www.VlovePeugeot.com - Please Ctrl+D Bookmark Now!

VlovePeugeot.com Webboard


มาปรับปรุงระบบไฟฟ้าของ Peugeot 405 กันเถอะ
มาปรับปรุงระบบไฟฟ้าของ Peugeot 405 กันเถอะ

สำหรับ405 หัวฉีดทุกรุ่น มีข้อแนะนำดังนี้ครับ
ให้เดินสานดิน(กราวด์)เพิ่มจากเดิม เนื่องจากเครื่องหัวฉีดทุกรุ่น ทำงานด้วยคำสั่งจากคอมพิวเตอร์(ECU)ในการจ่ายน้ำมันและควบคุมระบบไฟต่างๆของเจ้า 405

หลักการของสายดิน(กราวด์)
ในการออกแบบวงจรไฟฟ้าใดๆ กราว์ดต้องเป็นมีสถานะเป็นจุดอ้างอิงทางไฟฟ้าที่เป็นจุดเดียวกันเท่านั้น จากความเป็นจริง ของ 405 หัวฉีดทุกรุ่นมีท่อร่วมไอดีเป็นพลาสติก และท่อไอดี(มาจากกรองอากาศ)ก็เป็นพลาสติก ทำให้กราวด์ที่ลิ้นปีกผีเสื้อไม่มีสถานะเป็นกราวด์ (ในระบบนี้ กราวด์ มีศักดิไฟฟ้าเป็นศูนย์จากขั้วลบของแบต) ดังนั้นต้องเดินสายกราวด์จากขั้ว-แบตมาที่ลิ้นปีกผีเสื้อ
จุดที่สอง จากคอมพิวเตอร์(ECU)มาที่ขั้ว - ของแบต
จุดที่สาม จากขั้ว-แบตมาที่เสื้อเครื่องยนต์เพื่อให้เป็นจุดอ้างอิงเดียวกันทั้งระบบเครื่องยนต์
จุดที่สี่ จากขั้ว-แบตมาที่ตัวถังรถยนต์ โดยต้องขูดสีของตัวถังรถให้ถึงเหล็กด้วย
จุดที่ห้า เปลี่ยนหางปลาที่ขั้วของไดชารต์ให้เป็นทองแดงด้วยครับ
ข้อแนะนำ ควรใช้ขั้วต่อเป็นทองแดงเท่านั้น ขั้วต่อที่เป็นทองเหลืองจะเพิ่มความต้านทานให้ระบบกราวด์ และจะทำให้ระบบนี้ไม่มีค่าเป็น ศูนย์ ตามต้องการ
ควรใช้สายทองแดง ที่มีขนาดหน้าตัด 4.00 มมขึ้นไป

หลังจากทำตามขั้นตอนข้างบนคุณจะพบสมถนะของ เจ้า Peugeot โดยต้องสามารถเร่งได้ถึง 7000 RPM จน ECU สั่งลดการจ่ายน้ำมันครับ ไฟใหญ่หน้ารถต้องสว่างขึ้น แอร์จะเย็นขึ้น เสียงเครื่องยนต์เดินเรียบขึ้น ระดับการกวนจาก Noise สำหรับวิทยุลดลง

ขอให้มีความสุขในการขับ Peugeot และให้ให้มีความสุขวันปีใหม่2548นี้ครับ
โดยคุณ : alexander - alexander ICQ : - [ 21 ธ.ค. 2004 , 14:29:22 น. ]

ตอบ คนที่ 2
ในฐานะที่ผมเป็นวิศวกรอีเลคทรอนิกส์คนนึง ผมขอออกความเห็นเกี่ยวกับข้อแนะนำข้างต้นว่าถูกต้อง แต่ไม่ทั้งหมดครับ กล่าวคือหัวฉีดแต่ละหัว เป็นโซลินอยด์วาล์วที่มีไฟบวกมาเลี้ยงขั้วหนึ่งอยู่แล้วหลังการบิดกุญแจ ON โดยจะถูกควบคุมจาก ECU ที่เป็นตัว Sink Current จากอีกขั้วหนึ่งของโซลินอยด์ ตามจังหวะการจ่ายน้ำมันเป็น Square Wave Pulses ไม่มีการลงกราวนด์ที่รางหัวฉีดหรือท่อร่วมไอดีแต่ประการใดครับ และที่ลิ้นปีกผีเสื้อก็ไม่จำเป็นที่ต้องเป็นโลหะเพราะไม่มีการลงกราวนด์ที่นี่เช่นกันครับ เซนเซอร์ลิ้นปีกผีเสื้อของ SRi เป็นแบบตัวต้านทานปรับค่าได้ตามองศาการเปิดลิ้น (Throttle Potentiometer) จะมีค่า Reference Voltage ระดับ TTL คือ 5 Volt โดยจะส่งผลการเปลี่ยนแปลงโวลเทจกลับไปที่ ECU เป็นแบบ Closed Loop ไม่มีการลงกราวนด์ ส่วนเซนเซอร์ลิ้นปีกผีเสื้อของ Mi16 เป็นแบบสวิทช์ (Throttle Position Switch) ที่บอกสถานะการเปิดลิ้นแบบปิดสุดหรือเปิดสุดเท่านั้นครับ โดยมีการส่งคืนค่าโวลเทจกลับไปหา ECU เช่นกันครับ ไม่มีการลงกราวนด์ที่นี่เช่นกัน รวมทั้งเซนเซอร์ตัวอื่นๆเช่น Manifold Absolute Pressure ของ SRi หรือ Air Flow Meter ของ Mi16 ก็ไม่ต้องใช้กราวนด์บริเวณที่มันติดตั้งอยู่เช่นกันครับ สำหรับกราวนด์ของ ECU มีความจำเป็นต้องมีครับ แต่อย่างไรก็ตาม เป็นเพียงกราวนด์กระแสต่ำๆที่ไม่จำเป็นที่ต้องใช้สายไฟเส้นใหญ่ กรณีที่สายกราวนด์ของ ECU มีปัญหาจากการเก่า กรอบ (ซึ่งพบน้อยมาก) จะทำให้เกิด ECU Fault Code เฉพาะที่บอกความผิดพลาดของค่าโวลเทจอยู่แล้วครับ
อย่างไรก็ตามในระบบไฟแรงสูงเช่น ไฟจุดระเบิด และไฟเลี้ยงระบบไฟฟ้าต่างๆของรถ เช่นไฟส่องสว่าง, แตร,พาวเวอร์แอมป์, มอเตอร์ต่างๆ การมีกราวนด์ที่เพียงพอเป็นสิ่งจำเป็นครับ รถใหม่ถูกออกแบบให้มีขนาดสายกราวนด์ที่พอเพียงอยู่แล้ว ดังนั้นถ้าสายไฟและจุดต่ออยู่ในสภาพดี การเพิ่มสายกราวนด์จะไม่ส่งผลอะไรนอกจากความสวยงาม (สำหรับบางท่าน) ครับ แต่ถ้าไม่แน่ใจในสภาพสายกราวนด์เดิม การเพิ่มสายกราวนด์ก็จะช่วยได้มากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพสายแต่เดิมครับ จุดที่ผมพบว่ามีปัญหาเรื่องกราวนด์บ่อยๆของ 405 คือจุดลงกราวนด์แผงไฟท้าย และ ไฟหน้าครับ กรณีนี้จะเพิ่มสายกราวนด์กี่เส้นก็ไม่ช่วยอะไรครับ จึงควรแก้ไขให้ตรงจุดจึงจะเห็นผลครับ อีกอย่าง การเดินสายกราวนด์ที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดปัญหา Ground Loop ตามมานะครับ อธิบายตรงนี้คงยาวครับ โชคดีครับ
โดยคุณ : ฤทธิ์ อำมหิต - ฤทธิ์ [ 21 ธ.ค. 2004 , 18:51:54 น.]

ตอบ คนที่ 3
คุณฤทธิ์ครับที่พบปัญหาคือแผงกราวนด์ไฟท้าย405 ต้องทำไงบ้างครับ
โดยคุณ : สิงห์ขาว - สิงห์ขาว [ 21 ธ.ค. 2004 , 21:05:55 น.]

ตอบ คนที่ 4
คุณฤทธิ์ครับ ช่วยอธิบายต่อได้ไหมครับ เรื่อง ground loop ผมเชื่อว่าขณะนี้มีผู้สนใจเรื่องการเดิน ground wire อยู่มาก ตัวผมเองใช้ citroen xantia ครับ ที่ board citroen เองก็มีคนพูดเรื่องนี้พอสมควร ผมก็อยากทำครับ แต่ก็ยังหาข้อมูลเกี่ยวกับระบบนี้อยู่ จึงอยากขอความรู้ทางเทคนิควิชาการจากคุณฤทธิ์เพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจครับ อยากที่บอกครับ ผมเชื่อครับว่ามีคนสนใจเรื่องนี้กันมาก โดยเฉพาะในช่วงนี้ครับ ขอบคุณมากครับ
โดยคุณ : เหน่ง [ 22 ธ.ค. 2004 , 07:35:19 น.]

ตอบ คนที่ 5
ผมมีความเห็นตรงกันกับ ท่านที่ 2 (คุณฤทธิ์ อำมหิต) " ไม่มีการลงกราวนด์ที่รางหัวฉีดหรือท่อร่วมไอดีแต่ประการใดครับ และที่ลิ้นปีกผีเสื้อก็ไม่จำเป็นที่ต้องเป็นโลหะ "

ระบบไฟแรงสูงเช่น ไฟจุดระเบิด และไฟเลี้ยงระบบไฟฟ้าต่างๆของรถ เช่นไฟส่องสว่าง, แตร,พาวเวอร์แอมป์, มอเตอร์ต่างๆ การมีกราวนด์ที่เพียงพอเป็นสิ่งจำเป็นครับ

โดยคุณ : ชาญชัย [ 22 ธ.ค. 2004 , 08:52:19 น.]

ตอบ คนที่ 6
1.ไม่ทราบว่า ECU ที่หัวฉีดจ่ายเป็นกระแสหรือเป็นโวลท์ 2. แสดงว่า ECU สร้าง supply ขึ้นมาใหม่โดยแปลงจาก 12โวลท์ อีกชุดเพื่อมาเลี้ยงวงจรประมวลหรือecu มันจึงไม่จำเป็นที่ลงกราวด์บริเวณหัวฉีด (ของเดิมพอแล้ว)commonคนชุดใช่ไหม ระหว่าง ecu กับ battery คุณฤทธิ์ช่วยอธิบายหน่อยนะ
โดยคุณ : ชา [ 22 ธ.ค. 2004 , 10:03:15 น.]

ตอบ คนที่ 7
ผมขอตอบคำถามคุณชานะครับ
1. ECU เป็นตัว Sink กระแสให้หัวฉีดครับ กล่าวคือเป็นตัวลงกราวนด์ผ่าน ECU ให้ขณะที่สั่งให้โซลินอยด์หัวฉีดทำงาน (จ่ายน้ำมัน) เป็นช่วงสั้นๆเป็น Square Wave Pulses ครับ โดยมี Duty Cycle เป็นตัวกำหนดการจ่ายมาก-น้อยในแต่ละครั้งขึ้นกับตัวแปรอื่นๆตามโปรแกรมที่ตั้งมาเป็น 3 Dimentional Map ครับ ไม่ได้มีการลงกราวนด์ที่รางหัวฉีดแต่อย่างใดครับ
2. ในวงจร ECU มีการสร้าง Power Supply อีกชุดในระดับ TTL คือ 5 Volts เพื่อเลี้ยงวงจร TTL Logic ภายใน และเป็นโวลเทจอ้างอิงสำหรับเซนเซอร์บางตัวเช่น Throttle Potentiometer (ของ SRi), TPS (ของ Mi16), AFM, ATS, CTS เป็นต้นครับ

อย่างไรก็ตาม ยังมีเซนเซอร์บางตัวที่ต้องลงกราวนด์บริเวณจุดที่มันติดตั้งอยู่ เช่น เซนเซอร์อุณหภูมิ (CTS), Knock Sensor ซึ่งจะมีการลงกราวนด์ผ่านเกลียวโลหะของมันเองผ่านพื้นที่โลหะของเครื่องยนต์ซึ่งแน่นหนาและเพียงพออยู่แล้วครับ
ป.ล. ออกซิเจนเซนเซอร์ไม่ได้ลงกราวนด์ผ่านท่อไอเสียนะครับ
โดยคุณ : ฤทธิ์ อำมหิต - ฤทธิ์ [ 22 ธ.ค. 2004 , 13:18:06 น.]

ตอบ คนที่ 8
ขอบคุณ คุณฤทธิ์มากอ่านแล้วเข้าใจดีที่บอก จะมาใช้บริการใหม่แต่ชื่อโหดน่ากลัวจัง
โดยคุณ : ชา [ 22 ธ.ค. 2004 , 19:47:05 น.]

ตอบ คนที่ 9
Ground loop ที่เกิดขึ้นตอนฝึกต่อ Audio Amplifier สมัยเรียนหนังสือทำให้ Power Transistor ตัวใหญ่ๆยังพังไปหลายตัว เอ..แล้วถ้าเกิด Ground loop จากการต่อ Ground Wire ที่กำลังเป็นที่นิยมแทบทุกเวปบอร์ดในขณะนี้ ไอ้เจ้า ไอซี,ทรานซิสเตอร์ ตัวเล็กตัวน้อยในกล่อง ECU มันจะเหลือมั๊ยเนี่ย คุณฤทธิ์ อำมหิต
โดยคุณ : GR [ 22 ธ.ค. 2004 , 21:30:30 น.]

ตอบ คนที่ 10
พอดีว่างๆ...ผมบอกแทนคุณฤทธิ์ก่อนนะ ในวงจรเครื่องเสียงที่ power transistor เสียส่วนมาก ถ้าอุปกรณ์ไม่เสียหรือต่อขั้วไม่ผิด,ปริ้นขาดช็อต เพราะมันเกิดการออสซิเลตเนื่องจากมันมีการป้อนกลับ และความถี่เข้ามาเกี่ยวข้องรายละเอียดปีกย่อยมันเยอะ....กรณีecuในรถยนต์ ถ้าต่อกราวด์ลงหลายจุดไม่ต้องกล้วecu พังหรอก แต่มันเปลืองสายป่าวๆ ecu มันกินกระแสต่ำ มีแสงสว่างกับมอเตอร์เท่านั้นที่กินกระแสสูง แต่อย่าถอดขั้วแบตก็แล้วกันเวลาเครื่องติด ecu,มีโอกาสพังสูงเพราะเราไม่รู้ว่าecu ทนแรงดันสูงสุดเท่าไรแรงดันไฟฟ้าจากไดชาร์จมันขึ้นแน่นอน เดี๋ยวรอคุณฤทธิ์มาเสริมต่อ
โดยคุณ : ชา [ 23 ธ.ค. 2004 , 10:45:25 น.]

ตอบ คนที่ 11
ขอบคุณเพื่อนๆชาวเปอร์โยต์ครับทำให้ได้รู้ระบบไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเยอะเลยครับ นี่แหละสาระประโนชน์ที่แท้จริงของเวปเบอร์ด ขอแบ่งปันประสบการณ์ในการปรับปรุงครั้งนั้คครับ โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้เปอร์โยต์ครับ
การปรับปรุงที่เสนอมานี้ได้มาจากการทดลองและใช้งานจริงมาแล้ว 4 คันและเห็นผลไปในทางที่ดีขึ้นทั้งหมด ที่สำคัญโดยลงทุนไม่เกิน 350 บาทเองครับ นับว่าคุ้มค่าน่าลองทำสำหรับผู้ที่มีเวลาลงมือทำ และใช้เวลาไม่เกิน 1ชั่วโมงครึ่งครับ อยากให้ผู้ใช้เปอร์โยต์ทดลองและตัดสินใจด้วยตัวเองหลังจากได้ทดลองทำการปรับปรุงครับ ขอให้สนุกในการขับเปอร์โยต์ และขอให้มีความสุขในปีใหม่นี้ครับ
โดยคุณ : alexander - alexander [ 23 ธ.ค. 2004 , 20:09:25 น.]

ร่วมเสนอแนะความคิดเห็น....
กรุณาคลิ๊ก Post message เพียงครั้งเดียว
อย่ากดยกเลิกกลางคัน อันจะเป็นเหตุให้ตัวเลขกระทู้ไม่ตรงได้ครับ 
จาก : *
email :
icq :
Username :
Password : สมัครสมาชิก
รูปภาพ :
ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้นครับ(ไม่เกิน 50K)

รายละเอียด
Icon new Icon old
*
*

กรุณาคลิ๊ก Post message เพียงครั้งเดียว
อย่ากดยกเลิกกลางคัน อันจะเป็นเหตุให้ตัวเลขกระทู้ไม่ตรงได้ครับ