www.VlovePeugeot.com - Please Ctrl+D Bookmark Now!

VlovePeugeot.com Webboard


E-PLUS
ในฉบับที่แล้วนิตยสาร "ฟอร์มูล่า" ได้นำอุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์ช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงหรือ "อี-พลัส" (E-PLUS) มาทดสอบติดตั้งในรถยนต์ และวิ่งบนแท่นวัดกำลังเครื่อง หรือไดนาโม มิเตอร์ เพื่อวัดสมรรถนะอุปกรณ์ดังกล่าว จะสามารถเพิ่มกำลังและแรงบิด ตามที่โฆษณาไว้หรือไม่ ผลทดสอบปรากฏว่าทั้งกำลังและแรงบิด ไม่เพิ่มขึ้นเลย เมื่อเทียบกับก่อนการติดตั้ง ทำให้เป็นที่หายสงสัยในเรื่องสมรรถนะ ซึ่งทางผู้ผลิตอ้างว่าอุปกรณ์นี้จะช่วยเพิ่มได้ถึง 5 % นั้น ไม่เป็นความจริง!

ส่วนคำโฆษณาที่อ้างว่าสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึง 15 % นั้นเรายังสงสัยอยู่ ?

ฉบับนี้ "ฟอร์มูล่า" จึงทำการทดสอบหาอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ทั้งก่อนและหลังใส่อุปกรณ์ โดยวัดระยะทางที่รถวิ่งได้ด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงที่เท่ากันในแต่ละครั้ง แบ่งการทดสอบออกเป็นสามส่วน คือวิ่งบนถนนสภาพการใช้งานจริง และวิ่งบนแท่นไดนาโมมิเตอร์ ซึ่งได้พยายามตัดตัวแปรที่อาจทำให้ผลการทดสอบผิดเพี้ยนได้
ในการทดสอบวิ่งบนถนนสภาพการใช้งานจริง ได้ใช้รถยนต์ นิสสัน เอ็นวี 1.6 เครื่องยนต์เบนซินเป็นรถทดสอบครั้งนี้ โดยเติมลมยางตามที่ผู้ผลิตกำหนดทั้งสี่ล้อ และขับบนถนนในช่วงเดียวกัน เพื่อให้ตัวแปรต่างๆ มีค่าใกล้เคียงกันมากที่สุด

โดยในการทดสอบครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากคณะวิศวกรรมยานยนต์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในการออกแบบและประดิษฐ์อุปกรณ์พิเศษ ซึ่งทำให้เราสามารถเฝ้ามองการบริโภคน้ำมัน 100 ซีซี ได้ในขณะรถวิ่ง และเพื่อเป็นการตัดตัวแปรเรื่องเข็มมาตรวัดที่ติดมากับรถคลาดเคลื่อน เราจึงติดตั้งเครื่องมือวัดสมรรถนะดาทรอน เพื่อให้เราสามารถรักษาความเร็วคงที่ (60 กม./ชม.) และยังสามารถวัดระยะทางได้อย่างแม่นยำ



หลักการทำงานของเครื่องมือวัดสมรรถนะดาทรอน คือ การยิงคลื่นไมโครเวฟลงพื้นถนนในแนวดิ่ง รอรับคลื่นสะท้อนกลับ และประมวลผลจากความแตกต่างของมุมและเวลาที่คลื่นเดินทาง พร้อมทั้งเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้า คำนวณเป็นข้อมูลแสดงผลผ่านจอคอมพิวเตอร์
ผลการทดสอบอี-พลัสวิ่งบนถนนใช้งานจริง
ไม่ติดตั้งอี-พลัส ติดตั้งอี-พลัส
ครั้งที่ ระยะ (ม.) สิ้นเปลือง
เชื้อเพลิง
(กม./ลิตร) ระยะ (ม.) สิ้นเปลือง
เชื้อเพลิง
(กม./ลิตร)
1 1,733 17.3 1,682 16.8
2 1,728 17.3 1,711 17.1
3 1,780 17.8 1,643 16.4
4 1,733 17.3 1,728 17.3
5 1,736 17.4 1,642 16.4
6 1,708 17.1 1,708 17.1
7 1,778 17.8 1,725 17.3
8 1,718 17.2 1,687 16.9
9 1,665 16.7 1,644 16.4
10 1,698 17.0 1,633 16.6
อัตราค่าเฉลี่ย 17.3 อัตราค่าเฉลี่ย 16.8



**หมายเหตุ**อัตราการบริโภคเชื้อเพลิงที่ความเร็วคงที่ 60 กม./ชม. โดยใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง 100 ซีซี

ทั้งได้กำหนดขั้นตอนการทดสอบแรก เป็นวิ่งบนถนนสภาพการใช้งานจริง ให้มีมาตรฐานเดียวกัน ได้แก่ 1. ติดตั้งอุปกรณ์พิเศษที่ทำให้เราสามารถเฝ้ามองการบริโภคน้ำมันที่ 100 ซีซี โดยการใช้หลอดแก้ว 2. รักษาความเร็วคงที่ๆ 60 กม./ชม. 3. เริ่มวัดระยะทางเมื่อน้ำมันในหลอดแก้วลดต่ำลงถึงจุดเริ่มต้น 4. หยุดวัดระยะทางเมื่อน้ำมันในหลอดแก้วลดต่ำลงถึงจุดสิ้นสุด (100 ซีซี) 5. คำนวณระยะทางที่ได้จากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 100 ซีซี และ 6. ทดสอบซ้ำ 10 ครั้ง ก่อนและหลังการติดตั้ง (ผลทดสอบละเอียดดูได้จากตาราง)

สรุปผลการทดสอบจากวิ่งบนถนนสภาพการใช้งานจริงมีดังนี้ ผลการทดสอบเมื่อไม่ติดตั้งอุปกรณ์ จากการทดสอบทั้งสิ้น10 ครั้ง ค่าเฉลี่ยอัตราการบริโภคเชื้อเพลิงอยู่ที่ 17.3 กม./ลิตร ในขณะที่ผลการทดสอบเมื่อติดตั้งอุปกรณ์ ค่าเฉลี่ยจากการทดสอบ 10 ครั้ง อยู่ที่ 16.8 กม./ลิตร เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังติดตั้งอุปกรณ์ เมื่อติดตั้งอุปกรณ์เข้าไปแล้วกลับมีอัตราการบริโภคเชื้อเพลิงสูงขึ้น 2.9 % (ในขณะที่ผู้ผลิตอ้างว่าอุปกรณ์นี้จะช่วยลดอัตราการบริโภคเชื้อเพลิงลงได้ถึง 15 %)





สำหรับผลการทดสอบบนไดนาโมมิเตอร์ เพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกัน ของรถยนต์ นิสสัน เอนวี วิงโรด 1.6 ลิตร ได้กำหนดขั้นตอน คือ 1. ใช้น้ำมันเบนซินออคเทน 95 จำนวน 1 ลิตร จากปั๊มน้ำมันเดียวกัน 2. บังคับให้ลิ้นเร่งเปิดสุด 3. ใช้เกียร์ 3 4. บังคับให้รอบเครื่องยนต์หมุนคงที่ 4,000 รตน. ภายใต้ข้อกำหนดข้างต้น โดยใช้ไดนาโมมิเตอร์จำลองสภาวะการใช้งานบนถนน ด้วยการเพิ่มความฝืดให้กับ โรลเลอร์ 60 กก. ซึ่งเป็นลักษณะเดียว กับการขับรถขึ้นเนิน และ 5. อุณหภูมิ ขณะทำการทดสอบอยู่ที่ 39.0- 40.2 องศาเซลเซียส ความชื้น 32-33 %

การทดสอบเพื่อหาระยะทาง ก่อนและหลังติดตั้งอุปกรณ์ ซึ่งได้ทำการทดสอบสลับกัน เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเครื่องยนต์ และความข้นของน้ำมันเครื่องขณะทำการทดสอบ โดยแบ่งการทดสอบเป็น 3 ช่วง ซึ่งแต่ละช่วงเป็นการทดสอบโดยติดตั้งอุปกรณ์และไม่ติดตั้งอุปกรณ์ ซึ่งให้ผลออกมาเป็นระยะทางดังต่อไปนี้

ช่วงที่ 1 ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ จุน้ำมัน 1 ลิตร ได้ระยะทาง 3,415 เมตร จากการติดตั้งอุปกรณ์ น้ำมัน 1 ลิตร วิ่งได้ระยะทาง 3,422 เมตร (หลังติดตั้งระยะทางเพิ่ม 7 เมตร คิดเป็น 0.20 %)
ช่วงที่ 2 ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ จุน้ำมัน 1 ลิตร ได้ระยะทาง 3,424 เมตร และเมื่อติดตั้งอุปกรณ์ น้ำมัน 1 ลิตร ได้ระยะทาง 3,423 เมตร (หลังติดตั้งระยะทางลดลง 1 เมตร คิดเป็น-0.03 %)
ช่วงที่ 3 ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ น้ำมัน 1 ลิตร ได้ระยะทาง 3,463 เมตร และเมื่อติดตั้งอุปกรณ์ น้ำมัน 1 ลิตร ได้ระยะทาง 3,441 เมตร (หลังติดตั้งระยะทางลดลง 22 เมตร คิดเป็น-0.63 %)
สรุปผลการทดสอบเมื่อติดตั้งอุปกรณ์ จากการทดสอบทั้งสิ้น 3 ครั้ง ค่าเฉลี่ยอัตราการบริโภคเชื้อเพลิงอยู่ที่ 3.428 กม./ลิตร ในขณะที่ผลการทดสอบเมื่อไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ ค่าเฉลี่ยจากการทดสอบ 3 ครั้ง อยู่ที่ 3.434 กม./ลิตร เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังติดตั้งอุปกรณ์ เมื่อติดตั้งอุปกรณ์เข้าไปแล้วกลับมีอัตราการบริโภคเชื้อเพลิงสูงขึ้น 0.17 % (ในขณะที่ผู้ผลิตอ้างว่าอุปกรณ์นี้จะช่วยลดอัตราการบริโภคเชื้อเพลิงลงได้ถึง 15 %)

จากการทดสอบทั้งเรื่องของการเพิ่มกำลัง และลดอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง จากการติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดน้ำมัน หรืออี-พลัส จึงฟันธง! ได้เลยว่า.....เป็นการโกหกระดับชาติกันเลยทีเดียว!!

สิ่งที่จะต้องติดตามและดำเนินการ คือ การถามหาความรับผิดชอบต่อประชาชนคนไทย ที่ถูกหลอกให้ซื้ออุปกรณ์อี-พลัสไปแล้ว แม้ว่าขณะนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ สุวิทย์ คุณกิตติ จะสั่งให้ระงับการผลิตและยุติการขาย รวมถึงผู้ว่าการวว. จะลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบแล้วก็ตาม แต่ไม่ใช่ปล่อยให้จบไปอย่างเงียบๆ เช่นนี้ โดยประชาชนที่จ่ายเงินซื้อไปแล้ว ต้องกลายเป็นเหยื่อ!! เพียงเพราะความไว้วางใจต่อหน่วยงานรัฐเท่านั้น
โดยคุณ : xxx - ICQ : - [ 11 ส.ค. 2004 , 21:06:55 น. ]

ตอบ คนที่ 1
โดยทฤษฏีน่าเชื่อว่า E-Plus ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องให้สูงขึ้นและประหยัดขึ้นได้ แต่ที่โดนด่าเพราะเห็นผลดี ที่แตกต่างจากของเดิมน้อยมาก และใช้เวลานานกว่าจะคุ้ม และ E-plus ดันมีอายุการใช้งานคือมันจะเสียก่อนคุ้มทุน ข้อแย่ของผู้ผลิตคือโฆษณาเกินความจริงมากไปหน่อย ไม่ใช่ว่ามันเป็นไปไม่ได้

E-plus จะใช้หลักการเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้แบบเดียวกับพวกที่ฉีดไนตรัส ถ้าใครเคยศึกษาไนตรัสบ้างจะรู้ว่ามันเพิ่มประสิทธิภาพมากแค่ไหน

e-plus ไม่ได้ผลมากเพราะมันสร้าง อ๊อกซิเจนโมเลกุลเดี่ยวน้อยและควบคุมไม่ได้ ขณะที่การฉีดไนตรัส อ๊อกไซด์ควบคุมปริมาณได้และใส่อ๊อกซิเจนโมเลกุลเดี่ยวเข้าไปแบบเน้นๆ แต่ที่เข้าเรียกว่าไนตรัส เพราะเขาอัดก๊าซไนโตรเจนผสมเข้าไปด้วย เหตุผลคือไม่มีใครควบคุมการระเบิดของอ๊อกซิเจนได้ เขาจึงอัดไนโตรเจนเข้าไปกดอ๊อกซิเจนไว้อีกทีเพื่อไม่ให้มันเข้าไปในห้องเผาไหม้มากเกินไปและระเบิดจนเครื่องพัง การฉีดไนตรัสไม่ช่วยประหยัดแต่เพิ่มพลังแบบสุดยอดในระยะเวลาสั้นๆ

การติดตั้งไนตรัสก็แบบเดียวกับ E-plus คือเจาะที่ท่อร่วมไอดีและแหย่หัวฉีดไนตรัสเข้าไป และระบบของมันจะฉีดอ๊อกซิเจนโมเลกุลเดี่ยวเข้าไปในห้องเผาไหม้ผ่านทางไอดี หรือ อัดเข้าไปตรงๆที่ห้องเผาไหม้เลย

ลองเสริชคำว่า NOS System มีข้อมูลเยอะเกี่ยวกับเจ้านี่
โดยคุณ : Big [ 13 ส.ค. 2004 , 07:18:06 น.]

ตอบ คนที่ 2
อย่างนี้ อาจารย์คนที่เป็นคนคิด ออกมาบอกว่าได้ใช้แล้วประหยัดกว่า 15% เอาอะไรมาพูด
โดยคุณ : fint [ 13 ส.ค. 2004 , 11:12:59 น.]

ร่วมเสนอแนะความคิดเห็น....
กรุณาคลิ๊ก Post message เพียงครั้งเดียว
อย่ากดยกเลิกกลางคัน อันจะเป็นเหตุให้ตัวเลขกระทู้ไม่ตรงได้ครับ 
จาก : *
email :
icq :
Username :
Password : สมัครสมาชิก
รูปภาพ :
ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้นครับ(ไม่เกิน 50K)

รายละเอียด
Icon new Icon old
*
*

กรุณาคลิ๊ก Post message เพียงครั้งเดียว
อย่ากดยกเลิกกลางคัน อันจะเป็นเหตุให้ตัวเลขกระทู้ไม่ตรงได้ครับ