ตอบ คนที่ 3
ความเห็นนะครับ อาจจะรุนแรงไปหน่อย
1.คนไทยส่วนใหญ่เวลาซื้อของจะไม่ค่อยศึกษาหาข้อมูลอย่างแท้จริง โดยเฉพาะซื้อรถ ดังนั้นส่วนใหญ่จึงถูกหลอกให้ซื้อของโหลตาม market trend ซึ่งใช่ว่าของโหลจะไม่ดี แต่ตามการตลาดอาจกล่าวได้ว่า "ไม่มีของโหลใดที่ผลิตมาเพื่อเป็นสิ่งที่ดีที่สุด" เนื่องจากไม่มีทั้ง economy of scale และ economy of scope แต่ของโหลจะถูกผลิตมาเพื่อ reasonable value for cost-benefit of its market ครับ เช่น ถ้าคุณเป็นคน American คุณอาจจะบอกว่า Toyota มี product value มากที่สุด แต่ถ้าคุณเป็นคนฝรั่งเศสหรืออังกฤษจะบอกว่า PG ครับ
2.คนไทยบางคนเวลาซื้อของมักจะไม่ประมาณตน ชอบเอาหน้าใหญ่เข้าว่า ทำให้มีหลายครั้งที่ซื้อได้ แต่ดูแลรักษาไม่ได้ รถก็เช่นกันครับ ถ้าคุณขับรถที่อะไหล่แท้มีอายุการใช้งานซัก 5 ปี แต่ราคา 50,000 บาทกับอะไหล่ปลอมอายุการใช้งาน 1ปีราคา 10,000 บาท ถามว่าคุณจะซื้ออะไร แต่เคยทำวิจัยในสิ่งที่คล้ายๆกันนี้พบว่าคนไทยส่วนใหญ่เลือกข้อ 2 เนื่องจากมีความคาดหวังว่าคุณภาพไม่น่าจะต่างกันมากและเชื่อว่าเสียทีละน้อยดีกว่าเสียมาก ซึ่งเป็นที่มาของพฤติกรรมเงินผ่อน และฟองสบู่บัตรเครดิตนั่นเอง
3.เรื่องศูนย์บริการห่วย มีทั้งส่วนจริงและไม่จริง ขึ้นอยู่กับว่าคตุณเป็นลูกค้าที่รักษาสิทธิของตนแค่ไหน ผมใช PG มากว่า 20 ปี 5 รุ่น ยังไม่เคยโนศูนย์ฟันเลย โดยอาศัยหลักซุ่นวู่ครับ เนื่องจากผมมองว่าศูนย์มีหน้าที่บริการส่วนปัญหารถเราต้องสามารถวิเคราะห์เองได้ครับ แต่ไม่มีเครื่องมือและอะไหล่เลยต้องเข้าศูนย์เท่า่นั้นเอง และอยากบอกว่ารถกลุ่มข้างบนทุกยี่ห้อถ้าได้รับการซ่อมอย่างถูกวิธีไม่มีมั่วตามอู่ ผมว่าจะเป็นรถที่ใช้งานดีมากเนื่องจากงาน engineering ของรถเหล่านี้ดีมากๆ ตั้งแต่ตอน design แล้วครับ
4.เรื่องการตลาดไม่ดีน่าจะจริงครับ เนื่องจาก dealer และ importer รถเหล่านี้วาง product position ไม่ชัดเจน ดังนั้นการที่ define ตัวเองไม่ได้ในธุรกิจก็เหมือนกับการรอวัน decline นั่นเอง และเมื่อมองเชิงกลยุทธแล้วการที่ไม่ใช่ market leader (dominant) และจะอยู่รอดได้ต้องเป็น niche ครับ แต่ niche ไม่ใช่หมายถึงอย่างที่ PG กำลังทำปัจจุบันนะครับ ในเมื่อ brand ของ PG ขายในระดับ premium ของเมืองไทยยังไม่ได้ต้องใช้การตลาดแบบ local niche ครับเหมือนที่ VW passat tdi ใช้ในการเจาะตลาดรถเก๋งดีเซลในราคาที่สมเหตุสมผล เป็นต้น
4.trend ของ automotive market กำลังกล่าวไปสู่ global player กล่าวคือถ้าสายป่านไม่ยาวจริง จะแข่งขันยาก เชื่อหรือไม่ว่าการลงทุนเป็น dealer brand อย่าง toyota แพงกว่ารถยุโรปส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ ดังน้้นจะเห็นบริษัทแม่เข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาด local มากขึ้น เช่น BMW TH เข้ามาเล่นเองทำให้ยอด BMW เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ลองเข้าไป check ค่าอะไหล่ที่ศูนย์ BMW แล้วจะพบว่าอะไหล่ E46 ราคาถูกลงกว่า 30% จากเมื่อก่อน และอยู่ในขั้นที่จ่ายได้ เนื่องจากได้เรื่อง economy of scale เข้ามาช่วย ส่วน E39, E60 รวมไปถึง 7ERs แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงคือยังแพงแบบน่าเกลียดอยู่เหมือนเดิม เมื่อเทียบกับราคาอะไหล่ premium car รายอื่น อย่างกรณีของ PG ที่สามารถทำยอด 406 ได้ประมาณเดือนละ 30-50 คันเนื่องจากบริษัทแม่เขามาช่วยเรื่องกลไกราคา และมี CKD ดังนั้นถ้าบริษัทแม่ของรถเหล่านี้เข้ามาทำเองจะทำให้ brand มี competancy มากขึ้น บางทีการเป็นผู้เล่นที่ไม่เก่งยอมให้คนอื่นเล่นแทนโดยเราร่วมเป็นเจ้าของจะเกิดประโยชน์เชิงบูรณาการกว่าเหมือนที่ บางตระกูลยอมให้ Nissan เข้ามาเล่นแทนนั่นเอง
ย้ำอีกทีนะครับว่าเป็นความเห็นส่วนหนึ่งของผมเท่านั้นนะครับ โดยคุณ : 605user
[ 11 ม.ค. 2005 , 00:48:49 น.]
|