:11
    ทั้งนี้ผู้ผลิตเครื่องยนต์จะเป็นผู้กำหนดการใช้หัวเทียนที่เหมาะสมให้ โดยปกติเครื่องยนต์ที่มีสมรรถนะสูงจะมีความร้อนในห้องเผาไหม้สูงด้วยจึงต้องใช้หัวเทียนเย็น ถ้าใช้หัวเทียนร้อนซึ่งมีความร้อนสะสมอยู่ที่ปลายหัวเทียนนั้นสามารถทำเกิดการเผาไหม้ขึ้นก่อนการสั่งให้ทำการจุดระเบิดได้ ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเลือกใช้
หัวเทียนที่ถูกต้อง เช่น
EW engines . . . . . .  Bosch FR8ME, Sagem RFN52HZ or Eyquem RFG 52 l2DP, Champion REC9YCL
Electrode gap  . . . .  0. 9 mm

ภาพแสดงรหัสของหัวเทียน Bosch FR8ME สำหรับเครื่องยนต์รหัส EW- 


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: lovepg ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:11:42
ขออีกรอบ สุดยอดดดดดดด :สุดยอด:


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: best 406 ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:38:24
คุณzuzarz ครับ ขอข้อมูล 406 D8 ด้วยซิครับ ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: studee ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 19:28:35
สุดยอคครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: toetoe ที่ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 22:18:33
แจ่มทั้งรูปประกอบและสาระ ขอบคุณที่ร่วมแบ่งปันครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2009 เวลา 12:24:30
  ต้องขออภัยชาว D8 ด้วยนะครับ ที่ผมหาข้อมูลมาเฉพาะ ea9 น่ะครับ และหวังว่าคงมีสาระประโยชน์บ้างและขอความกรุณาจากผู้รู้ช่วยกันแบ่งปันความรู้ด้วยนะครับ และขอขอบคุณทุกๆท่านที่ติดตามนะครับ  โปรดติดตามตอนต่อไป


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2009 เวลา 17:57:53
4.  ระบบการฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง (Injection System)
   ระบบการฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบด้วย Double Injection relay, Engine speed Sensor, Camshaft Position Sensor, Vehicle Speed Sensor, Coolant Temperature Sensor, Air Temperature Sensor, Oxygen Sensor, Throttle Position Sensor, Power assisted steering pressure switch และหน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ECU)

 4.1 ? Multi-Function Double Relay
       Multi-Function Double Relay ถูกควบคุมการทำงานโดยตรงจาก ECU โดยแบ่งการถูกควบคุมการทำงานออกเป็น 3 สถานะคือ   : - เมื่อสวิทช์กุญแจอยู่ที่ตำแหน่ง
    1 -  Ignition On (ก่อนการสตาร์ทเครื่อง) -  จ่ายไฟจาก Battery  + 12 Volt  ให้กับอุปกรณ์เหล่านี้หัวฉีด, คอยล์จุดระเบิด, ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง, วาล์วระบายไอน้ำมัน, ลวดความร้อนของ Oxygen Sensor, EGR Valve, และ ECU โดยจะจ่ายไฟให้เป็นเวลา 2-3 วินาทีก่อนที่จะตัดไปถ้าเครื่องยนต์ยังไม่ติด
    2 -  Engine Running (ขณะเดินเครื่อง)  -  จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ตามข้อ1 ทั้งหมดตลอดเวลา
    3 -  Ignition Off (หลังการดับเครื่องยนต์) ? จ่ายไฟเลี้ยงเฉพาะ ECU ตลอดเวลา เพื่อเก็บรักษารหัสข้อบกพร่องที่ได้เกิดขึ้นไว้ และ ECU จะยังสั่งจ่ายไฟให้ Relay ทั้ง 2 ตัว เพื่อหน่วงเวลาให้พัดลมทำงานที่รอบต่ำต่ออีก 6 นาทีหลังดับเครื่องยนต์ถ้าความร้อนเกิน 105?C


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:00:26
  4.2   Engine Speed and Crankshaft Position Sensor แบบ Inductive Type Pulse Generator ?เซ็นเซอร์ตรวจจับความเร็วรอบเครื่องยนต์และตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง
     Engine Speed and Crankshaft Position Sensor มีหน้าที่ส่งสัญญาณคลื่นความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับให้ ECU    แล้ว ECU ก็จะแปลงคลื่นสัญญาณนี้ให้เป็น Digital (Analog-to-Digital Converter =ADC)   คือการเปลี่ยนคลื่นสัญญาณให้มีสถานะเป็น 0 (ปิด) กับ 1 (เปิด) เพื่อกำจัดสิ่งรบกวน (noise) และง่ายต่อการนำไปประมวลผล
เพื่อให้ทราบแน่ชัดถึง   : -
      -  ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ หรือความเร็วรอบเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน(misfire detected)
      -  ตำแหน่งของเพลาข้อเหวี่ยงที่เคลื่อนที่ไปและตำแหน่งอ้างอิงสำหรับศูนย์ตายบน (TDC) ของสูบที่ 1
      -  ECU ใช้สัญญาณคลื่นความถี่นี้เป็นจุดอ้างอิงในการคำนวณเพื่อกำหนดองศาการจุดระเบิดก่อนถึง TDC (Ignition Advance) ให้กับแต่ละสูบ
     ส่วนการที่ ECU จะสั่งจุดระเบิดให้กับสูบใดนั้น จะต้องได้รับข้อมูลสัญญาณคลื่นไฟฟ้ามาจาก Engine speed sensor และ Camshaft Sensor  มาเปรียบเทียบประมวลผลร่วมกันเสมอ
      การทำงานของอุปกรณ์แบบ Inductive Type Pulse Generator นี้ใช้หลักการ  การเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กที่ตัดกับขดลวด ทำให้มีการเหนี่ยวนำและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นในขดลวด จากโครงสร้างจะเห็นว่ามีขดลวด (5) พันอยู่บนแกนเหล็กอ่อน (4) ที่ต่อติดกับแม่เหล็กถาวร (1) จึงมีเส้นแรงแม่เหล็กตัดผ่านขดลวด แต่จะยังไม่มีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นเพราะความเข้มของเส้นแรงแม่เหล็กยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง จนเมื่อปลายฟันเฟืองที่ทำจากเหล็กของ Flywheel เคลื่อนที่ไปใกล้หรือขณะที่กำลังเคลื่อนที่ผ่านออกจากปลายแกนเหล็กที่มีขดลวดพันอยู่   เส้นแรงแม่เหล็กจากแกนเหล็กก็จะวิ่งผ่านไปยังฟันเฟือง   ทำให้ความเข้มของสนามแม่เหล็กที่ขดลวดเปลี่ยนแปลงไป จึงเกิดการเหนี่ยวนำและมีไฟฟ้ากระแสสลับเกิดขึ้นในขดลวดเป็นคลื่นความถี่ตามแต่ละฟันที่ผ่านไป
      ด้วย Flywheel ring gear ที่ติดอยู่กับเพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์ EW10J4 ทำจากเหล็กขึ้นรูปเป็นถาดยกขอบ โดยขอบนี้จะถูกตัดออกเป็นซี่ฟันที่ห่างเท่าๆกันรวมทั้งวงมี 60 ฟัน และมี 2 ฟันที่ถูกเอาออกไปเพื่อใช้เป็นจุดอ้างอิงเพื่อบอกตำแหน่ง TDC ของลูกสูบที่ 1 ฉะนั้นเมื่อฟันของมู่เล่ผ่านหน้าเซ็นเซอร์ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสลับขึ้นในขดลวด โดยที่ความถี่และความกว้างของคลื่นสัญญาณนี้จะเป็นสัดส่วนกับอัตราความเร็วรอบของเครื่องยนต์   ด้วยฟันของมู่เล่มี 60-2 = 58 ฟัน นั่นคือทุกๆหนึ่งฟันที่เคลื่อนที่ไปหมายถึงเพลาข้อเหวี่ยงได้เคลื่อนที่ไป 360/60 = 6 ?  และจุดกึ่งกลางของคลื่นที่หายไปจะถูกใช้เป็นจุดอ้างอิง (Reference mark) ของศูนย์ตายบน (TDC) ของสูบที่ 1 นั่นเอง

ภาพประกอบโครงสร้างของอุปกรณ์, คลื่นสัญญาณไฟฟ้าที่ได้และ Flywheel ของเครื่องยนต์ EW10J4


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:03:39
4.3   Camshaft Position Sensor แบบ Hall Effect Sensor - เซ็นเซอร์เพลาราวลิ้น
   Camshaft Position Sensor จะส่งสัญญาณเป็นคลื่นไฟฟ้าสี่เหลียม เป็นจังหวะเช่นเดียวกันกับการ เปิด-ปิด สวิทช์ไฟฟ้าเพื่อ   : -
   1. ให้ทราบว่าถึงจังหวะที่จะต้องฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับหัวฉีดที่ถูกต้องตรงตามลำดับการจุดระเบิด
       การที่ ECU จะสั่งฉีดน้ำมันให้กับสูบใดนั้น จะต้องได้รับข้อมูลสัญญาณคลื่นไฟฟ้ามาจาก Engine speed sensor และ Camshaft Sensor  มาเปรียบเทียบประมวลผลร่วมกันเสมอ โดยทั้ง 2 Sensor มีความสัมพันธ์กันดังนี้คือ Crankshaft หมุน2 รอบ, Camshaft หมุน 1 รอบ
   2. ให้จดจำตำแหน่งของตำแหน่งศูนย์ตายบน (TDC) ของแต่ละลูกสูบ
   3. ให้ทราบว่าสูบใดไม่มีการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ (Combustion misfire)
ECU ก็จะสั่งการให้ฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับหัวฉีดประจำกระบอกสูบสูบตามลำดับการจุดระเบิดได้อย่างถูกต้อง  
 
     การทำงานของอุปกรณ์    เมื่อปี ค.ศ. 1879  นาย Edwin H. Hall นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้ค้นพบปรากกฎการณ์ทางไฟฟ้าอย่างหนึ่งคือ เมื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านแผ่นตัวนำไฟฟ้าไปทิศทางหนึ่ง   แล้วมีสนามแม่เหล็กตัดผ่านในแนวตั้งฉากกับแผ่นตัวนำนั้นก็จะเกิดแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ขึ้นในทิศทางตั้งฉากกับทิศทางของกระแสไฟฟ้าเดิม
     ต่อมาหลักการนี้ก็ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้ Silicon ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำมาเป็นแผ่น Hall (Hall Plate) และนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาขยายสัญญาณและไปกระตุ้นการ ปิด-เปิด สวิทช์อิเล็กทรอนิกส์ โดยได้สร้างรวมไว้ภายในตัวของ IC (Integrated Circuit) ทั้งหมด ในตัวของ Sensor นี้ประกอบด้วยแท่งแม่เหล็กถาวรติดอยู่ที่ปลายของ Sensor และอีกปลายหนึ่งของแม่เหล็กอยู่ตั้งฉากกับ Hall effect IC ซึ่งในสภาวะปกติ สวิทช์อิเล็กทรอนิกส์จะยังไม่ทำงานจนกว่าความเข้มสนามแม่เหล็กจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น        
     ด้วยที่ปลายข้างหนึ่งของเพลาราวลิ้นไอเสีย(Exhaust Camshaft) ของเครื่องยนต์ EW10J4   จะมีรอยบาก (Notch) โลหะลักษณะเป็นฟันเฟือง 4 ฟันอยู่ตรงข้ามกันตามและจะหมุนไปพร้อมกับเพลาราวลิ้นและมีอยู่ฟันหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าอีก 3 ฟันที่มีขนาดเท่าๆกัน เมื่อแต่ละฟันหมุนไปตรงกับแท่งแม่เหล็กของ Hall Effect Sensor ก็จะทำให้ความเข้มของสนามแม่เหล็กเปลี่ยนแปลงไป สวิทช์อิเล็กทรอนิกส์จะปิด-เปิด         จึงเกิดเป็นสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสี่เหลียม เป็นจังหวะเช่นเดียวกันกับการ เปิด-ปิด สวิทช์ไฟฟ้านั่นเอง
     แต่เนื่องด้วยตำแหน่งของจุด TDC ที่อยู่บนเพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft) จะต้องสัมพันธ์กับจังหวะการปิด-เปิดของลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียที่มีเพลาราวลิ้น (Camshaft) แยกออกจากกันเป็น 2 เพลา จึงต้องมีสายพานราวลิ้น (Timing Belt) เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์นี้ โดยเพลาทั้ง 3 มีความสัมพันธ์กันดังนี้คือ Crankshaft หมุน2 รอบ, Camshaft จะหมุนเพียงหมุน 1 รอบ   ดังนั้น ECU จำเป็นต้องใช้สัญญาณจากทั้ง Crankshaft และ Camshaft Position Sensorในการคำนวณกำหนดจังหวะ-เวลาและลำดับของลูกสูบ (1-3-4-2) ในการฉีดน้ำมันและการจุดระเบิด  
     ดังนั้นจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้เพลาทั้ง 3 อยู่ในตำแหน่งที่กำหนดเท่านั้น เมื่อทำการเปลี่ยนสายพานราวลิ้น
 
ภาพประกอบการทำงานของ  Hall Effect Sensor


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:04:32
ภาพประกอบตำแหน่งเพลาและฟันของเพลาลูกเบี้ยว (Exhaust Camshaft)


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:06:03
     ในเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ประกอบด้วยจังหวะ ดูด-อัด-ระเบิด-คาย นั้นในช่วงปลายของจังหวะคายและต้นจังหวะดูดของแต่ละลูกสูบ วาล์วไอเสียและวาล์วไอดีจะเปิดทั้งคู่ (Overlap) และมีการจุดระเบิดทิ้งเปล่า (Wasted Spark) แล้วตามด้วยการเริ่มฉีดน้ำมัน (Injection)   ดังนั้นจากเรื่องราวของ Engine Speed and crankshaft Sensor และ Camshaft Sensor ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นพอจะสรุปให้เห็นภาพเป็นวัฏจักรของเหตุการณ์ Ignition - Injection ? Valve timing ได้ดังนี้

ภาพประกอบสรุป วัฏจักรของ Ignition / Injection / Valve timing
  ขออภัยในความผิดพลาดขออนุญาตแก้ไขภาพประกอบ 433 ครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:30:55
พบกันไหม่ในวันพรุ่งนี้ครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:06:00
4.4   Vehicle Speed Sensor แบบ Hall Effect Sensor ? เซ็นเซอร์ตรวจจับความเร็วรถ
    Vehicle Speed Sensor มีหน้าที่ส่งสัญญาณเป็นคลื่นไฟฟ้าสี่เหลียม เป็นจังหวะเช่นเดียวกันกับการ เปิด-ปิด สวิทช์ไฟฟ้า ให้ ECU เพื่อ:-
   - นำไปคำนวณบอกความเร็วของรถยนต์
   - กำหนดการเปลี่ยนเกียร์ให้เหมาะสมกับความเร็วรถ   

    การทำงานของอุปกรณ์  ใช้หลักการทำงานของ Hall Effect Sensor เช่นเดียวกันกับการทำงานของCamshaft Sensor ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น


ภาพประกอบ Vehicle Speed Sensor


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:06:59
4.5  Inlet Air Temperature Sensor ? เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิอากาศ   
   ได้กล่าวไว้ข้างต้นในข้อ 1.4 แล้ว


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:11:14
4.6   Coolant Temperature Sensor – เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นเครื่องยนต์
    Coolant Temperature Sensor   มีหน้าที่คอยตรวจวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นในเครื่องยนต์ แล้วส่งสัญญาณเป็นแรงดันไฟฟ้า (Volt) ให้ ECU ใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลเพื่อปรับเปลี่ยนระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นงานหลัก โดยเมื่อเครื่องยนต์มีอุณหภูมิต่ำก็จะเพิ่มระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้นานขึ้น
      การทำงานของอุปกรณ์นี้ใช้หลักการเดียวกันกับ Inlet Air Temperature Sensor แต่ทำให้อยู่ในโครงสร้างที่แข็งแรงทนทานกว่ามาก
     Coolant Temperature Sensor นับเป็นอุปกรณ์หลักที่มีความสำคัญมากต่อการทำงานของ ระบบควบคุมเครื่องยนต์ - Engine Management Systems (EMS) เพราะ ECU จะใช้สัญญาณนี้ไปประมวลผลและส่งสัญญาณออกไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในระบบอื่นๆอีกหลายอย่างเช่น
   -  เพิ่มระยะเวลาในการฉีดเพื่อให้ได้ส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงหนาขึ้นในช่วงการอุ่นเครื่องยนต์จนกว่าจะถึงอุณหภูมิทำงานของเครื่องยนต์
   -  ให้ปิด EGR Valve ในช่วงการอุ่นเครื่องยนต์ เพื่อไม่ให้รอบเดินเบาไม่เรียบเครื่องยนต์สั่นไม่มีกำลัง
   - ให้ปิด Purge Valve ไม่ให้ไอน้ำน้ำมันเชื้อเพลิงในกระป๋องถ่านเข้าห้องเผาไหม้ ในช่วงการอุ่นเครื่อง
   -  บอกให้ ECU คงไว้ซึ่งอัตราส่วนผสมน้ำมันที่หนา ไม่ต้องสนใจสัญญาณที่ได้จาก Oxygen Sensor จนกว่าจะถึงอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์
   - ให้พัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำทำงานที่ความเร็วรอบต่างๆกันเมื่อถึงอุณหภูมิที่กำหนด ซึ่งมีสำคัญจำเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันการเกิด Overheat กับเครื่องยนต์
   - ให้ชะลอการ Lock up ในชุด Torque Converter ของเกียร์อัตโนมัติไว้ก่อน ในช่วงการอุ่นเครื่องยนต์ เพื่อการลดภาระที่เกิดจากชุดเกียร์ไปสู่เครื่องยนต์
   -  ส่งข้อมูลให้เกจวัดอุณหภูมิแสดงค่าที่หน้าปัดแสดงผล

ทั้งนี้เพื่อเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์ขณะใช้รอบเดินเบาและการขับขี่ในช่วงก่อนถึงอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์      ด้วย Coolant Temperature Sensor มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการทำงานหลายอย่าง ดังนั้นถ้า Sensor นี้ทำงานบกพร่องจะทำให้เกิดปัญหากับสมรรถนะของเครื่องยนต์ในช่วงการอุ่นเครื่องและระบบควบคุมมลภาวะ รวมถึงการสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น และแม้แต่วาล์วน้ำ (Thermostat) ที่เปิดตลอดเวลาก็จะส่งผลให้เครื่องยนต์ร้อนช้าขึ้นด้วยเข้ามาร่วมเป็นปัจจัยเสริมของปัญหานี้ด้วยเช่นกัน

   ค่าความต้านทานที่  20 ° C = 6250   Ω,   ค่าความต้านทานที่ 80 ° C = 600   Ω

กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าความต้านทานไฟฟ้ากับอุณหภูมิ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:12:41
4.7   Knock Sensor - เซ็นเซอร์ตรวจจับการเขก
   Knock Sensor ที่ติดตั้งอยู่กับเสื้อสูบใต้ท่อร่วมไอดี  มีหน้าที่คอยตรวจจับการเขกของเครื่องยนต์ที่เกิดจากการจุดระเบิดก่อนที่ลูกสูบจะถึง TDC มากเกินไปทำให้แรงดันภายในห้องเผาไหม้กระแทกลงที่หัวลูกสูบ แล้วส่งสัญญาณเป็นแรงดันไฟฟ้า (Volt) ให้ ECU ประเมินและสั่งการให้ปรับเปลี่ยน องศาการจุดระเบิดและเพิ่มปริมาณการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงไปพร้อมๆกันด้วย   ดังนั้นเมื่อ ECU ได้รับสัญญาณสั่นสะเทือนสูงกว่าค่ากำหนดแสดงว่ามีการเขกเกิดขึ้น ก็จะสั่งให้ปรับเปลี่ยนการจุดระเบิดให้เข้าใกล้ TDC มากยิ่งขึ้น จนกว่าเครื่องยนต์จะหยุดการเขก (Knocking)
     ด้วยเครื่องยนต์เบนซินได้พัฒนาให้มีอัตรากำลังอัดสูงเพื่อตอบสนองความต้องในการประหยัดเชื้อเพลิง, มีสมรรถนะสูงและยังต้องคำนึงถึงกฎข้อบังคับในการปลดปล่อยมลภาวะอีกด้วย จึงหมิ่นเหม่ต่อการเกิดการเขกที่เป็นอันตรายต่อเครื่องยนต์
     ทั้งนี้อัตราส่วนผสมของ อากาศ/น้ำมัน = 14.7 ต่อ 1 โดยน้ำหนักจะเป็นอัตราส่วนตามทฤษฎีที่ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์
     การทำงานของอุปกรณ์  ภายในตัวของ   Knock Sensor จะมีแผ่น Piezo-Electric ซึ่งมีคุณสมบัติในการแปลงแรงสั่นสะเทือนให้เป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับตามความถี่และความรุนแรงของการสั่นสะเทือน ติดอยู่บนแผ่นDiaphragm ที่จะคอยดูดซับเพื่อกรอง (Filter) คลื่นความถี่ของการจุดระเบิดปกติออกไปบางส่วนก่อน   

ภาพประกอบโครงสร้างของอุปกรณ์, คลื่นสัญญาณไฟฟ้าที่ได้


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:16:53
   4.8   Throttle Position Sensor - เซ็นเซอร์บอกตำแหน่งลิ้นปีกผีเสื้อ (ขอแก้ไขข้อมูลเป็นไปตามกระทู้ ตอบ # 81-92)
    Throttle position Sensor มีหน้าคอยบอกตำแหน่งการปิด-เปิดของลิ้นปีก แล้วส่งสัญญาณเป็นแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ให้ ECU ทราบว่าขณะนั้นเครื่องยนต์รับภาระมากน้อยเท่าใด
     เมื่อเครื่องยนต์มีภาระมากขึ้นความดันในท่อร่วมไอดีจะเพิ่มขึ้นตามการเปิดลิ้นปีกผีเสื้อ เครื่องยนต์ก็จะดูดอากาศได้มากขึ้น จึงมีความต้องการปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นด้วย และในขณะเดียวกัน ECU จะต้องกำหนดให้ทำการจุดระเบิดให้กับลูกสูบที่กำลังอัดอากาศเมื่อเข้าใกล้ TDC มากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์เขก (Knocking)
     การทำงานของอุปกรณ์ ใช้แผ่นความต้านทานไฟฟ้าคงที่ค่าหนึ่ง ที่มีชุดหน้าสัมผัสโลหะเคลื่อนที่อยู่บนแผ่นนั้น ทำให้ค่าความต้านทานถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน และเป็นสัดส่วนต่อกัน ซึ่งเรียกตัวต้านทานแบบนี้เรียกว่า Potentiometer ดังนั้นเมื่อเรายึดก้านของชุดหน้าสัมผัสนี้เข้ากับแกนของลิ้นปีกผีเสื้อค่าความต้านทานก็จะเปลี่ยนตามการเคลื่อนที่ของลิ้นปีกผีเสื้อตามแรงดึงจากสาย Cable ของแป้นคันแร่ง
    ECU จะนำค่าที่ได้ไปประโยชน์ดังนี้
       -  เพื่อปรับเปลี่ยนระยะเวลาการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสมกับสภาวะและภาระการใช้งานเครื่องยนต์
       -  ตัดการทำงานของคอมเพรสเซอร์แอร์และระบบคุมมลภาวะเมื่อลิ้นปีกผีเสื้อเปิดกว้างสุดขณะ Kick Down
       -  ตัดการทำงานของหัวฉีดเมื่อลิ้นปีกผีเสื้อกลับสู่ตำแหน่งปิดขณะถอนคันเร่งเพื่อลดความเร็ว
       -  บอกให้หน่วยควบคุมเกียร์ทราบภาระของเครื่องยนต์หรือเมื่อต้องการ Kick Down
   เมื่อ Throttle Position Sensor ทำงานบกพร่องจะแสดงอาการดังนี้เช่น รอบเดินเบาแกว่งขึ้นลง, กำลังเครื่องยนต์ไม่คงที่ทำให้ความเร็วรถ พุ่งๆ-แผ่วๆ, เครื่องยนต์กระพือหรือสะดุดขณะเร่งเครื่อง, ความเร็วรอบตกวูบวาบ และอาจมีไฟ Engine Check ขึ้นร่วมด้วย

ภาพประกอบ Throttle position Sensor


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:19:00
4.9   Power Steering Fluid Pressure Switch - สวิทซ์แรงดันน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์
    Power Steering Fluid Pressure Switch    มีหน้าที่คอยตรวจจับแรงดันน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ เมื่อแรงดันสูงขึ้นถึงค่ากำหนด (35 Bar.)หน้าสัมผัสภายในตัวสวิทซ์ก็จะต่อติดกัน   ส่งสัญญาณให้  ECU ทราบว่าขณะนั้นเครื่องยนต์มีภาระมากขึ้นทำให้รอบเครื่องตก เช่นขณะหมุนพวงมาลัยจนสุดด้านใดด้านหนึ่งในขณะใช้รอบเดินเบาหรือเมื่อความเร็วรถต่ำกว่า 4 ก.ม. /ชม. หรือขณะเข้าจอด เป็นต้น     ECU ก็จะสั่งให้มอเตอร์เดินเบาเปิดให้อากาศผ่านเข้าได้มากขึ้นเพื่อชดเชยรอบเครื่อง
    การทำงานของอุปกรณ์ Power Steering Fluid Pressure Switch แบบ Diaphragm นี้ประกอบด้วยแผ่น Diaphragm, สปริง, ก้านกระทุ้ง (Plunger), แผ่นโลหะหน้าสัมผัสและขั้วต่อไฟฟ้า
    หลักการทำงานมีดังนี้คือ สปริงจะออกแรงดันให้แผ่นโลหะหน้าสัมผัสแยกตัวออกจากขั้วต่อไฟฟ้าและกดก้านกระทุ้งให้ต่ำลงมาแนบติดกับ Diaphragm กระแสไฟฟ้าจึงยังผ่านไปไม่ได้   ต่อเมื่อแรงดันน้ำมันสูงขึ้นจนชนะแรงต้านของสปริงก็จะดันให้ Diaphragm โป่งขึ้นไปดันให้ก้านกระทุ้งและแผ่นโลหะหน้าสัมผัสขึ้นไปแตะกับขั้วต่อไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจึงผ่านไปได้   

 ภาพประกอบหลักการทำงานของ Power Steering Fluid Pressure Switch 


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:23:31
 :พักสบาย:
พบกันใหม่พรุ่งนี้ครับ
[/color]


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: studee ที่ วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2009 เวลา 19:55:59
นักเรียน กราบบบบ......

ขอบบบ คูณณณณ ครับบบบ คูณครู......


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: supreme ที่ วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2009 เวลา 20:02:11
 :มอบดอกไม้:


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: Gotji ที่ วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2009 เวลา 17:22:31
ขอบคุณครับ
เข้าทางอีเวผมอีกแล้ว


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:39:00
5.  ระบบควบคุมมลภาวะ (Emission Control System) 
    ระบบควบคุมมลภาวะ (Emission Control System) ใน Peugeot 406 EA9 มีวิธีการควบคุมมลภาวะดังต่อไปนี้
    1. Positive Crankcase Ventilation (PCV)
    2. Exhaust Gas Recirculation (EGR)
    3. Evaporative Control
    4. Air Injection
    5. Catalytic Converter
 และการควบคุมมลภาวะนี้จะสมบูรณ์ได้จำเป็นต้องมีผู้ตรวจการณ์ด้วย
    6. Oxygen Sensor

    ดูรายละเอียดได้จาก Link 
 http://www.vlovepeugeot.com/forum/index.php?topic=12151.msg82430#msg82430 


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:43:56
6.  ระบบระบายความร้อนให้เครื่องยนต์ (Engine Cooling System)

   ระบบระบายความร้อนให้เครื่องยนต์ ประกอบด้วย Relay 3 ตัว, ตัวต้านทานไฟฟ้า 2 ตัว และพัดลมไฟฟ้า 1 ตัว
   ECU ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบระบายความร้อนให้เครื่องยนต์นี้ โดยใช้ข้อมูลอุณหภูมิที่รับมาจาก Engine coolant temperature sensor    มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
     -  ควบคุมการ ตัด-ต่อ การทำงานของพัดลม
     -  หน่วงเวลาให้พัดลมทำงานที่รอบต่ำต่ออีก 6 นาทีหลังดับเครื่องยนต์ถ้าความร้อนเกิน 105?C
     -  แสดงไฟเตือนความร้อนเกิน ติดสว่างค้าง บนแผงหน้าปัด
     -  แสดงมาตรวัดอุณหภูมิหม้อน้ำบนแผงหน้าปัด
     -  ควบคุมสำรองการทำงานของพัดลม (Back-up Mode) ถ้า Engine coolant temperature sensor บกพร่องหรือ   เสียหาย โดยสั่งให้
                -  ให้พัดลมทำงานที่รอบสูง
                -  ไฟเตือนแสดงความร้อนเกินบนแผงหน้าปัด จะกระพริบ
                -   ตัดการทำงานของ Compressor แอร์
      -  สั่งให้พัดลมทำงานที่รอบสูงเมื่ออุณหภูมิของเกียร์อัตโนมัติสูงเกิน 120 ?C ตามที่ Gearbox ECU ร้องขอมา
      -  และ ECU จะยังสั่งจ่ายไฟให้ Relay ทั้ง 2 ตัว เพื่อหน่วงเวลาให้พัดลมทำงานที่รอบต่ำต่ออีก 6 นาทีหลังดับ เครื่องยนต์ถ้าความร้อนเกิน 105?C

  หลักการทำงานของระบบ  พัดลมมี 3 ระดับความเร็วรอบคือ
      -  ที่รอบต่ำ จ่ายไฟให้พัดลมโดยผ่านตัวต้านทานไฟฟ้า 1 ตัวที่ต่อแบบอนุกรมกับพัดลม,   Relay สำหรับรอบต่ำถูกควบคุมโดย ECU
      -  ที่รอบปานกลาง จ่ายไฟให้พัดลมโดยผ่านตัวต้านทานไฟฟ้า 2 ตัวที่ต่อแบบขนานกันอยู่ และต่อแบบอนุกรมกับพัดลม,   Relay สำหรับรอบปานกลางถูกควบคุมโดย BSI (Built-in System Interface)
      -  ที่รอบสูง จ่ายไฟให้พัดลมโดยตรงจาก Battery,   Relay สำหรับรอบสูงถูกควบคุมโดย ECU

ภาพองค์ประกอบรวมและผังวงจรไฟฟ้าของระบบระบายความร้อน


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:47:16
7.  ระบายความร้อนให้กับระบบแอร์ (Cooling requirement for Air condition Cooling System)

ECU ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบระบายความร้อนให้กับรังผึ้งของระบบแอร์ (Air conditioning condenser cooling) โดยใช้สัญญาณแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ที่ได้จากตัวตรวจวัดแรงดันน้ำยาแอร์ (Pressostat) มาประมวลผล และสั่งการ ดังนี้
      -  ECU ควบคุมการ ตัด-ต่อ การทำงานของพัดลม ตามเงื่อนไขของแรงดันน้ำยาแอร์
          -  เมื่อแรงดันสูงกว่า 10 bar. ให้พัดลมทำงานที่รอบต่ำ และสั่งหยุดเมื่อแรงดันตกลงมาต่ำกว่า 7 bar.
          -  เมื่อแรงดันสูงกว่า 22 bar. ให้พัดลมทำงานที่รอบสูง และสั่งหยุดเมื่อแรงดันตกลงมาต่ำกว่า 19 bar.
          -  ควบคุมสำรองการทำงานของพัดลม (Back-up Mode) เมื่อ Pressostat ทำงานผิดปกติโดย
                  - ไฟเตือน (Diagnostic warning lamp =ไฟรูปเครื่องยนต์) ขึ้นบนแผงหน้าปัด
                  -  ตัดการทำงานของ AC Compressor
        และ BSI จะเป็นผู้ควบคุมให้พัดลมทำงานที่รอบปานกลางเมื่อแรงดันสูงกว่า 17 bar. และสั่งหยุดเมื่อแรงดันตกลงมาต่ำกว่า 14  bar.
          -  ECU ควบคุมการ ตัด-ต่อ การทำงานของ AC Compressor

 7.1   Pressostat  ?  ตัวตรวจวัดแรงดันน้ำยาแอร์
 Pressostat มีหน้าคอยตรวจวัดแรงดันน้ำยาแอร์ที่ออกจากคอมเพรสเซอร์ เมื่อถึงค่าที่กำหนดไว้ก็จะส่งสัญญาณไฟฟ้า ให้ ECU ประมวลผลและสั่งการให้พัดลมระบายความร้อนทำงาน
การทำงานของอุปกรณ์ เหมือนกับการทำงานของ Manifold Absolute Pressure (MAP) Sensor
คือใช้คุณสมบัติของสารที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานไฟฟ้าได้ตามความดันและมี IC ทำการแปลงให้เป็นสัญญาณแรงดันไฟฟ้าส่งให้กับ ECU และ BSI ในระบบเครือข่าย Multiplex    โดยค่าแรงดันไฟฟ้าที่ได้นี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อความดันน้ำยาแอร์เพิ่มขึ้น
     ข้อมูลสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จาก Sensor ตัวนี้จะส่งผ่านสายไฟไปให้ ECU แล้วผ่านเข้า BSI โดยช่องทาง (Bus) ของระบบ Multiplex Network

  ภาพองค์ประกอบรวมและผังวงจรไฟฟ้าของระบบระบายความร้อนให้กับระบบแอร์


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:52:08
พบกันใหม่วันจันทร์ ตอนสำคัญหัวใจของเรื่อง ECU    :พักสบาย:


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:13:37
8. Electronic Control Unit (ECU) - หน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์

    ECU เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มี Microprocessor หลายๆตัวเป็นส่วนประกอบ จึงนับได้ว่า ECU ก็เป็นคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่นำมาใช้ในยานยนต์ ที่ได้ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมากและทำงานได้หลากหลายหน้าที่
    การออกแบบและพัฒนา ECU มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามบริษัทผู้ผลิต แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะระบบที่นำมาใช้ใน Peugeot 406 EA9 ที่ใช้เครื่องยนต์ EW10J4    ซึ่ง ECU นี้ผลิตโดย บริษัท Magneti Marelli และเรียกชื่อระบบนี้ว่า Magneti Marelli 4.8P (MM4.8P)
    ECU ของ MM4.8P เป็นแบบ Sequential Injection System คือจะทำการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบอิสระตามลำดับการจุดระเบิดของแต่ละกระบอกสูบดังนี้คือ 1 (ทางด้านเกียร์)-3 - 4 - 2   
      หน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ECU) ที่มีหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับมาจากตัวตรวจจับสัญญาณ (Sensors) ต่างๆ นำมาประมวลผล แล้วส่งสัญญาณสั่งการไปให้อุปกรณ์ทำงาน (Actuator) ต่างๆ ที่ทำงานร่วมกับเครื่องยนต์

ข้อมูลตัวแปรต่างๆที่   ECU ได้รับจาก Sensor ต่างๆดังนี้ (ในวงเล็บคืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง)
   ? ความเร็วรอบเครื่องยนต์และ ตำแหน่งของ TDC (Engine speed sensor and Crankshaft Sensor)
   ? ตำแหน่งของ Camshaft (Camshaft position Sensor)
   ? ความดันในท่อร่วมไอดี (Inlet Air Pressure Sensor)
   ? ตำแหน่งลิ้นปีผีเสื้อ (Throttle Position Sensor)
   ? อุณหภูมิของเครื่องยนต์ (Coolant Temperature Sensor)
   ? อุณหภูมิของอากาศที่ดูดผ่านลิ้นปีกผีเสื้อ (Inlet Air Temperature Sensor)
   ? ความเร็วรถยนต์ (Vehicle Speed Sensor)
   ? ปริมาณ oxygen ที่เหลืออยู่ในไอเสีย (Oxygen sensor)
   ? การเขกของเครื่องยนต์ (Knock sensor)
   ? แรงดันน้ำยาแอร์ (Pressostat)
   ? แรงดันไฟฟ้าของ Battery   
   ? แรงดันน้ำมันในระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ (Power Steering Fluid Pressure Switch)
   ? Automatic gearbox ECU

หลังการนำข้อมูลตัวแปรไปประมวลผลแล้ว   ECU จะส่งสัญญาณสั่งการไปให้อุปกรณ์ทำงานต่างๆ ดังต่อไปนี้
   ? ควบคุมการจุดระเบิด (Twin static Ignition Coil)
   ? ควบคุมรอบเดินเบา ตามสภาวะและภาระต่างๆของเครื่องยนต์ (Idle Control Stepper Motor)   
   ? ควบคุมจังหวะและระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง (Injector)
   ? ควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Pump)
   ? ควบคุมการทำงานของวาล์วระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิง (Canister bleed electrovalve)
   ? ตัดการฉีดจ่ายน้ำมันของหัวฉีดขณะถอนคันเร่งหรือเมื่อรอบเครื่องยนต์สูงเกินกำหนด   
   ? ตัดการทำงานของคอมเพรสเซอร์แอร์ขณะ สตาร์ทเครื่องยนต์หรือ Kick Down
   ? แสดงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้ผู้ขับขี่ทราบในระหว่างการเดินทาง (Trip computer) เช่น ปริมาณความสิ้นเปลืองน้ำมัน, น้ำมันที่เหลืออยู่จะเดินทางได้อีกไกลเท่าใด เป็นต้น
   ? แสดงความเร็วรถ (Tachometer)
   ? ไฟเตือนเมื่อมีข้อบกพร่องขึ้นในระบบควบคุมเครื่องยนต์ (Diagnostic warning lamp =ไฟรูปเครื่องยนต์)
   ? จ่ายไฟให้ขดลวดความร้อนในตัว Oxygen sensor
   ? ควบคุมการทำงานของ Secondary air pump
   ? ควบคุมการทำงานของ Exhaust Gas Recycling valve
   ? ทำงานร่วมกับ Automatic gearbox ECU (Throttle Position, Engine speed, Coolant temperature, Engine torque/load)
นอกจากนี้ ECU ยังสามารถทำงานอื่นๆได้อีกด้วยเช่น :-
   ? เมื่อมีบางอุปกรณ์ทำงานผิดปกติเกินพิสัยกำหนด ECU ก็จะเลือกใช้ภาวะฉุกเฉินที่มีสำรอง (Back-up operation mode) ไว้แทน   เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานต่อไปได้ (Emergency strategies) แต่ไม่ประหยัดและเพิ่มมลภาวะ เช่นเมื่ออุปกรณ์ต่อไปนี้ทำงานผิดพลาด: -
           - Inlet Air temperature sensor
           - Coolant temperature sensor
           - Knock Sensor
           - Inlet Air temperature sensor
           - Air Injection System
  ? มีระบบวินิจฉัยข้อบกพร่องอยู่ในตัว เมื่อตรวจพบความบกพร่องของระบบจะเก็บข้อมูลรหัสความบกพร่องไว้ในหน่วยความจำ เมื่อเราต้องการตรวจซ่อมก็สามารถเรียกข้อมูลเหล่านี้ออกมาได้โดยใช้เครื่องมือตรวจวินิฉัย (PPS=Peugeot Planet System)

วัตถุประสงค์ในการควบคุมกาทำงานของระบบต่างๆของ ECU มีดังต่อไปนี้:-


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:22:23
วัตถุประสงค์ในการควบคุมกาทำงานของระบบต่างๆของ ECU มีดังต่อไปนี้:-

8.1 ควบคุมจังหวะและระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับสูบต่างๆตามลำดับการจุดระเบิด
1(ทางด้านเกียร์)-3 - 4 - 2 โดยการฉีดน้ำมันนั้นจะเริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายของจังหวะคายคือก่อนถึง TDC ที่กำลังจะเข้าสู่จังหวะดูดของแต่ละสูบเล็กน้อยและต้องสัมพันธ์กับการเปิดลิ้นไอดี (Intake Valve) ด้วย และปริมาณการฉีดจ่ายน้ำมันจะเป็นสัดส่วนกับระยะเวลาการฉีด
   ทั้งนี้เพื่อให้ตอบสนองตามตัวแปรต่างๆ เช่น (ในวงเล็บคืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง)
      - ภาระของเครื่องยนต์ตามความต้องการของผู้ขับขี่ (Throttle Position Sensor, Engine Speed Sensor)
      - สภาวะอุณหภูมิของเครื่องยนต์ (Coolant Temperature Sensor)
      - มวลอากาศที่ถูกดูดบรรจุเข้าท่อร่วมไอดีต่อ1 รอบของเครื่องของยนต์ ( Inlet Air Temperature Sensor, Inlet Air Pressure Sensor, Engine Speed Sensor)
      - สภาวะการใช้งานเครื่องยนต์ :- ในขณะ  สตาร์ท, เดินเบา, ใช้รอบเครื่องยนต์คงที่(Cruise speed) และในชั่วขณะที่ภาระเครื่องยนต์เปลี่ยนแปลง-Transitory phase
      - ปรับระยะเวลาการฉีดเพื่อรักษา อัตราส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงตามทฤษฎีที่ทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ กล่าวคือใช้ อากาศ/น้ำมันเชื้อเพลิง = 14.7 /1 โดยน้ำหนัก  ขณะเครื่องยนต์ทำงานในสภาวะปกติที่อุณหภูมิทำงาน (Oxygen Sensor) 
      - แรงดันไฟฟ้าของ Battery
     เมื่อ Battery มีไฟอ่อนทำให้วาล์วหัวฉีดเปิดช้าลง, ECU ก็จะต้องชดเชยเพิ่มเวลาในการฉีดให้ด้วย เช่นขณะสตาร์ทเครื่อง, เมื่อมีการใช้กระแสไฟฟ้ามากๆ

                               
8.2  การควบคุมการจุดระเบิดของเครื่องยนต์(Twin Static Ignition) คือการปรับเปลี่ยนเพื่อกำหนดองศาการจุดระเบิดก่อนถึง TDC (Ignition Advance)ให้กับลูกสูบที่อยู่ในจังหวะอัด  ให้เหมาะสมกับค่าตัวแปรต่างๆ เช่น
     -  ความเร็วรอบเครื่องยนต์และตำแหน่งศูนย์ตายบน (Engine Speed Sensor, Camshaft Sensor)
     -  ปรับลดองศาการจุดระเบิดล่วงหน้า เมื่อมีสัญญาณการเขกเกิดขึ้น (Knock Sensor)
     -  สภาวะอุณหภูมิของเครื่องยนต์ (Coolant Temperature Sensor)


8.3   ควบคุมการทำงานของระบบควบคุมมลภาวะ ให้เครื่องยนต์แพร่กระจายมลภาวะออกสู่บรรยากาศให้ได้ ตามข้อกำหนด(Emission Standard L4 = European Standards EUR03)


8.4   ควบคุมรอบเดินเบา ตามสภาวะของภาระต่างๆที่เกิดขึ้นเช่น เมื่อคอมเพรสเซอร์แอร์ ตัด-ต่อการทำงาน, ใช้กระแสไฟฟ้าสูง, Automatic gearbox, ขณะใช้ความเร็วต่ำกว่า 4 กม. / ชม. หรือเข้าจอดรถและอุณหภูมิเครื่องยนต์ขณะนั้น (Idle Control Stepper Motor, Pressostat)


8.5   ควบคุมการทำงานของพัดลมระบายความร้อน (Coolant Temperature Sensor, Pressostat)

8.6   ทำงานประสานสัมพันธ์กับระบบอื่นๆ เช่น
    - ระบบปรับอากาศ - สั่งตัดการทำงานของ Air Compressor ขณะ Start เครื่องยนต์และ Kick Down,   
    - ระบบเกียร์อัตโนมัติ AL4
    - ระบบถุงลมนิระภัย (Multiplexed Airbag) โดยการตัดน้ำมัน (สั่งผ่าน Double Relay) เมื่อถุงลมนิระภัย    กางพองออก 
    - ระบบป้องกันการสตาร์ทเครื่องยนต์ (Immobilizer)

8.7   ตัดการทำงานของหัวฉีดเมื่อความเร็วรอบเครื่องยนต์เกินกำหนด - Injection cut-off on engine over speed (Throttle Position Sensor, Engine Speed Sensor)   
     เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายจึงได้จำกัดความเร็วรอบไว้ใน ECU เมื่อรอบขึ้นเกินกำหนด ECU จะสั่งตัดการทำงานของหัวฉีด     


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:25:46
 8.8   ตัดการทำงานของหัวฉีดขณะลดความเร็วรอบเครื่องยนต์  - Injection cut-off on deceleration (Throttle Position Sensor, Engine Speed Sensor, Vehicle Speed Sensor, Coolant Temperature Sensor)
     การลดความเร็วรอบเครื่องยนต์อย่างทันทีทันใดในขณะขับขี่ที่รอบเครื่องยนต์ ปานกลาง ? สูง นั้นเมื่อถอนคันเร่งลิ้นปีกผีเสื้อก็จะปิดลงทันที   ECU จะสั่งตัดการการทำงานของหัวฉีดทั้งนี้เพื่อ ประหยัดน้ำมัน, ลดมลภาวะ, ลดอุณหภูมิ Catalytic Converter และสั่งให้กลับมาทำงานใหม่เมื่อรอบเครื่องยนต์ตกลงถึงค่าที่ได้กำหนดไว้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของเครื่องยนต์ด้วย    จากกราฟข้างล่างจะเห็นว่าถ้าเราถอนคันเร่งในขณะที่รอบเครื่องยนต์สูงกว่าเส้นกราฟของ Fuel Cut-off ระบบนี้จะตัดการการทำงานของหัวฉีดจนกว่ารอบเครื่องยนต์จะตกลงถึงเส้นกราฟของ Injection Resumption หัวฉีดจึงจะถูกสั่งเริ่มกลับมาทำงานต่อ

กราฟแสดงการตัดการทำงานของหัวฉีด


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:28:42
  8.9  ระบบวินิจฉัยข้อบกพร่อง - On Board Diagnostic system (EOBD: European On Board Diagnosis, diagnosis of anti-pollution equipment)
    ระบบนี้ความสามารถในการวินิจฉัยข้อบกพร่องตรวจสอบสถานะภาพการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบควบคุมมลภาวะ ทั้งนี้เพื่อควบคุมการแพร่กระจายมลภาวะออกสู่บรรยากาศให้ได้ตามข้อกำหนด โดยจะติดตามเฝ้าดูสิ่งต่อไปนี้
    -  เมื่อไม่มีการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ (Combustion misfire)
    -  ประสิทธิภาพการทำงานของ Catalytic converter
    -  การเสื่อมสภาพของ Oxygen Sensor
    -  การอัดอากาศเข้าท่อไอเสีย (Secondary Air Injection)
    -  ประสานกับการทำงานของ Automatic gearbox ECU เพื่อป้องกันการผลักภาระให้กับเครื่องยนต์มากเกินจนกระทบต่อการควบคุมมลภาวะ

    ดังนั้นเมื่อมันตรวจพบความบกพร่องของ ระบบหรืออุปกรณ์ประกอบใดๆ มันก็จะส่งสัญญาณไฟหรือข้อความเตือน เช่นแสดงข้อความ ?Antipollution Fault? บนจอแสดงผล หรือมีไฟเตือน (Diagnostic warning lamp =ไฟรูปเครื่องยนต์) ขึ้นแสดงบนแผงหน้าปัดให้ผู้ขับขี่ทราบดังนี้   : -
     - Diagnostic warning lamp ติดสว่างค้าง เมื่อการ Misfire ที่เกิดขึ้นนั้น ECU ยังสามารถควบคุมให้อยู่ในพิสัยที่กำหนดได้
     - Diagnostic warning lamp กระพริบ เมื่อการ Misfire ที่เกิดขึ้นนั้นเกินพิสัยที่ ECU จะสามารถควบคุมได้
 ด้วยไอน้ำมันที่ไม่ได้เผาไหม้นั้นจะถูกปล่อยออกในจังหวะคายไปทำให้ Oxygen sensor เสื่อมสภาพเป็น   อันตรายต่อ Catalytic Converter และเป็นการแพร่กระจายมลภาวะออกสู่บรรยากาศ
     ขณะเดียวกันมันก็จะเก็บข้อมูลรหัสความบกพร่อง (Fault Code) ไว้ในหน่วยความจำเป็นเวลาหนึ่งก่อนที่จะถูกข้อมูลใหม่บันทึกทับลงไป ฉะนั้นเมื่อเราต้องการตรวจซ่อมก็สามารถเรียกข้อมูลเหล่านี้ออกมาได้โดยนำเอา อุปกรณ์/เครื่องมือมาต่อพ่วงเพื่ออ่านและถอดรหัสได้ซึ่งจะเป็นแนวทางการแก้ไขข้อบกพร่องนั้นๆให้กับช่างได้เป็นอย่างดี


    8.9.1   Combustion misfire ? เมื่อไม่มีการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้
      ECU จะตรวจจับการ Misfire โดยการวิเคราะห์การแปรปรวนของความเร็วรอบเครื่องยนต์หลังการจุดระเบิดมาเปรียบเทียบกัน กล่าวคือในสภาวะการทำงานปกติเมื่อเพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft) หมุนไป 1 รอบนั้นจะถูกกระตุ้นให้เกิดอัตราเร่งขึ้น 2 ครั้งตามจังหวะการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ ดังนั้นถ้า ECU วิเคราะห์แล้วพบว่าไม่เกิดอัตราเร่งขึ้นแสดงว่ามีการ Misfire เกิดขึ้นในรอบนั้น    ECU ก็จะสั่งมีให้ไฟเตือน (Diagnostic warning lamp =ไฟรูปเครื่องยนต์) ขึ้นแสดงบนแผงหน้าปัดให้ผู้ขับขี่ทราบด้วย

ภาพแสดงหลักการตรวจจับการเกิด  Misfire ของ ECU


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:31:32
8.10  การกลับคืนสู่ค่าตั้งต้นได้เองโดยอัตโนมัติ  - Initializing Auto?Adaptation
    วัตถุประสงค์ของ Auto ?Adaptation   คือการกลับคืนสู่ตั้งต้นของระบบได้เอง โดยที่ค่าตั้งต้นการทำงานของทุกระบบใน ECUได้ถูกปรับตั้งไว้อย่างเหมาะสม และถูกบันทึกเก็บรักษาไว้ใน EEPROM ของ ECU ตลอดไปแม้เราจะถอดขั้ว Battery, ถอด ECU ออกมา หรือจะทำการลบข้อบกพร่อง (Fault) ทั้งหมดออกแล้วก็ตาม


8.11 ไฟแจ้งเตือนต่างๆบนแผงหน้าปัด - Driver?s Information Function
     การทำงานตามปกติของไฟเตือน
       - ไฟเตือนทั้งหมดติดสว่างค้างเมื่อบิดกุญแจไปที่ Ignition
       - ไฟเตือนทั้งหมดดับไปเมื่อเครื่องยนต์ติดแล้ว
     การทำงานของไฟเตือนเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้น
       - ไฟเตือนของระบบที่ทำงานผิดปกติจะติดสว่างค้างขณะเครื่องยนต์ติดอยู่
       - ไฟเตือนเมื่อมีข้อบกพร่องขึ้นในระบบควบคุมเครื่องยนต์ (Diagnostic warning lamp =ไฟรูปเครื่องยนต์)

     ถึงแม้ ECU จะถูกออกแบบให้ฉลาดปราดเปรื่องสักเพียงใดมันก็ยังต้องการการดูแลรักษาด้วยเช่นกัน เช่นควรหลีกเลี่ยงจากความร้อน, น้ำ/ความชื้น ฝุ่นละอองและความสกปรก การกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง และหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆที่ก่อให้เกิดประกายไฟขึ้น ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน (Surge) เข้าสู่ ECU   เช่นการเชื่อมไฟฟ้าต่อท่อไอเสียจะต้องถอดขั้ว Battery ออกก่อนเสมอ, การถอด-ใส่ ขั้ว Battery ขณะเครื่องยนต์ทำงาน สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเหตุให้ระบบเสียหายหรือทำงานผิดพลาดได้ 


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:26:08
9. Multiplex Network ? ระบบเครือข่ายข้อมูล โดยการส่งสัญญาณหลายๆ ข้อมูลไปพร้อมๆกันบนสายสัญญาณเดียวกัน

       Multiplexing   เป็นการส่งถ่ายข้อมูลหลายๆข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือ ECU ของระบบใดๆ ที่มีสัญญาณไฟฟ้าแตกต่างกัน   ให้ไปบนช่องทางเดียวกัน (Data-Bus) โดยข้อมูลแต่ละข้อมูลที่ถูกพาไปจะมีรหัสประจำตัว (ID) พร้อมข้อมูลที่ไม่ซ้ำกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะส่งให้กับ BSI(Built-in Systems interface) ที่เป็นศูนย์กลางการควบคุมและบริหารจัดการข้อมูลให้กับทุก Data-Bus   ดังนั้นทุกหน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Control Unit =ECU) ที่เชื่อมโยงต่อเข้ากับ BSI จึงสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ตามต้องการ  
     การใช้ระบบเครือข่ายดังกล่าวจึงกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นเมื่อจำนวน ECU ที่มีอยู่ในรถยนต์เพิ่มจำนวนมากขึ้น   ดังนั้นการใช้ระบบเครือข่าย Multiplexing นี้จะช่วยลดปริมาณการเดินสายไฟและขั้วต่อได้มาก ไม่เปลืองพื้นที่, ลดน้ำหนักและลดต้นทุนการผลิต

    แผนผังของระบบ PSA Multiplex
    เทคโนโลยี Multiplex ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยกลุ่มพันธมิตรของ PSA อันมี Citroen, Bosch และ Renault และเริ่มใช้งานกับรถยนต์ Citroen   XM ในปี คศ.1994    
     ระบบ Multiplex นี้ประกอบด้วย 2 เครือข่ายคือ:-
        -  CAN (Controller Area Network)
        -  VAN (Vehicle Area Network)
โดยทั้ง 2 เครือข่ายนี้จะต่อเข้ากับหน่วยเชื่อมโยงกลางที่เรียกว่า BSI ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารจัดการระบบ    
     ในระบบ Multiplex นี้ประกอบด้วย 4 ช่องทาง (Data-Bus) (1 CAN+3VAN) ในการถ่ายโอนข้อมูล โดยที่แต่ละ Bus จะมีสายไฟเพียง 4 เส้น และ Bus เหล่านี้สามารถจ่ายไฟและส่งข้อมูลแบบดิจิตอลให้กับอุปกรณ์ต่างๆ  

   CAN ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดย Bosch   เป็น
        1    Bus ของกล่มอุปกรณ์ผลิตและถ่ายทอดกำลังลงสู่พื้นถนน (Powertrain)   เช่นระบบควบคุมเครื่องยนต์ (Engine ECU), เกียร์, เบรก (ABS) และระบบควบคุมช่วงล่าง (Suspension) ถ้ามี  

VAN ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยกลุ่ม PSA และ Renault   ประกอบด้วย 3 Bus คือ
       1    Bus ของระบบอำนวยความสะดวกสบาย (Comfort) เช่น ระบบควบคุม แผงหน้าปัด, จอแสดงผล (Multifunction Display Panel), ระบบควบคุมสภาพอากาศ (Air conditioning & Climate) และ วิทยุ  
       2    Bus ของระบบตัวถัง (Body) เช่น ระบบปัดน้ำฝน, ระบบของประตู-กระจก Central Lock, การปรับกระจกส่องหลัง
       3    Bus ของระบบความปลอดภัย (Safety) เช่น ระบบส่องสว่าง-สัญญาณไฟ, Airbag

ภาพโครงสร้างเครือข่าย PSA Multiplex


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:27:44
9.1 Built-in Systems interface = BSI 
 
     Built-in Systems interface = BSI   คือศูนย์กลางการควบคุมและบริหารจัดการข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์หรือ    ระบบต่างๆ มาใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยการถ่ายโอนข้อมูลระหว่าง ECU อื่นๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ตัวมันเองซึ่งมีแผงวงจร Microprocessors ที่มีสามารถจัดส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงและยังสามารถจัดลำดับความสำคัญ (Priority) ให้กับระบบอีกด้วย เช่นให้ความสำคัญกับระบบความปลอดภัยที่มีความจำเป็นมากกว่าระบบควบควบคุมวิทยุในขณะเบรกเป็นต้น   และยังเป็นแหล่งจ่ายไฟโดยผ่าน Fuse ? Relay ให้กับระบบต่างๆอีกด้วย

ภาพของ BSI และ Fuse ต่างๆ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:41:03
ภาพประกอบข้างล่างนี้แสดงถึงความสัมพันธ์ของ Fuse-Relay และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้รหัสหมายเลขของอุปกรณ์ดูได้จาก Link

http://peugeot.mainspot.net/wiringall/comp.shtml

หมายเหตุ : ใน Website ของ
http://www.psa-peugeot-citroen.com/modules/multiplexage/en_multiplexage_04.html

จะพบคำว่า ?ISU? แทนคำ ?BSI? หรือว่าทาง PSA-PEUGEOT-CITROEN ต้องการเปลี่ยนชื่อเรียกของอุปกรณ์ตัวนี้ใหม่?
    BSI หรือ ISU (Intelligent Switch Unit) คือหน่วยประมวลผลกลาง ที่เป็น Microprocessor ตัวหนึ่งซึ่งมีความสามารถและโครงสร้างแบบเดียวกันกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) และมีซอฟต์แวร์เฉพาะสำหรับงานในแต่ละหน้าที่

ภาพแสดงความสัมพันธ์ของ Fuse-Relay และอุปกรณ์


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:52:56
พบกันวันพรุ่งนี้ ในตอบปิดท้ายของเรื่องเล่าว่าด้วยการ Reset BSI ในอีกรูปแบบหนึ่งที่คุณต้องรู้............!!!!!


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:28:50
   สุดท้ายนี้มีของฝากเพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้ใฝ่รู้ทุกท่าน ได้โปรดพิมพ์ติดรถไว้เป็นผ้ายันต์กัน BSI เฮี้ยนได้ดีนักแล  
       บางท่านอาจเคยพบปัญหาหรือพฤติกรรมแปลกๆเกิดขึ้นกับบางระบบการทำงาน  เช่นหลังการใส่รหัสกุญแจ เพื่อให้ BSI รู้จักกับ Chip Immobilizer ที่ลูกกุญแจ แล้วเกิดความผิดปกติขึ้นกับการทำงาน เช่น ค่า Odometer (มาตรวัดระยะทาง), เครื่องคำนวณระยะทาง (Trip Computer), เซ็นทรัล ล็อก, ระบบไฟฟ้าและ Immobilizer ไม่ทำงานเป็นต้น     ด้วยเหตุที่ BSI มีพื้นฐานเป็นคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งที่ต้องมีระบบปฏิบัติการ (Operation Systems = OS) เพื่อรองรับหน้าที่ต่างๆมากมาย ดังนั้นจึงต้องการ การกระตุ้นให้ เปิด-ปิด การใช้งานด้วยวิธีการเฉพาะตัวที่ถูกต้องเพื่อให้ระบบ OS ได้ทำการกำหนดค่า(Configure) การทำงานของระบบย่อยต่างๆให้ครบถ้วนสมบูรณ์เสียก่อน แต่ถ้ามีการถอดขั้วต่อไฟฟ้าของอุปกรณ์ในขณะที่มันกำลังทำงานอยู่  หรือเมื่อถอดเปลี่ยนอุปกรณ์แล้วก็จะต้องให้ระบบได้ทำการปรับตั้งให้เข้าตำแหน่งเริ่มต้น (Reset) การทำงานเสียก่อน หรือถอด Battery ออกก่อนที่ระบบจะกลับคืนสู่ค่าเริ่มต้นแล้วเสร็จเหล่านี้เป็นต้น  ซึ่งล้วนแต่จะสร้างความสับสนให้กับซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการของมันเองได้เสมอ อันเป็นเหตุให้การทำงานของระบบต่างๆเกิดอาการรวนหรือผิดพลาดขึ้นได้   
     รายละเอียดของการค้นหาสาเหตุของปัญหาแปลกๆนี้มีปรากฏอยู่ใน Peugeot technical service bulletin ซึ่งพอจะสรุปวิธีการปฏิบัติได้ดังนี้


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:35:37
Peugeot BSI reboot procedure ? ขั้นตอนการเริ่มต้นระบบปฏิบัติการใหม่ให้กับ BSI  

   1.  ขั้นตอนสำหรับการเริ่มเปิดใช้งาน BSI หลังจากที่ได้ทำการใส่รหัสกุญแจให้ BSI
     1.1   ปลดเครื่องมือตรวจวินิจฉัย (Diagnostic) ออก
     1.2   ลดกระจกด้านคนขับลง, เปิดฝากระโปรงรถ, ปิดสวิทช์อุปกรณ์ทั้งหมด
     1.3   ปิดประตูทุกบาน, เอากุญแจออก
     1.4   รอ 3 นาทีแล้วถอดขั้ว Battery ออก แล้วรอ 15 วินาที
     1.5   ต่อขั้ว Battery กลับคืน แล้วรออีก 10 วินาที ในระหว่างนี้ห้ามเปิดประตู
     1.6   เปิดไฟหรี่ผ่านทางกระจกด้านคนขับที่เอาลงไว้
     1.7   บิดกุญแจไปที่ตำแหน่ง Ignition แล้วปล่อยให้ระบบตรวจสอบการทำงานมันเอง
     1.8   กดปุ่มล็อกรถที่กุญแจค้างไว้ 10 วินาที
     1.9   เอากุญแจออก, เปิด-ปิดประตู, ทดสอบการทำงานของ Central Lock
     1.10  สตาร์ทเครื่องยนต์เป็นอันเสร็จสิ้นการตรวจสอบระบบ
     การทำผิดขั้นตอนข้างต้นอาจทำให้การทำงานของ BSI ทำงานผิดพลาดได้ ซึ่งจะต้องกลับไปทำซ้ำตามขั้นตอนใหม่อีกจนกว่าทุกระบบจะทำงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์

   2.  วิธีการถอด-ใส่ขั้วแบตเตอรี่
      2.1 วิธีการถอดขั้วแบตเตอรี่
       เมื่อต้องการจะถอดขั้วแบตเตอรี่รถยนต์ให้ปิดสวิทช์อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดและปลดเครื่องมือตรวจวินิจฉัย (Diagnostic) ออกด้วย
         2.1.1  ปิดประตูทั้งหมด, ลดกระจกด้านคนขับลง
         2.1.2   ดึงกุญแจออกแล้วรอ 3 นาทีก่อนที่จะถอดขั้วแบตเตอรี่ (ถอดขั้วลบ ? ก่อน) เพื่อรอให้ BSI กลับเข้าสู่ Sleep Mode "Active Economy Mode". และห้ามไม่ให้ใช้งานอุปกรณ์ใดๆในรถในช่วงเวลานี้

     2.2  วิธีการใส่ขั้วแบตเตอรี่กลับ
        2.2.1   ปิดประตูทั้งหมด
        2.2.2   ถ้ากุญแจอยู่ในตำแหน่ง Ignition ให้บิดกลับเพื่อปิดแล้วดึงกุญแจออก
        2.2.3   ห้ามเปิดประตูไว้ ? ใส่ขั้วแบตเตอรี่ (ใส่ขั้วบวก + ก่อน) กลับ
        2.2.4   รอ 10 วินาที (บ้างก็ว่า 2 นาที)
        2.2.5   เปิดไฟหน้าผ่านทางกระจกด้านคนขับที่ได้เอาลงไว้
        2.2.6   เปิดประตูเข้าสตาร์ทเครื่องยนต์ แล้วตรวจเช็คทดสอบการทำงานของระบบต่างๆ

ที่มา:  โปรดใช้คำ ?Peugeot BSI reboot procedure? ในการค้นหาจาก Internet
                                              ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:37:39
    บัดนี้สมควรยุติเรื่องเล่าที่ได้กล่าวมา  จึงใคร่ขอน้อมคารวะและกล่าวคำขอบพระคุณอย่างสูงยิ่งแด่ท่านเจ้าของภาพ, ข้อความและแหล่งอ้างอิงต่างๆ ที่มีปรากฏอยู่ในบทความนี้    ฉะนั้นขอท่านได้โปรดใช้บทความนี้เพื่อเป็นวิทยาทานแบ่งปันความรู้เท่านั้น 

    จึงขอเอวังด้วยประการฉะนี้ อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สตังค์อยู่ครบ ........  สวัสดีครับ
                                                                                                           Zuzarz / Blue Leo


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: ภณ(PON) ที่ วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน 2009 เวลา 19:38:57
บอกได้เลยว่าสุดยอดวิชาการจริงๆครับ

ที่สำคัญได้บุญอย่างแรงสำหรับให้สมาชิกที่ใช้ 406 D9 ครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: Horn ที่ วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน 2009 เวลา 21:53:42
ขอคารวะครับ   สุดยอดดดดดดดดดดดด


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: Poj_MN ที่ วันพุธที่ 02 ธันวาคม 2009 เวลา 17:55:13
ขอแสดงความนับถือ และขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ครับ สุดยอดมากๆ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: nutty ที่ วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2009 เวลา 19:03:36
สุดยอดครับ

ขอบพระคุณมากครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: Kowit 405SRI ในคราบ GR ที่ วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2009 เวลา 20:17:16
ขอบคุณป๋ามากครับ กับเรื่องราวในครั้งนี้ อยากให้ป๋าเขียนงานอย่างนี้ออกมาอีก


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: CPOD ที่ วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม 2010 เวลา 09:26:11
 :Pika: :Oooops: สุดยอดเยี่ยม ชาว ซีตรอง เอวาซิออง ขอร่วมขอบคุณ ในวิทนาทานนี้ด้วยครับ ถ้าเติมด้วยเรื่อง เกียร AL4 จะเป็นพระคุณอันหาที่เปรียบมิได้แล้วในโลกนี้  :หวัดดีค่ะ:


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: amtep ที่ วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม 2010 เวลา 10:38:17
สุดยอดมากๆครับ กระจ่างเลยครับ ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันเสาร์ที่ 03 เมษายน 2010 เวลา 20:02:04
โปรดติดเรื่องราวต่อเนื่องจากบทความข้างต้น

ในวันจักรี ที่ 6 เมย.นี้ ที่ Website: vlovepeugeot.com แห่งนี้ ในกระทู้

บันทึกช่วยจำ ? เรื่องหลักการทำงานของเกียร์อัตโนมัติ AL4/DPO



@ Link : http://www.vlovepeugeot.com/forum/index.php?topic=18173.msg135970


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: Gotji ที่ วันเสาร์ที่ 03 เมษายน 2010 เวลา 20:31:44
ปูเสื่อรอครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: lovepg ที่ วันเสาร์ที่ 03 เมษายน 2010 เวลา 21:42:56
!!! เทพกำลังจะจุติอีกครั้ง !!!


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: ภณ(PON) ที่ วันอาทิตย์ที่ 04 เมษายน 2010 เวลา 10:37:04
นอนรอฟัง


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: montree ที่ วันอาทิตย์ที่ 04 เมษายน 2010 เวลา 17:36:12
ขอบคุณครับท่าน


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: Gotji ที่ วันอาทิตย์ที่ 04 เมษายน 2010 เวลา 20:00:47
Up to ดัน


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: noteter ที่ วันพุธที่ 21 เมษายน 2010 เวลา 19:43:09
มีของ 406 D8 บ้างมั้ยคับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: toh ที่ วันอาทิตย์ที่ 02 พฤษภาคม 2010 เวลา 22:53:11
เห็นด้วยกับคุณ noteter


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: j17 ที่ วันจันทร์ที่ 03 พฤษภาคม 2010 เวลา 14:49:33
เป็นบทความที่ดีมากเลย  ไม่ทราบท่านหามาจากที่ไหนครับ  เก่งมากๆ เลย ต้องขอขอบคุณด้วยใจแต่ว่าผม
ขอแก้ไขนิดนึงครับ  เกี่ยวกับเซนเซอร์ลิ้นปีกผีเสื้อ  ผมคุ้นเคยกับแบบเดิมๆ ซึ่งก็คือที่ท่านอธิบายมา จะเป็นแบบโพเทนทิโอมิเตอร์ (วอลุ่ม) ดังนั้นถ้าผมไม่มี pp ในการตั้ง  ผมก็ต้องมาร์กตำแหน่งไว้  แต่ปัญหาดันปรากฎว่ามันหาตำแหน่งไม่ได้  ความต้านทานคงที่จนผมคิดว่ามันเสียแล้ว....
ไหนๆ ก็เสีย ผมก็งัดแงะมันออก เผื่อว่าอาจซ่อมแซมได้ เหมือนกับอุปกรณ์หลายๆ ตัวที่ผมเคยทำสำเร็จแต่
งงแตกครับ  มันไม่ใช่ตามที่ท่านเจ้าของกระทู้เอามาลง และไม่ใช่โพเทนทิโอมิเตอร์ แต่เป็นแบบวัดสัญญาณจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (แบบดิจิตอล) หลักการทำงานคล้ายๆ กับแคล็ก หรือแคม เซนเซอร์น่ะครับ
ของดีๆ กลายเป็นเสียซะ  ซวยเลย ก็บอกกล่าวกับท่านอื่นๆ ครับ
ครับ 


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 04 พฤษภาคม 2010 เวลา 22:03:27
เป็นบทความที่ดีมากเลย  ไม่ทราบท่านหามาจากที่ไหนครับ  เก่งมากๆ เลย ต้องขอขอบคุณด้วยใจแต่ว่าผม
ขอแก้ไขนิดนึงครับ  เกี่ยวกับเซนเซอร์ลิ้นปีกผีเสื้อ  ผมคุ้นเคยกับแบบเดิมๆ ซึ่งก็คือที่ท่านอธิบายมา จะเป็นแบบโพเทนทิโอมิเตอร์ (วอลุ่ม) ดังนั้นถ้าผมไม่มี pp ในการตั้ง  ผมก็ต้องมาร์กตำแหน่งไว้  แต่ปัญหาดันปรากฎว่ามันหาตำแหน่งไม่ได้  ความต้านทานคงที่จนผมคิดว่ามันเสียแล้ว....
ไหนๆ ก็เสีย ผมก็งัดแงะมันออก เผื่อว่าอาจซ่อมแซมได้ เหมือนกับอุปกรณ์หลายๆ ตัวที่ผมเคยทำสำเร็จแต่
งงแตกครับ  มันไม่ใช่ตามที่ท่านเจ้าของกระทู้เอามาลง และไม่ใช่โพเทนทิโอมิเตอร์ แต่เป็นแบบวัดสัญญาณจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (แบบดิจิตอล) หลักการทำงานคล้ายๆ กับแคล็ก หรือแคม เซนเซอร์น่ะครับ
ของดีๆ กลายเป็นเสียซะ  ซวยเลย ก็บอกกล่าวกับท่านอื่นๆ ครับ
ครับ  

   ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ  คุณ j17  เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากประสบการณ์จริงและต้องเสียเซนเซอร์ลิ้นปีกผีเสื้อไปตัวหนึ่งอันเกิดจากข้อมูลที่ไม่ถูกต้องของบทความนี้

 จึงใคร่กล่าวคำขอโทษด้วยความจริงใจมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ

   สำหรับข้อมูลที่เป็นแรงบันดาลใจให้เขียนบทความนี้มาจากข้อมูลทางด้านเทคนิคจากหนังสือเล่มนี้ครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 04 พฤษภาคม 2010 เวลา 22:11:52
     ซึ่งได้ให้ข้อมูลไว้พอสังเขปดังตัวอย่างต่อไปนี้  ซึ่งจะเห็นว่า Sensor บางตัวก็ได้ให้ชนิดของ Sensor ที่ถูกนำมาใช้ไว้ด้วย เช่น

3 - ENGINE SPEED SENSOR (1313)
3.1- Role
The sensor is located opposite the teeth of the flywheel.
Role of the injection ECU according to the data received:
? checking the engine speed
? to determine the position of the crankshaft
? calculation of ignition advance
? to regulate the idle speed

3.2 - Description
The sensor is of the inductive type.
Components of the sensor:
? a permanent magnet
? an electric winding
The sensor provides an electrical signal every time a tooth on the flywheel passes by (change in magnetic field).
The 58 teeth are used to work out the engine speed.
The 2 missing teeth are used to work out the crankshaft position (no signal).
NOTE: The air gap is not adjustable.

3.3 - Electrical features
Allocation of the connector channels:
? channel 1: signal
? channel 2: earth
? channel 3: screening (*)
(*) according to version.
Resistance between channels 1 and 2: 425 to 525 ?.
Features of the signals emitted: variable frequency alternating voltage.

3.4 - Location
Location: on the clutch housing.

4 -VEHICLE SPEED SENSOR (1620)
4.1- Role
The sensor informs the ECU of the speed of the vehicle.
Role of the injection ECU according to the data received:
? to work out the vehicle speed
? to work out the ratio of the gear engaged
? to improve idling speed when the vehicle is moving
? to optimize acceleration
? to reduce engine hesitation

4.2- Description
?Hall effect? sensor:
? 5 impulses per metre
? 8 impulses per revolution

4.3 - Electrical features
Allocation of the connector channels:
? channel: + 12 volts supply (double injection relay)
? channel 2: earth
? channel 3: signal

4.4 - Location
The sensor in located in the gearbox

5 - THE CAMSHAFT POSITION SENSOR (1115)
EW. XU engines.

5.1 - Role Role of the injection ECU according to the data received:
? to synchronise fuel injections with respect to the position of the pistons
? to recognise top dead centres
? to determine misfires

5.2 - Description
?Hall effect? sensor.
The camshaft sensor provides a square signal for the injection ECU.

5.3 - Electrical features Allocation of the connector channels:
? channel 1 : + 5 volts supply
? channel 2: signal
? channel 3: earth
The voltage slots are between 0 and 5 volts.
Signal emitted:
? presence of metal earth opposite the sensor: 0 volt
? absence of metal earth opposite the sensor: 5 volts

5.4 - Location
Location : on the cylinder head, opposite a target driven by the camshaft.


11 - THROTTLE POSITION SENSOR (1316)
11.1-Role
The throttle potentiometer informs the injection ECU on the position of the fuel throttle.
The information supplied by this unit is used to:
? identify the position of ?no throttle? or ?full throttle?
? determine the strategies of acceleration, deceleration and injection cut-off
? inform the automatic gearbox ECU (*)
(*) according to version.

11.2 - Features of the automatic gearbox
The injection ECU sends the position of the fuel throttle to inform the gearbox ECU of the engine load.
The throttle potentiometer is also used to perform the ?kick-Down? function (no tight spot).

11.3 - Electrical features
Air and fuel supply: injection ECU.
Allocation of the connector channels:
? channel 1: earth
? channel 2: + 5 volts supply
? channel 3: signal
The Voltage signal delivered to the ECU by this unit varies from 0 to 5 V according to the position of the throttle.


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 04 พฤษภาคม 2010 เวลา 22:13:54
   จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าที่ข้อ 11 - THROTTLE POSITION SENSOR (1316) มิได้แจ้งชนิดของ sensor ไว้

   ดังนั้นผู้รวบรวมจึงได้ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมจาก Website และ Program ต่างๆเพื่อให้ได้ข้อมูลที่จะสามารถช่วยชี้ชัดลงไปว่าเป็น Sensor ชนิดใดกันแน่ เราลองดูที่สัญลักษณ์ของ Sensor ตัวนี้ในแต่ละวงจรดูสักหน่อยครับ

วงจรไฟฟ้าจาก Program,  Peugeot Schematic


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 04 พฤษภาคม 2010 เวลา 22:15:10
วงจรไฟฟ้าจาก Program,  Peugeot Service Box


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 04 พฤษภาคม 2010 เวลา 22:16:21
วงจรไฟฟ้าจาก Program,  Autodata 3.18


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันอังคารที่ 04 พฤษภาคม 2010 เวลา 22:19:13
   จากข้อมูลที่แตกต่างกันข้างต้น ผู้เขียนจึงสรุปเอาตามความเข้าใจว่าเป็น Sensor ชนิด Potentiometer ตามชื่อของมัน อันเป็นการประเมินผลที่ผิดพลาดของผู้เขียนนั่นเอง
 
   การให้ที่มาข้างต้นนั้นผู้เขียนมิได้มีเจตนาใช้เป็นข้อแก้ตัวแต่อย่างใดทั้งสิ้น แต่เพียงเพื่อให้เห็นถึงวิธีการค้นคว้าหาข้อมูลเท่านั้น

   ดังนั้นผู้เขียนจึงมีความยินดีอย่างยิ่งที่  คุณ j17 ได้ช่วยทักท้วง-ชี้แนะช่วยร่วมแก้ไขข้อผิดพลาดเพื่อประโยชน์ของชาวเราต่อไป และถ้าเป็นไปได้ใคร่ขอภาพถ่ายชิ้นส่วนที่ถูกงัดแงะออกแล้ว มาเผยแพร่ด้วยจะเป็นพระคุณยิ่งเพื่อใช้ในการค้นหาข้อมูลที่ถูกต้องต่อไป  หรือหากท่านใดมีข้อมูลที่ถูกต้องมาเพิ่มเติมด้วยก็ยินดีขอน้อมรับไว้ด้วยความขอบคุณยิ่ง

ด้วยความขอบคุณยิ่ง
Zuzarz / Blue leo


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: EVA ที่ วันอังคารที่ 04 พฤษภาคม 2010 เวลา 22:34:16
หยากขอความรู้คุณzuzarzครับ พอดีเกียร์ al4 มีอาการเกียร์เปลื่ยนที่รอบสูงประมาณ 4000 รอบทุกเกียร์ รถวิ่งไม่ออก
 พอถอนคันเร่งหรือเหยีบเบรค รอบเครื่องจะตกมาอยู่ที่รอบเดินเบา 900 รอบ ทุกครั้งที่ถอนคันเร่งหรือเบรค แต่ถ้าเหยีบคันเร่งต่อรอบเครี่องก็จะวิ่งขึ้นสูง
 แต่รถไม่วิ่งเหมือนครัชไม่จับ รถวิ่งไม่ออก อาการนี้จะเป็นตอนออกตัวพอเกียร์เปลื่ยนถึงเกียร์4 แล้ววิ่งไปซักพักทางยาวๆโดยไม่เบรค อาการนี้ก็จะหายไป
 แต่ถ้าเราหยุดรถแล้วออกตัวใหม่อาการนี้ก็จะกลับมาเป็นอีก
 :ยินดี อุอุอุ: :ยินดี อุอุอุ:


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพุธที่ 05 พฤษภาคม 2010 เวลา 20:06:38
อยากขอความรู้ คุณzuzarz ครับ พอดี
 - เกียร์ Al4 มีอาการเกียร์เปลี่ยนที่รอบสูงประมาณ 4000 รอบทุกเกียร์ รถวิ่งไม่ออก
 - พอถอนคันเร่งหรือเหยียบเบรค รอบเครื่องจะตกมาอยู่ที่รอบเดินเบา 900 รอบ ทุกครั้งที่ถอนคันเร่งหรือเบรค แต่ถ้าเหยียบคันเร่งต่อรอบเครี่องก็จะวิ่งขึ้นสูง แต่รถไม่วิ่งเหมือนคลัตช์ไม่จับ รถวิ่งไม่ออก อาการนี้จะเป็นตอนออกตัวพอเกียร์เปลี่ยนถึงเกียร์4 แล้ววิ่งไปสักพักทางยาวๆโดยไม่เบรค อาการนี้ก็จะหายไป แต่ถ้าเราหยุดรถแล้วออกตัวใหม่อาการนี้ก็จะกลับมาเป็นอีก

  อยากแนะนำให้นำรถเข้ารับการตรวจเช็คด้วยเครื่องมือตรวจวินิจฉัย (PPS) เพื่อค้นหาข้อบกพร่องของระบบหรือมีอุปกรณ์ใดทำงานผิดปกติบ้าง จากอาการที่แจ้งมานั้นคงต้องมีข้อมูลประกอบอื่นๆเพิ่มเติมอีกเช่น
 1. อายุการใช้งานของ เกียร์/น้ำมันเกียร์
 2. ประวัติการซ่อม Overhaul/ล้างชุดกล่องวาล์วไฮดรอลิก/การเปลี่ยนวาล์วคุมแรงดัน(Pressure Modulation Electrovalve)
 3. การมีไฟเตือน Sport + Snow กระพริบ/มีข้อความ?Automatic Gear Fault? หรือมีอาการเกียร์กระตุกร่วมด้วยหรือไม่เป็นต้น

   จากอาการที่เล่ามานั้นอาจเกิดจากความบกพร่องในการควบคุมแรงดันน้ำมันอันมีอุปกรณ์ที่ชื่อว่า Pressure Modulation Electrovalve 2 ตัวเป็นจำเลย   และ ECU เกียร์จึงสั่งบังครับ(พิษสงของ Auto Edit ให้อ่านว่า บังคั บ)ให้อยู่ที่เกียร์ 3 เท่านั้น จนกว่าจะดับเครื่องยนต์ และถ้า Modulation Electrovalve ทำงานผิดปกติอย่างถาวรก็จะกลับเป็นอาการเช่นเดิมอีกเสมอ การแก้ไขคงต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ตัวนี้เป็นรุ่นใหม่ พร้อมทำการล้างชุดกล่องวาล์วไฮดรอลิก/เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ใหม่และ Update Program Gear ด้วย

    แต่ถ้าอายุการใช้งานของ เกียร์สูงมากแล้วถึงขนาดคลัต์ชลื่นคงต้อง Overhaul แล้วน่าจะจบและใช้งานต่อได้อีกนาน และน่าจะคุ้มค่ากว่าการลงเกียร์มือสองนะครับ

    และขอแนะนำให้ปรึกษาพี่ช่าง พนม โทร. 083-782-0010 ผู้รู้แจ้งเรื่องของเกียร์ AL4 ตัวจริงครับ (อย่าบอกว่าผมแนะนำนะเพราะพี่ช่างเขาไม่รู้หรอกครับ ๕๕๕ AL4)


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: j17 ที่ วันพฤหัสบดีที่ 06 พฤษภาคม 2010 เวลา 09:12:28
คุณ zuzarz ครับ  บางทีผมว่ามันอาจเป็นหลายรุ่นครับ  อาจเป็นรุ่นแรกๆ ที่ยังใช้เจ้าโพเทนทิโอมิเตอร์ ส่วนของผมอาจจะอัพเดทไปใช้แบบสนามแม่เหล็ก  สำหรับรูปน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งครับตอนนั้นกำลังซีเรียสมัวแต่หาทางซ่อมมันอยู่ เลยไม่ได้ถ่าย จะซื้อใหม่ (เซียงกง อิอิ) ก็ไม่มีของ คือเรื่องของเรื่องคือ ถ้าเปิดฝาหลังมันที่เห็นเป็นเหล็กสีขาวๆ น่ะ  เปิดมาเฉยๆ ก็ไม่เป็นไรครับ  แต่ผมเปิดมาแล้วดันอยากรู้ต่อไปว่ามันทำงานยังไงเพราะเห็นแล้วงง พอถอดแล้วอธิบายคร่าวๆ ดังนี้ครับ
ขั้วต่อที่เป็นซ๊อกเก็ต จะติดอยู่กับเรือนเซนเซอร์ แล้วใช้สายไฟทองแดงเส้นประมาณ 0.01 มม. ได้มั้ง เส้นเดียว (3 ขั้ว ก็มี 3 เส้น) ต่อไปยังแผ่นปริ้นท์ ที่แผ่นปริ้นท์จะมีลายวงจร 3 ลาย ต่อไปยังส่วนปลายของแผ่นซึ่งจะอยู่ระหว่างกลางของจานที่ต่อไปยังลิ้นปีกผีเสื้อ จานอันนี้จะหมุนตัดกับแผ่นปริ้นท์ที่ว่าครับ  ในจานอาจจะมีแม่เหล็กถาวรอยู่หรือไม่ผมไม่แน่ใจครับ ส่วนที่ปริ้นท์ ผมสังเกตุเห็นอุปกรณ์ไมโครซึ่งน่าจะเป็นรีซิสเตอร์ 2 ตัว ต่อระหว่างลายปริ้น ส่วนปลายของปริ้นท์ ที่เป็นตัวรับสัญญาณผมไม่เห็นอุปกรณ์ อาจฝังอยู่ในปริ้นท์ครับ
ของผมที่เสียเพราะว่า สายไฟทองแดงมันขาด (เพราะงั้นแนะนำว่าอย่าเปิดมันออกมาดูหน้าตากันเลยดีกว่า) เจ้าสายไฟที่ว่าจะมียางซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าเป็นชนิดไหน แต่น่าจะสังเคราะห์จากยางผสมพลาสติก เดิมน่าจะอยู่ในสถานะน้ำ พอฉีดเข้าไปหลังจากสัมผัส o2 แล้วแข็งตัว (จริงๆ คือเซ็ทตัว) ทำหน้าที่ห่อหุ้มสายไฟไว้ไม่ให้ขยับมาโดนกัน
ตอนนี้ผมซ่อมมันได้และเอากลับไปใช้งานเหมือนเดิมแล้วครับ  แต่ก็คิดว่าจะเปลี่ยนอยู่เหมือนกัน ถ้าได้ของใหม่มาแล้ว จะเอาอันเก่ามาเปิดแล้วถ่ายรูปให้ดูข้างในกันครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันเสาร์ที่ 08 พฤษภาคม 2010 เวลา 01:48:57
   เพื่อเป็นการยืนยันว่า THROTTLE POSITION SENSOR, P/N 1628.JX เป็นแบบ Hall Effect Position Sensor จริงตามที่ คุณ j17 ได้กล่าวไว้  
ผมจึงได้ทำการผ่าตัดมันออกมาดูเพื่อช่วยยืนยันอีกแรงครับ
   ขอทุกท่านได้โปรดทราบและแก้ไขความเข้าใจให้เป็นไปตามนี้ด้วยครับ ต้องขออภัยทุกท่านและขอขอบคุณ  คุณ j17 เป็นอย่างยิ่งด้วยนะครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันเสาร์ที่ 08 พฤษภาคม 2010 เวลา 01:51:35
      ดูกันชัดๆอีกนิดครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: j17 ที่ วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม 2010 เวลา 11:35:11
โอโห ขอคารวะและปรบมือให้เต็มที่เลยครับ  คุณ zuzarz  ใจถึงมากเลยครับ  ว่าแต่แล้วประกอบกลับคืนมันยังทำงานได้รึไม่ครับ  ถ้าเป็นของเก่า ไม่ทราบว่าราคาเท่าไหร่พอทราบมั้ยครับ  คือ ผมสงสัยว่าเค้าจะไม่แยกขายน่ะ ดูแล้วเค้าคงแก้ปัญหาแบบวอลลุ่มที่ใช้ๆ ไปแล้วแถบคาร์บอนมันสึก อายุการใช้งานสั้นมาเป็นแบบนี้ ซึ่งถ้าไม่ไปยุ่งกะมันคงเสียได้ยากมากๆ เลย


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: j17 ที่ วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม 2010 เวลา 11:36:09
ผมชักสงสัยอีกแล้วซิครับ  คุณ zuzarz เป็นใครครับ  ฝ่ายเทคนิคของยนตรกิจรึป่าวเนี้ย  จะได้ฝากเนื้อฝากตัวไว้ 5555


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: lovepg ที่ วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม 2010 เวลา 08:49:07
พี่เค้าเป็นคนธรรมดาอย่างเราเนี๊ยแหละครับ แต่ด้วยพื้นฐานงานวิศวะที่พี่เค้าเรียนมา+การทำงาน ก็เลยหาข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเตอร์เนตแล้วนำมาแปลให้เราๆท่านๆฟังกันล่ะครับ นี้แหละ "เทพตัวตัวเป็นๆ"  :Cool:


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: tuk ที่ วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม 2010 เวลา 15:37:30
ขอคาระวะท่านด้วยความนับถือเป็นอย่างยิ่ง


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: ATP89. ที่ วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม 2010 เวลา 05:41:05
ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงครับสำหรับข้อมูล :มอบดอกไม้:
ATP89.


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: tuk ที่ วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม 2010 เวลา 11:03:05
อยากสอบถามเพิ่มเติมครับว่า ซีตรงอ C5  ได้ใช้ระบบควบคุมเหมื่อนกับ  406ea9  ตัวนี้ หรือเปล่าครับ

ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม 2010 เวลา 09:32:13
ได้ทำการปรับปรุงแก้ไขในหัวข้อ ดังต่อไปนี้
1.   หัวข้อ 1.1 เพิ่ม Link ภาพประกอบเคลื่อนไหวของ Stepper Motor
2.   หัวข้อ 1.4 เปลี่ยนภาพประกอบที่เพิ่มคุณลักษณะของ NTC Resistor ของ Inlet Air Temperature Sensor
3.   หัวข้อ 4.6 เปลี่ยนภาพประกอบที่เพิ่มคุณลักษณะของ NTC Resistor ของ Coolant Temperature Sensor   


 


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: Kowit 405SRI ในคราบ GR ที่ วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม 2010 เวลา 11:16:57
ขอบคุณมากๆครับ สำหรับอัพเดท


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: pong_rungsito ที่ วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม 2010 เวลา 22:09:34
สุดยอด มากครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zyte ที่ วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 15:31:15
แผนผังแสดงวงจรไฟฟ้าของ ระบบควบคุมเครื่องยนต์  Magneti  Marelli 4.8P

ขอรูปวงจรที่ชัด ๆ ได้ไหมครับ ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 00:41:27
แผนผังแสดงวงจรไฟฟ้าของ ระบบควบคุมเครื่องยนต์  Magneti  Marelli 4.8P

ขอรูปวงจรที่ชัด ๆ ได้ไหมครับ ขอบคุณครับ

ด้วยความยินดีครับ
http://www.upload-thai.com/download.php?id=6e1581ad364cf05e92fe2d23e925fde6


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zyte ที่ วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2011 เวลา 11:15:19
406 D9 V1/2001  ABS เสีย  PPS ไม่สามารถติดต่อ ECU ABS  ได้ ไฟเบรคติดค้างตลอด ABS FAULT ขึ้นที่หน้าปัทย์วิทยุ และไฟโชว์ที่เรือนไมล์ตลอดเวลา ไม่ทราบ K.zuzarz  มี Wiring ส่วนที่ต่อกับ BSI และ ECU หรือเปล่าครับ  ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zuzarz ที่ วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2011 เวลา 20:42:05
406 D9 V1/2001  ABS เสีย  PPS ไม่สามารถติดต่อ ECU ABS  ได้ ไฟเบรคติดค้างตลอด ABS FAULT ขึ้นที่หน้าปัทย์วิทยุ และไฟโชว์ที่เรือนไมล์ตลอดเวลา ไม่ทราบ K.zuzarz  มี Wiring ส่วนที่ต่อกับ BSI และ ECU หรือเปล่าครับ  ขอบคุณครับ

ในแผนผังแสดงวงจรไฟฟ้าของ ระบบควบคุมเครื่องยนต์  Magneti  Marelli 4.8P ข้างบนก็มี Wiring ส่วนที่ต่อกับ BSI และ ECU อยู่ตรงกลางข้างซ้าย และดูส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องที่

http://www.upload-thai.com/download.php?id=1c00dbe10a2ef18c96bfb3c00bb13151


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: zyte ที่ วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2011 เวลา 12:07:22
ขอบคุณ มาก ๆ ครับ
ตอนแรก คอม ที่ทำงาน Download File ไม่ได้ ตอนนี้ได้แล้วครับ  File นี้เป็นสิ่งมีค่าสำหรับผมมาก ๆ เเพราะตามหาใน Net มาเป็นปีแล้ว


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: Thawatpra ที่ วันศุกร์ที่ 08 กรกฎาคม 2011 เวลา 16:58:02
ขออัพกระทู้นี้หน่อยครับ...เห็นว่ามีประโยชน์....และขอคัดลอกไปเผยแพ่รต่อด้วยนะครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: pongpang307cc ที่ วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม 2012 เวลา 06:03:02
ได้ความรู้เยอะเลยครับ รบกวนถามนิดครับ ผมรถ307cc เครืองเหมือนd9ต่างกันที่เป็นคันเร่งไฟฟ้าใช่มั๊ยครับ ขอบคุณครับ :like: :like: :like: :หวัดดีค่ะ:
ตอนนี้งานเข้านิดหน่อยครับ พัดลมรอบสุงไม่ยอมทำงานครับ เกิดจากอะไรครับ ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: art748 ที่ วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2013 เวลา 00:55:19
ขออัพกระทู้นี้หน่อยครับ...เห็นว่ามีประโยชน์....และขอคัดลอกไปเผยแพ่รต่อด้วยนะครับ :ทำงานจนเวียนหัว:


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: NOK405 ที่ วันพุธที่ 05 มิถุนายน 2013 เวลา 19:51:41
ขออัพกระทู้ดีดี


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: NOK405 ที่ วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2013 เวลา 15:04:50
ขออัพขึ้นมาไว้เพื่อได้ศึกษากัน


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
เริ่มหัวข้อโดย: niranam ที่ วันอังคารที่ 29 เมษายน 2014 เวลา 08:34:20
ขอปัก หมุด ครับ

 :พระเจ้าจอร์ท: