ตอบ คนที่ 1
-มั่นใจวิธีจับลูกค้าต้องกาขายเจอคนต้องการซื้อทำราคารถเก่าสูงขึ้นได้
-จัดทัพผลิตภัณฑ์ใหม่เลิกนำเข้าเอ็มพีวี 807 และรถขนส่งขนาดเล็ก พาร์ทเนอร์ เน้นขายแต่รถเก๋งและสเตชั่นแวกอน
-เมินแคมเปญดาวน์ต่ำ ดอกเบี้ย 0% เพราะจะส่งผลเสียต่อแบรนด์ในอนาคต
ปัญหาหนึ่งของรถยนต์เปอโยต์ในเมืองไทยคือ ราคาขายต่อ ที่ตกลงจากราคาซื้อขายป้ายแดงค่อนข้างมาก ทำให้การขยายตัวในช่วงที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับรถยนต์จากยุโรปค่ายอื่นๆ และเป็นปัญหาหนึ่งที่รถยนต์หลายๆ ค่ายพยายามแก้ปัญหามาโดยตลอด เพราะราคาซื้อขายต่อมือ 2 ย่อมส่งผลต่อความเชื่อมั่นของกลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้อรถใหม่
ล่าสุดบริษัท ยนตรกิจ ยูโรเปี้ยน ออโตโมบิลส์ จำกัด ผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์เปอโยต์ในเมืองไทย จึงมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหาราคาขายต่อรถเปอโยต์มือ 2 ด้วยการ เป็นตัวกลางในการนำลูกค้าใช้รถเปอโยต์ที่ต้องการขายต่อ มาเจอกับกลุ่มลูกค้าที่สนใจรถยนต์เปอโยต์มือ 2 เพื่อเป็นการดันราคาไม่ให้ตกลงมากเกินไป
พสุพงษ์ ลีนุตพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูโรเปี้ยน ออโตโมบิลส์ จำกัด บอกว่า การที่ราคารถเปอโยต์มือ 2 ตกลงไปมากในช่วงที่ผ่านมาเป็นเพราะ ลูกค้าส่วนใหญ่เมื่อต้องการเปลี่ยนรถใหม่ นำรถที่มีอยู่ไปขายต่อให้กับเตนท์รถมือ 2 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่มีความต้องการเปอโยต์จริงๆ และเมื่อไม่เป็นที่ต้องการของตลาดรถมือ 2 ราคาก็จะถูกกดลงไปมาก
ผมมั่นใจว่า เมื่อลูกค้าของเราได้นำรถมาขายให้กับคนที่ต้องการใช้เปอโยต์จริงๆ จะทำให้ราคาขายต่อดีขึ้น เมื่อลูกค้าขายรถได้ราคาผมก็สามารถขายรถใหม่ได้ ที่ผ่านมาเราได้ลองทำมาแล้วและได้ผลดี ตัวอย่างเช่น รุ่น 405 ปี 2000 ปัจจุบันราคาขายต่ออยู่ที่ 500,000 เศษๆ ซึ่งเราคิดว่า 5 ปี ราคาหายไป 50% อยู่ในสถานะที่พอรับได้ เมื่อเทียบกับรถญี่ปุ่นบางรุ่น ซื้อมาราคาล้านห้า ในปี 2003 แต่ปัจจุบันราคาตกลงเหลือแค่ 9 แสนกว่าๆ พสุพงษ์กล่าว
อย่างไรก็ดีกลยุทธ์การดันราคารถมือ 2 ดังกล่าว ทางยูโรเปี้ยนจะไม่ดำเนินการเป็นทางการ แต่จะใช้เว็บไซต์ของกลุ่มผู้ใช้รถเปอโยต์เป็นตัวกลาง ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 10,000 คน แต่สามารถใช้โชว์รูมเปอโยต์เป็นแหล่งพบปะกันได้ พสุพงษ์บอกว่า เป็นการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยนรถโดยบริษัทไม่มีรายได้จากการดำเนินการดังกล่าว และคงจะไม่ถึงกับเปิดเป็นส่วนให้บริการรถมือ 2 เพราะไม่ต้องการหารายได้จากการซื้อขายดังกล่าว
พสุพงษ์ บอกว่า หลังจากนี้บริษัทจะทำตลาดรถเปอโยต์ด้วยการนำเข้าทั้งหมด จะไม่มีการประกอบในประเทศเหมือนบางรุ่นที่ผ่านมา เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่า จะได้รถยนต์ที่มีคุณภาพและออฟชั่นเทียบเท่ากับที่ฝรั่งเศษ พร้อมกับการปรับปรุงโชว์รูมและศูนย์บริการที่มีอยู่ทั้งหมดให้เป็นไปตามคอนเซ็ปต์ Blue Box แบบเดียวกับโชว์รูมทั่วโลก โดยจะใช้เงินลงทุนสาขาละประมาณ 4-5 ล้านบาท ในการปรับรูปโฉมครั้งนี้
โชว์รูมแบบ Blue Box ที่ว่านี้ จะใช้โทนสีน้ำเงินตกแต่งทั้งหมด และออกแบบให้ดูทึบ แตกต่างจากโชว์รูปรถยนต์ทั่วไปที่เน้นความโปร่ง เพื่อดึงดูดความสนใจลูกค้า โชว์รูมรูปแบบใหม่นี้จะเริ่มจากสาขาสุรวงศ์เป็นแห่งแรก และจะใช้เวลาประมาณ 1- 2 ปีในการเปลี่ยนแปลงโชว์รูมที่มีอยู่ทั้งหมดทั้วประเทศ
ขณะที่ด้านบริการจะมีการจัดตั้งศูนย์ CRM (Customer Relationship Management) เพื่อให้มีพนักงานคอยดูแลลูกค้ารถแต่ละคันอย่างใกล้ชิด เช่น เรื่องรถเสีย การซ่อมรถ หรือการคอยเตือนลูกค้าให้นำรถเข้ามารับบริการตามกำหนด รวมถึงการคอยติดต่อ แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงโปรโมชั่น และแคมเปญต่างๆ เหมือนกับเลขาส่วนตัว เป็นการให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยกำหนดให้พนักงาน 1 คน ดูแลลูกค้า 100 คัน ส่วนด้านผลิตภัณฑ์นั้น เปอโยต์ในเมืองไทยจะขายเฉพาะรถยนต์นั่ง ทุกประเภททั้ง 3, 4 และ5 ประตูในแบบสแตชั่นแวกอน และเลิกนำเข้ารถยนต์ประเภทเอ็มพีวี เช่นรุ่น 807 รวมถึงรถขนส่งขนาดเล็กอย่างพาร์ทเนอร์ที่มีเหลือในขณะนี้อีกกว่า 10 คันเมื่อขายหมดก็จะเลิกการนำเข้า โดยจะทางซีตรอง รถยนต์ฝรั่งเศสในกลุ่มยนตรกิจอีกแบรนด์หนึ่งเป็นผู้ทำตลาด
พสุพงษ์ เชื่อว่า การปรับกลยุทธ์ครั้งนี้ของเปอโยต์จะทำให้ยอดขายอยู่ในระดับปีละ 800 คันเป็นอย่างต่ำ แม้ว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้จะทำยอดขายได้เพียง 200 คัน แต่หลังการเปิดตัวเปอโยต์อีก 3 รุ่นในปีนี้ นำร่องโดยรุ่น 407 ในสัปดาห์นี้ จะทำให้เปอโยต์ทำยอดขายในปีนี้ได้ราว 800 คันตามที่ตั้งไว้
สิ่งที่เปอโยต์ประกาศชัดเจนคือการใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการขายในเรื่องการใช้แคมเปญดอกเบี้ย 0% หรือการฟรีเงินดาวน์เหมือนค่ายรถอื่นๆ เพราะเป็นกลยุทธ์ที่สร้างยอดขายได้แค่ช่วงสั้นๆ และเป็นผลเสียต่อแบรนด์มากกว่าผลดีในอนาคต
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 1 กรกฎาคม 2548 โดยคุณ : shamp
[ 9 ก.ค. 2005 , 16:04:19 น.]
|