www.VlovePeugeot.com - Please Ctrl+D Bookmark Now!

VlovePeugeot.com Webboard


แก๊ส แก๊ส แก๊ส แก๊ส แก๊ส......แก๊ส จ๋า แก๊ส
สวัสดีครับสมาชิกชมรมคนรักเปอร์โยต์แห่งประเทศไทยที่รัก

พิมพ์เป็นทางการมากเลย
ผมว่าน้ำมันตอนนี้คงจะยั้งไม่อยู่แล้ว ไม่ทราบว่าสมาชิกที่รักท่านใดได้เพิ่มเติมระบบการจ่ายเชื้อเพลิงเป็นแก๊สบ้างครับ ร่วมแชร์ความคิดเห็นกันหน่อย
และอยากให้การแชร์ความคิดเห็นครั้งนี้ จัดเป็นหัวข้อที่สมาชิกสามารถเห็นได้ชัด ชัด หน่อยก็ดีนะครับ ก็จึงอยากเรียนท่านเว็บให้ช่วยขึ้นเป็นหัวข้อนึงจะดีมากเลยครับ
โดยส่วนตัวก็ยังไม่ได้ติดครับ แต่หยุดขับวันธรรมดา อิ อิ

จบ (ขอบคุณสำหรับสมาชิกทุกท่านที่เข้ามาชมและแสดงความคิดเห็นหรือแนะนำซึ่งกันและกันด้วยดีนะครับ)
โดยคุณ : รุต - 505blue ICQ : - [ 6 ก.ย. 2005 , 12:56:20 น. ]

ตอบ คนที่ 1
เข้าไปดูข้อมูลมาจาก http://www.jeepunityclub.com/
ต้องขออนุญาตทาง jeep ด้วยนะครับ

ไลฟ์แอนด์ออลวีลไดร์ : ออฟโรด 2 เชื้อเพลิง

ชนินทร์ พงษ์เสือ
ในช่วงเวลาที่ราคาน้ำมันเบนซินเข้าใกล้ลิตรละ 25 บาทไปทุกขณะ แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ใช้รถยนต์ โดยเฉพาะรถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และดูจะเป็นเรื่องธรรมชาติ สำหรับตัวลุยเครื่องยนต์เบนซินทั้งหลาย ที่มักใช้เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ พละกำลังสูง จึงเป็นธรรมดาคำว่าประหยัดหรือ ?จิบ? จะไม่เคยปรากฏอยู่ ในพจนานุกรม ของรถยนต์เหล่านี้

บางคนอาจทนไม่ไหว ตัดสินใจกัดฟันขายตัวลุยเหล่านี้ทิ้งไปในราคาที่น่าใจหาย ขณะเดียวกันก็ยังมีอีกกลุ่มที่ใจรัก หรืออาจยังทำใจไม่ได้กับราคาขายต่อ ก็ตัดสินใจหันไปคบกับเครื่องยนต์ดีเซลแทน แน่นอน? ทางแยกเช่นนี้ยอมมีทั้งคำตอบที่ดีคือ ?ลงตัว? กับเครื่องยนต์ใหม่ ขณะที่อีกคำตอบก็คือ ?แย่กว่าเดิม? เพราะปัญหาที่เกิดตามมาจากการผสมข้ามพันธุ์ ดูจะทำท่าให้หนักใจมากกว่าภาระค่าน้ำมันเชื้อเพลิงจากเครื่องยนต์เดิมเสียอีก

แต่ทางออกไม่ได้มีเพียงทางเดียวครับ เพราะในต่างประเทศที่ผู้ใช้รถยนต์ต้องรับมือราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่แพงกว่าบ้านเรามานานแล้วนั้น มีทางออกสำหรับเรื่องนี้มานานแล้วครับ

bi-fuel : gasolin & lpg power
ใช่ครับ? ผมหมายถึง แอลพีจี (LPG : liquefied petroleum gas) ประเภทเดียวกับที่รถแท็กซี่ส่วนมากในบ้านเราใช้มานานร่วม 20 ปี หรือแก๊สหุงต้มที่เรารู้จักกันนั่นเอง

แอลพีจีคืออะไร
แอลพีจี คือเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งเกิดจากการผสมระหว่าง โพรเพนและบิวเทน ซึ่งเป็นอนุภัณฑ์จากการกลั่นน้ำมัน มีค่าออกเทนอยู่ที่ประมาณ 105 เมื่อนำมาใช้กับเครื่องยนต์เบนซินจึงไม่ต้องกังวลในเรื่องค่าออกเทนสำหรับเครื่องยนต์ที่แตกต่างกันทั้ง 91 และ 95

ก่อนจะสะกิดใจกับความเชื่อต่างๆ ในแง่ลบเกี่ยวกับรถยนต์ที่ใช้แก๊สนั้น ลองมาฟังเหตุผล ข้อดีที่ผมบอกว่าเป็นทางออกที่ลงตัว สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ดูก่อนครับ จากนั้นแล้วลองมาฟังเหตุผลที่แย้งเกี่ยวกับความเชื่อในแง่ลบของการใช้แก๊สกันนะครับ แล้วค่อยมาชั่งน้ำหนักของเหตุและผลกัน

ข้อดีที่สำคัญอย่างหนึ่งจนเป็นประเด็นที่ทำให้ต้องมาพูดถึงก็คือ ราคาของแก๊สแอลพีจีในขณะนี้ ภายใต้การช่วยเหลือของภาครัฐ จะทำให้ราคาต่อลิตรของแอลพีจีอยู่ที่ประมาณ 45% ของน้ำมันเบนซิน และหากปราศจากการช่วยเหลือแล้วก็น่าจะอยู่ที่ราว 60% ของราคาน้ำมันเบนซินครับ

แต่ในอีกมุมหนึ่ง การจะใช้แอลพีจีเป็นพลังงานให้กับเครื่องยนต์ เพื่อจะให้ได้ระยะทางเท่ากันนั้น แอลพีจี ที่มีการติดตั้งอย่างสมบูรณ์แบบ จะใช้ปริมาณมากกว่าเบนซินประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับชนิดและความสมบูรณ์ของระบบที่ติดตั้งเข้าไป

นั่นหมายความว่า เมื่อเฉลี่ยกันอย่างหยาบๆ แล้ว เครื่องยนต์ที่ใช้แอลพีจี ในระยะทางเท่ากับน้ำมันเบนซินจะประหยัดกว่ากันราว 40% คำนวณกันอย่างง่ายๆ ก็คือ หากคุณมีภาระค่าใช้จ่ายเรื่องค่าน้ำมัน 1 หมื่นบาท/เดือน เมื่อเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์เชื้อเพลิง 2 ระบบอย่างเบนซิน และแอลพีจี จะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านนี้ ลดลงเหลือเพียงเดือนละ 6,000 บาทครับ

ทั้งหมดที่ว่าข้างต้น เรียกว่าเป็นข้อดีได้ไหมครับ ?
แล้วอะไรคือข้อเสีย หรือในอีกมุมคือเป็นเรื่องของความเชื่อที่คิดว่าเป็นข้อเสียครับ
ใช้แก๊สแล้วเหม็น กลิ่นชอบรั่วเข้ามาในรถ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ?
โดยคุณสมบัติเฉพาะตัวของแอลพีจี เป็นเชื้อเพลิงที่เครื่องยนต์เผาไหม้ได้บริสุทธิ์กว่าน้ำมันเบนซินครับ จึงมีไอเสียออกมาน้อยกว่าการเผาไหม้ทั้งจากเครื่องยนต์เบนซิน และดีเซล ถ้าจะเปรียบเทียบให้ชัดเจนไปเลยก็คือ เปรียบเทียบปริมาณไอเสียจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ต่างๆ เป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ จะได้ดังนี้ครับ
คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์
เบนซิน 100 100 80
ดีเซล 100 100 10
แอลพีจี 80-85 65 5

คราวนี้เห็นกันชัดๆ ครับว่า ปริมาณแก๊สพิษที่มากับไอเสียจากการเผาไหม้นั้น แอลพีจี มีน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด นี่ยังไม่รวมถึงอนุภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพวกฝุ่นละอองที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ หรือสารอนุภัณฑ์ประเภทไฮโดรคาร์บอนและมีผลต่อปอดอย่างรุนแรงถึงขั้นก่อให้เกิดมะเร็งภายในเวลาไม่กี่ปี ซึ่งแอลพีจีปล่อยสารพวกนี้ออกมาแบบที่เรียกว่าแทบจะวัดค่าไม่ได้เลยทีเดียวครับ

สาเหตุหนึ่งที่ผู้ขับรถยนต์ที่ติดตั้งระบบแอลพีจี มักยืนยันว่าสุขภาพไม่ค่อยดี อันเป็นผลมาจากการขับรถยนต์ใช้แก๊สนั้น หากพิจารณากันให้ถ้วนถี่คงต้องย้อนถามกลับว่า สภาพรถยนต์ที่ติดตั้งระบบแก๊สเหล่านั้นมีความสมบูรณ์เพียงใด

คำว่าสมบูรณ์ในที่นี้ ผมหมายถึงทั้งความสมบูรณ์ของตัวรถ และความสมบูรณ์ของระบบการใช้แก๊สที่ติดตั้งเข้าไป ซึ่งเราจะพูดถึงกันภายหลังอีกครั้งครับ

ไลฟ์แอนด์ออลวีลไดร์ : ออฟโรด เชื้อเพลิง 2 ระบบ (2 )

ชนินทร์ พงษ์เสือ
พูดถึงความสมบูรณ์ของตัวรถ ก็คงต้องย้อนไปว่า ที่ผ่านมารถยนต์ใช้เชื้อเพลิงก๊าซแอลพีจี ส่วนมากเป็นแท็กซี่ ใช้งานกันแบบ 24 ชั่วโมงต่อวัน, 7 วันต่อสัปดาห์, 52 สัปดาห์ต่อปี พูดง่ายๆ ว่าจะมีโอกาสหยุดพักก็ต่อเมื่อพัง หรือเกิดอุบัติเหตุเท่านั้น อีกทั้งส่วนมากยังเป็นการเช่าจากอู่แท็กซี่เป็นส่วนใหญ่ แน่นอนว่า เป้าหมายการทำธุรกิจ คือกำไร และรถแท็กซี่ก็เป็นประเภท เจ้าของไม่ได้ขับคนขับไม่ใช่เจ้าของ

ความสมบูรณ์ของอุปกรณ์มาตรฐานของตัวรถอย่างเช่น ขอบยางฝากระโปรงหลังและขอบยางประตูรถที่เสื่อมสภาพ ทำให้ไอเสียจากภายนอกย้อนเข้ามาในตัวรถ ก็เพียงพอแล้ว ที่จะทำให้ผู้ขับขี่รถยนต์คันนั้นซึ่งต้องใช้ชีวิตอยู่บนท้องถนนกว่าวันละ 12 ชั่วโมง ไม่ว่าจะรถยนต์คันนั้นจะเป็นเครื่องยนต์เบนซิน, ดีเซล หรือก๊าซแอลพีจี ก็ตาม จะมีสุขภาพย่ำแย่ จากการต้องสูดดมเอาควันพิษเหล่านั้น

นี่ยังไม่รวมว่า ต้องทำงานขนาดนั้นแล้วขาดการออกกำลังกาย การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การขาดการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้เขาเหล่านั้นมีสุขภาพย่ำแย่ลงไป

ปัจจัยต่อมาคือความสมบูรณ์ของระบบการติดตั้ง ต้องยอมรับว่าเครื่องยนต์ 2 ระบบ ก๊าซแอลพีจี และน้ำมันเบนซิน ไม่ใช่ของใหม่สำหรับบ้านเรา เพราะมีมากันร่วม 25 ปีที่แล้ว ในยุคโชติช่วงชัชวาลย์ และก็มาฟุบลงเพราะในอ่าวไทยไม่มีก๊าซมากอย่างที่คาดไว้ จนต้องนำเข้าจากญี่ปุ่นในช่วงนั้น

เวลาผ่านไป 25 ปี เครื่องยนต์พัฒนาไปมากมาย จากคาร์บูเรเตอร์กลไกสู่คาร์บูเรเตอร์ไฟฟ้า หัวฉีด กลไกสู่หัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ หัวฉีดซิงเกิลพอยต์สู่หัวฉีดมัลติพอยต์ แถมด้วยระบบวาล์วอัจฉริยะอีกต่างหาก แต่เชื่อไหมครับว่าระบบก๊าซแอลพีจีสำหรับรถยนต์ในบ้านเรา 99.99 เปอร์เซ็นต์ ยังเป็นระบบเก่า แถมยังใช้อุปกรณ์ไม่ครบเท่าที่ควรจะมีในยุคนั้น

ซ้ำร้ายไปกว่านั้นเป็นอุปกรณ์เก่าจากต่างประเทศ ขาดการควบคุมมาตรฐาน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอีกเช่นกันที่จะให้เกิดการรั่วของก๊าซจากห้องเผาไหม้ ย้อนออกมาทางกรองอากาศ บวกกับความไม่สมบูรณ์ของสภาพรถทำให้รั่วเข้าห้องโดยสารอีก ผลออกมาอย่างไรคงมีคำตอบในใจกันแล้ว โดยปกติแล้วก๊าซแอลพีจี ไม่มีกลิ่นครับแต่เป็นการเติมเข้าไปภายหลังเพื่อให้รู้ตัว หากมีการรั่วของก๊าซเกิดขึ้น เหตุผลข้างต้นนี้ จึงนำไปสู่ความเชื่อต่อไปว่าใช้ก๊าซแล้วเครื่องยนต์โทรมเร็ว บ่าวาล์วสึก ?

ในเมื่อที่ผ่านมาบ้านเราใช้อุปกรณ์สำหรับก๊าซแอลพีจี เป็นของเก่านำเข้าจากต่างประเทศ คำว่ามาตรฐานจึงเป็นคำที่ไม่คำแปล การติดตั้งเพียงให้รถยนต์คันนั้นวิ่งไปได้ ด้วยราคาค่าติดตั้งเพียง 8,000-13,000 บาทต่อคัน ทั้งยังปราศจากการรับรองอย่างถูกต้องทั้งทางกฎหมายและทางวิศวกรรมจากวิศวกรเครื่องกล โดยมีกำไรต่อคันอยู่ที่มากกว่า 6,000 บาท จึงไม่ต้องสงสัยว่าแล้วเครื่องยนต์ และเจ้าของรถจะต้องรับภาระอะไรเพิ่มขึ้นบ้าง

โดยปกติ อุปกรณ์ก๊าซแอลพีจี จะมีอายุการใช้อยู่ที่ 10 ปี จากนั้นประเทศที่เจริญแล้วก็จะปลดระวางอุปกรณ์เหล่านี้ โดยมีตลาดสำคัญอยู่ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อุปกรณ์เหล่านี้จะถูกนำมาขัดล้างทำความสะอาดใหม่ อย่างดีที่สุดก็เพียงเปลี่ยนอุปกรณ์จำเป็นบางชิ้น เช่น แผ่นไดอะเฟรม ในหม้อต้ม และหากเป็นช่วงที่น้ำมันถีบตัวขึ้นราคาสูงอย่างทุกวันนี้ อย่าแปลกใจที่หลายคนที่ติดตั้งมาแล้ว ต้องกลับไปเปลี่ยน หม้อต้มกันซ้ำสอง หรือสามรอบเป็นอย่างน้อย ขึ้นอยู่กับโชคชะตาของแต่ละคนเป็นสำคัญ นี่ยังไม่ต้องพูดถึงการจูนอัพอย่างถูกต้องอีกเรื่องหนึ่ง แถมด้วยเรื่องถังก๊าซมือสอง ที่ใช้งานมาร่วม 10 ปี แล้วมีอาการผุจากข้างใน จนกลายเป็น ระเบิดเวลา เคลื่อนที่ได้

แล้วแบบนี้มาเกี่ยวอะไรกับบ่าวาล์วสึกเร็ว...นอกจากความไม่สมบูรณ์ของอุปกรณ์แล้ว อย่าลืมนะครับว่ารถยนต์ในยุค 20 กว่าปีที่ผ่านมานั้น เราใช้น้ำมันผสม สารตะกั่ว เป็นเชื้อเพลิงกัน ขณะที่ก๊าซแอลพีจี เป็นเชื้อเพลิงซึ่งไม่มีสารตะกั่ว เป็นส่วนผสมให้ไปเคลือบบ่าวาล์วขณะเผาไหม้เหมือนน้ำมันเบนซิน เมื่อใช้ไปสักพักความร้อนจากการเผาไหม้ทำให้บ่าวาล์วสึกหรอลงไปทุกชั่วโมงนาที ไม่นานเครื่องยนต์ก็กลับบ้านเก่า

แต่เครื่องยนต์ในทุกวันนี้เป็น บ่าวาล์วโลหะแข็ง หรือเซรามิคกันหมดแล้ว น้ำมันผสมสารตะกั่วไม่มีปรากฏให้เห็นแม้แต่ปั๊มหลอดตามบ้านนอก จึงไม่ต้องกลัวว่าบ่าวาล์วตะกั่วจะสึกอีก (เพราะมันไม่มีบ่าวาล์วตะกั่วจะให้สึกอีกต่อไปแล้ว) และนี่คือความเปลี่ยนแปลงเพียงบางส่วนเท่านั้น ติดตามต่อในสัปดาห์หน้าครับ

ไลฟ์แอนด์ออลวีลไดร์ : bi - fuel Off road ออฟโรด เชื้อเพลิง 2 ระบบ (3 )

ชนินทร์ พงษ์เสือ
มีคำถามว่า การติดตั้งเชื้อเพลิงก๊าซแอลพีจี มีกี่แบบ? ก่อนจะมารู้จักกันว่า ระบบการติดตั้ง และการทำงานของก๊าซแอลพีจีมีกันกี่แบบนั้น เรามารู้จักอุปกรณ์หลักๆ กันก่อนดีกว่า

สำหรับการติดตั้งระบบก๊าซแอลพีจีปกติธรรมดาที่ใช้กันในบ้านเรา เอาสำหรับเครื่องยนต์เบนซินกันก่อนดีกว่านะครับ เริ่มจาก ถังบรรจุ (lpg storage tank) ที่มักติดตั้งไว้ที่ท้ายรถ ห้องบรรจุสัมภาระ มีทั้งแบบรูปแคปซูล ซึ่งเป็นแบบทั่วไปที่เราพบเห็นกัน มีตั้งแต่ขนาด 55-98 ลิตร

ส่วนอีกแบบที่บ้านเราไม่ค่อยมีแต่เป็นที่นิยมในต่างประเทศ โดยเฉพาะในรถซีดาน ก็คือถังแบบยูเอฟโอ หรือถังรูปกระดุม ที่จะวางแทนที่ในช่องสำหรับเก็บยางอะไหล่ท้ายรถ จนดูไม่รู้ว่ารถคันนั้นใช้ก๊าซแอลพีจีเป็นเชื้อเพลิง เพราะมองไม่เห็นถังบรรจุ ส่วนมากมักมีปริมาตรบรรจุอยู่ที่ 55 ลิตร

สำหรับรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ที่มีความสูงจากพื้นมาก ก็มักใช้ถังแคปซูลความจุ 30 ลิตร 2 ถัง ติดตั้งไว้ในช่องระหว่างแชสซีย์

ถังบรรจุก๊าซแอลพีจี สำหรับเป็นเชื้อเพลิงรถยนต์จะมีมาตรฐานความปลอดภัยสูงกว่าถังก๊าซหุงต้มที่ใช้ในครัวเรือนหลายสิบเท่าตัว และไม่ต้องพูดถึงความปลอดภัยเมื่อเทียบกับถังน้ำมันที่อยู่ในรถยนต์ทั่วไป ชนิดที่ความปลอดภัยของถังบรรจุแอลพีจีเหนือกว่าหลายสิบเท่าตัวอีกเช่นกัน ทั้งในเรื่องของความแข็งแกร่ง ความสามารถในการรับแรงกระแทก การป้องกันการรั่วซึม รวมถึงคุณสมบัติเฉพาะตัวของแอลพีจีที่ติดไฟได้ช้ากว่าน้ำมัน

หลายคนยังอาจสงสัยว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากมีการรั่วซึมในระบบของแอลพีจี คำตอบก็คือในระบบจะมีวาล์วแรงดัน ซึ่งหากมีความผิดปกติในระบบเช่นการรั่วซึม เพียงน้อยนิดย่อมทำให้แรงดันในระบบเปลี่ยนไป วาล์วควบคุมแรงดันที่ถังจะปิดตัวเอง เพื่อมิให้มีก๊าซรั่วซึมออกมาอีกทันที

สำหรับการเติมก๊าซเข้าสู่ถังบรรจุนั้น จำเป็นต้องอย่างยิ่งที่ต้องใช้ท่ออ่อนแรงดันสูง ต่อระหว่างถังและหัวรับก๊าซ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสปาร์คจนเกิดประกายไฟขณะเติมก๊าซในกรณีที่รถคันนั้นมีปัญหาด้านระบบไฟฟ้า ส่วนท่อที่ออกมาจากถังแก๊สนั้นจะเป็นท่อทองแดง ผ่านโซลินอยด์วาล์วซึ่งจะปิด/เปิด ตามการทำงานของเครื่องยนต์ จากนั้นจึงส่งผ่านไปยังหม้อต้ม

หม้อต้ม (vapoliser) นับเป็นอุปกรณ์สำคัญในระบบเพราะการทำงานของระบบเชื้อเพลิงก๊าซแอลพีจี ก็คือ เริ่มจากการสตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงก่อน เพื่อให้อุณหภูมิของระบบน้ำหล่อเย็นที่ถูกต่อผ่านเข้าไปในระบบของหม้อต้มสูงขึ้น จนพอเพียงกับการทำให้ก๊าซแอลพีจีที่ถูกส่งจากถังเก็บมายังจุดนี้ คลายตัวจาก ของเหลวสู่การเป็นไอ โดยจะมีการขยายตัวขึ้นประมาณ 250-270 เท่า ตามปกติหม้อต้มก็มีตัวควบคุมแรงดัน และปรับปริมาณการจ่ายก๊าซ ก่อนจะส่งไปผสมกับอากาศที่ปากท่อร่วมไอดี เพื่อถูกดูดเข้าไปแต่ละห้องเผาไหม้ต่อไป

แต่ปัญหาก็คือ หม้อต้ม ก็เป็นอุปกรณ์อีกชนิดที่ต้องมีขนาดตามขนาดซีซีของเครื่องยนต์อีกเช่นกัน หม้อต้มทั่วไปที่ใช้กันในบ้านเรามักเป็นขนาดไม่เกิน 2,000 ซีซี เมื่อนำมาใช้กับเครื่องยนต์ขนาดใหญ่กว่านี้ ก็เสมือนกับการจำกัดขนาดเครื่องยนต์ ทั้งยังมีปัญหาอื่นตามมาอีกครับ

นอกจากนี้หม้อต้มที่มีลักษณะการทำงานเป็นแบบกลไก จึงส่งผลให้การจ่ายก๊าซสู่ปากท่อร่วมไอดี เป็นไปในลักษณะที่มีปริมาณสม่ำเสมอ ขณะที่เครื่องยนต์ไม่ได้ต้องการเชื้อเพลิงในปริมาณเดียวกันตลอดเวลา ดังนั้นในช่วงรอบเครื่องต่ำ แน่นอนว่าไม่มีปัญหาอะไร เพราะอากาศสามารถผสมกับก๊าซก่อนถูกดูดเข้าท่อร่วมไอดีได้ทัน หรือก๊าซแอลพีจีอาจออกมามากเกินไป เพราะต้องจูนเพื่อในช่วงความเร็วมากกว่าการใช้งานเมือง เครื่องยนต์ก็อาจสะดุดบ้างเนื่องจากส่วนผสมหนาเกินไป ซึ่งส่วนมากระบบเก่าแบบนี้จะจูนที่ตัวหม้อต้มให้ได้การประหยัดเชื้อเพลิงมากที่สุด อยู่ที่การใช้งานด้วยความเร็วที่ 80- 100 กม./ชม.

แต่ในรอบเครื่องยนต์สูงจำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิงและอากาศในการเผาไหม้มากขึ้น หากอากาศสามารถเข้าได้ทันแต่เชื้อเพลิงที่ยังคงจ่ายในปริมาณสม่ำเสมอ ทำให้ส่วนผสมผิดเพี้ยนจากค่ามาตรฐานระหว่างอากาศกับเชื้อเพลิง 14.7 ต่อ 1 หรือพูดง่ายๆ ว่าอากาศเข้าไปมากเกินไปทำให้ส่วนผสมบางขึ้น ประกอบกับความร้อนในห้องเผาไหม้ยังมีสูงก็ทำให้เกิดการชิงจุดระเบิด หรือจุดระเบิดนอกห้องเผาไหม้ได้อีกเช่นกัน ผลก็คืออย่างน้อยก็คืออาการเสียงเขก ของเครื่องยนต์ อย่างมากก็ย้อนออกมาจนหม้อกรองอากาศกระจายกันละครับ

แต่ถ้าเราจะแก้ไขด้วยการจูนให้จ่ายก๊าซในปริมาณมากไว้ก่อน เพื่อให้วิ่งได้ดีในช่วงรอบเครื่องสูงล่ะ จะเป็นอย่างไร ? อย่างแรกก็คือเมื่อส่วนผสมหนาเกินไป คือเชื้อเพลิงมากกว่าที่ควรจะเป็น นอกจากจะได้กลิ่นก๊าซโชยเข้ามาแล้ว แน่นอนว่าเครื่องยนต์ย่อมเดินไม่เรียบ โดยเฉพาะในรอบเครื่องต่ำสำหรับการใช้งานในเมือง แน่นอนว่าการติดตั้งก๊าซแม้จะช่วยให้ประหยัดขึ้นจากราคาของก๊าซที่ต่ำกว่าก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับว่าสมรรถนะก็จะสามารถใช้งานได้ในระดับหนึ่งเช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดอีกประการที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ก็คือเป็นที่ทราบกันดีว่า อัตราส่วนผสมระหว่างอากาศกับเชื้อเพลิงที่เหมาะสมก็คือ 14.7 : 1 หมายถึงอากาศ 14.7 ส่วนต่อ น้ำมันเชื้อเพลิง 1 ส่วน ดังนั้นจึงมีการออกแบบท่อส่งอากาศเข้ามายังท่อร่วมไอดีให้มีขนาดใหญ่เพียงพอกับความต้องการของเครื่องยนต์ และเมื่อเปลี่ยนใช้ก๊าซแอลพีจีซึ่งเมื่อผ่านหม้อต้มมาแล้วก็กลายสภาพเป็นเชื้อเพลิงที่อยู่ในสถานะเป็นอากาศเช่นกัน นั่นหมายความว่าต้องมีการลดปริมาณภายนอกที่จะเข้ามาผสมกับเชื้อเพลิงก๊าซแอลพีจี เพื่อให้ได้อัตราส่วนการผสมที่เหมาะสม เราจึงพบว่าในการติดตั้งระบบเชื้อเพลิงก๊าซทุกวันนี้จะมีการติดตั้งอะแดปเตอร์ระหว่างท่อส่งอากาศจากหม้อกรองอากาศและท่อร่วมไอดี โดยอะแดปเตอร์ตัวนี้จะเป็นลักษณะกรวยลดขนาดท่อส่งอากาศให้เล็กลง และมีท่อก๊าซ เข้าผสมกับอากาศเพื่อจะถูกดูดเข้าห้องเผาไหม้ต่อไป

โดยปกติสำหรับเครื่องยนต์ขนาด 1,600- 2,500 ซีซี ท่ออากาศเข้าจะถูกลดขนาดให้เหลืออยู่ราว 22-25 มม. ซึ่งก็เพียงพอกับการใช้งานทั้งในสภาพการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแบบปกติและการใช้ก๊าซ แต่เมื่อใดที่เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ขึ้นกว่านี้

การคำนวณขนาดของช่องอากาศเข้าสู่ท่อร่วมไอดี ก็นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งขึ้นมาทันที เพราะหากช่องอากาศเข้าเล็กเกินไปรอบเครื่องต่ำอาจไม่มีปัญหาเพราะใช้อากาศไม่มาก แต่รอบสูงปรากฏว่าช่องทางเข้าของอากาศที่ถูกตอนให้มีช่องอากาศเล็กไปนั่นหมายความว่าในช่วงรอบเครื่องสูง จะพบว่าปริมาณอากาศที่ไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ไม่เพียงพอกับความต้องการ หากเป็นช่วงที่ใช้ก๊าซอยู่ก็คงแค่สมรรถนะลดลง วิ่งไม่ออก หรือวิ่งได้แค่เท่าที่ก๊าซจะจ่ายได้ และสามารถผสมกับอากาศในปริมาณเท่าที่จะผ่านจะช่องอากาศที่ลดขนาดไว้ได้

ถ้าเป็นในช่วงที่คุณออกต่างจังหวัดที่ไม่สามารถหาปั๊มก๊าซได้ (ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยากครับ เพราะเดี๋ยวนี้มีปั๊มแอลพีจีในต่างจังหวัดเยอะมาก : ที่ไหนมีรถตุ๊กตุ๊กที่นั่นมีปั๊มก๊าซครับ) และจำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบเชื้อเพลิงน้ำมันปกติละครับจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อใช้ความเร็วแล้วน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายปกติตามการคำนวณของ กล่องควบคุม แต่อากาศเข้ามาเผาไหม้ไม่พอ ผลก็คือวิ่งไม่ออก ควันดำ กินน้ำมันมากกว่าปกติ นั่นเองครับ

แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาครับ เพราะระบบที่เล่ามานี้เป็นระบบเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว (แต่บังเอิญว่าเป็นระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเมืองไทยขณะนี้) เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีไปเร็วครับ สัปดาห์หน้าผมจะมาเล่าต่อ

ไลฟ์แอนด์ออลวีลไดร์ : bi-fuel Off road ออฟโรด เชื้อเพลิง 2 ระบบ (4)

โดยปกติสำหรับเครื่องยนต์ขนาด 1,600- 2,500 ซีซี ท่ออากาศเข้าจะถูกลดขนาดให้เหลืออยู่ราว 22-25 มม.ซึ่งก็เพียงพอกับการใช้งานทั้งในสภาพการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแบบปกติ และการใช้แก๊ส แต่เมื่อใดที่เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ขึ้นกว่านี้ การคำนวณขนาดของช่องอากาศเข้าสู่ท่อร่วมไอดี ก็นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งขึ้นมาทันที

เพราะหากช่องอากาศเข้าเล็กเกินไป รอบเครื่องต่ำอาจไม่มีปัญหา เพราะใช้อากาศไม่มาก แต่รอบสูงปรากฏว่าช่องทางเข้าของอากาศที่ถูกตอนให้มีช่องอากาศเล็กไปนั่นหมายความว่าในช่วงรอบเครื่องสูง จะพบว่า ปริมาณอากาศที่ไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ไม่เพียงพอกับความต้องการ หากเป็นช่วงที่ใช้แก๊สอยู่ก็คงแค่สมรรถนะลดลง วิ่งไม่ออก หรือวิ่งได้แค่เท่าที่แก๊สจะจ่ายได้ และสามารถผสมกับอากาศในปริมาณเท่าที่จะผ่านจะช่องอากาศที่ลดขนาดไว้ได้

แต่ถ้าเป็นในช่วงที่คุณออกต่างจังหวัดที่ไม่สามารถหาปั๊มแก๊สได้ (ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยากครับ เพราะเดี๋ยวนี้มีปั๊มแอลพีจีในต่างจังหวัดเยอะมาก : ที่ไหนมีรถตุ๊กตุ๊กที่นั่นมีปั๊มแก๊สครับ) และจำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบเชื้อเพลิงน้ำมันปกติละครับจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อใช้ความเร็วแล้วน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายปกติตามการคำนวณของกล่องควบคุม แต่อากาศเข้ามาเผาไหม้ไม่พอ ผลก็คือ วิ่งไม่ออก ควันดำ กินน้ำมันมากกว่าปกติ นั่นเองครับ

แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาครับ เพราะระบบที่เล่ามานี้เป็นระบบเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว (แต่บังเอิญว่าเป็นระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเมืองไทยขณะนี้) โดยในช่วงแรกก็เริ่มมีการพัฒนากันโดยใช้วาล์วควบคุมแรงดันก่อนจ่ายเข้าสู่มิกเซอร์ ซึ่งจะจ่ายแก๊สปริมาณน้อยกว่าที่ปรับไว้จากหม้อต้ม เพียงเพื่อให้พอกับการทำงานในรอบเครื่องต่ำ และจ่ายเพื่อมากขึ้นตามแรงดูดจากปากท่อร่วมดี ซึ่งมีการออกแบบใหม่จากเดิมที่เป็นเพียงท่อแก๊สโผล่ไปจากอะแดปเตอร์ลดขนาดท่ออากาศเข้าไอดีผสมกันเอาเอง เป็นมิกเซอร์เต็มรูปแบบเริ่มจากช่วงแรกจะคล้ายๆ เตาแก๊สในครัวนี่หละครับ คือคล้ายโดนัท และมีรูจ่ายแก๊สเล็กๆ นับสิบๆ รูอยู่รอบตัว แทนที่จะเป็นท่อใหญ่ท่อเดียว ซึ่งก็ช่วยให้ผสมได้ดียิ่งขึ้น สามารถคำนวณขนาดช่องผ่านอากาศได้แน่นอนเหมาะกับเครื่องยนต์ขณะใช้แก๊สมากยิ่งขึ้น ตัดปัญหาส่วนผสมหนาในรอบต่ำลงได้

แต่สำหรับเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ ปัญหานี้ยังไม่หมดไปครับ โดยเฉพาะในอังกฤษ และแถบยุโรปที่นิยมใช้แก๊สกันมาก บรรดาสิงห์ออฟโรดที่ต้องการสมรรถนะเต็มพิกัดในช่วงนั้นก็ย่อมหนีไม่พ้นเรนจ์โรเวอร์ หรือแลนด์โรเวอร์ ดิสคัฟเวอรี่ที่มีเครื่องยนต์ให้เลือกกันตั้งแต่ 2,000 กว่าซีซี ไปยันเกือบ 5,000 ซีซี โน่นหละครับ รวมถึงออฟโรดสายพันธุ์เอเชียที่เข้าไปแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นนิสสัน แพทรอล, โตโยต้า แลนด์ครูเซอร์, มิตซูบิชิ ปาเจโร แก๊งขับเคลื่อน 4 ล้อฝูงนี้ไม่มีใครเคยได้ชื่อว่า “จิบน้ำมัน” หรอกครับ และเมื่อเปลี่ยนไปใช้แก๊สแล้ว ด้วยหม้อต้มขนาดใหญ่ขึ้นจ่ายแก๊สเพียงพอในทุกช่วงความเร็ว แต่เมื่อเปลี่ยนใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ปัญหาเดิมกลับมาอีกแล้วครับ อากาศไม่เพียงพอกับการผสมเพื่อเผาไหม้ในอัตราส่วนที่ดีที่สุด 14.7 : 1 อันเนื่องมาจากช่องทางเข้าอากาศถูกตอนอย่างบอกไว้ตอนแรกนั่นหละครับ

แต่เรื่องแบบนี้ไม่เกินความสามารถครับ คาร์บูเรเตอร์ที่เริ่มตกยุคไปแล้ว และกำลังถูกแทนที่ด้วยหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์แบบซิงเกิลพอยต์ในนั้น ก็กลับมามีบทบาทอีกครั้ง คราวนี้ก็เป็นการตัดต่อเอาส่วนที่เป็นลิ้นปีกผีเสื้อและแวคคั่มควบคุมการปิด/เปิด เชื่อมเข้ากับฐานของท่อร่วมไอดี และท่ออากาศ พร้อมกับเจาะรูที่ลิ้นปีกผีเสื้อ เพื่อให้อากาศผ่านในปริมาณที่เหมาะกับการผสมกับแก๊สแอลพีจี และเมื่อรอบเครื่องยนต์ทำงานสูงขึ้น แก๊สจ่ายมากขึ้นต้องการอากาศเข้ามาเผาไหม้มากยิ่งขึ้น แรงดูดจากท่อไอดีที่กระทำต่อแวคคั่มของลิ้นปีกผีเสื้อก็ทำให้ปีกผีเสื้อเปิดอากาศสามารถเข้าได้อย่างเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นแก๊สหรือน้ำมันเชื้อเพลิง

แบบนี้ฟังดูแล้วเหมือนจะเข้าท่า สามารถแก้ปัญหาลงไปได้ แต่ในความเป็นจริงก็ยังมีข้อจำกัดบางเรื่อง เช่น รูที่เจาะบนลิ้นปีกผีเสื้อมักขนาดเล็กเกินไป เนื่องจากติดแกนกลางของลิ้น (ความเหมาะสมของรูอากาศสำหรับเครื่องยนต์ขนาด 2,500 ซีซี ขึ้นไปมักเกินกว่า 35 มม.) ขณะที่กว่าจะเปิดจริงๆ ก็มักเป็นในช่วงเริ่มเข้ารอบสูง ทำให้กำลังในช่วงรอบปานกลาง ซึ่งเป็นช่วงที่มักใช้งานมากที่สุด ไม่คล่องตัวเหมือนกับพวกที่ใช้อะแดปเตอร์กำหนดขนาดตายตัว อีกทั้งในต่างประเทศนั้น เป็นที่รู้ดีว่าค่าแรง ค่าช่างฝีมือ มีราคาสูงจนน่าใจหาย โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้วิธีปรับ แทนการเปลี่ยนอย่างชุดลิ้นปีกผีเสื้อนี้ ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาคาร์บูเรเตอร์เก่าที่สามารถใช้งานได้ดี ระบบแวคคั่มสมบูรณ์มีค่าทานแรงดูดที่เหมาะสม การเชื่อมกับติดอะแดปเตอร์ ทำให้สามารถติดตั้งล่าช้า มีค่าใช้จ่ายสูงอีกทั้งยังใช้งานได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่หลักการนี้ก็พัฒนาสู่ตัวเลือกใหม่

ไลฟ์ แอนด์ ออลวีล ไดรฟ์ : ออฟโรด เชื้อเพลิง 2 ระบบ (5 )

มิกเซอร์ แปรผันขนาดท่ออากาศ : ในช่วงนี้เองเริ่มมีการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาควบคุมการทำงานของระบบแก๊สแอลพีจี แทนเรกูเลเตอร์แบบกลไกที่จ่ายเชื้อเพลิงตามแรงดูดจากมิกเซอร์ ช่วยให้จ่ายเชื้อเพลิงในปริมาณที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกัน ตัวมิกเซอร์ที่ติดตั้งอยู่ปากท่อร่วมไอดี ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยจะทำงานผสานกับแรงดูดจากท่อร่วมไอดี เช่น ในสภาวะปกติ หรือรอบเดินเบา เชื้อเพลิงจ่ายน้อย แรงดูดจากท่อไอดีน้อย ขนาดของช่องอากาศที่ผสมกับแก๊สก็จะอยู่ในขนาดที่กำหนดไว้ และเมื่อรอบเครื่องยนต์สูงขึ้น แรงดูดจากท่อร่วมไอดีมากขึ้น ด้านล่างของมิกเซอร์ก็จะถูกแรงนั้นดึงให้ยื่นลงไปด้านล่าง ทำให้ช่องอากาศเหล่านั้น มีขนาดเพิ่มมากขึ้น อากาศสามารถไหลผ่าน จนเพียงพอกับการเผาไหม้ทั้งในแบบแก๊สและน้ำมันเชื้อเพลิง แบบนี้เรียกง่ายๆ ว่า เป็นแอลพีจีแบบซิงเกิลพอยต์ก็ได้ครับ

เทคโนโลยีไม่เคยหยุดยิ่ง ในเมื่อระบบจ่ายเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์พัฒนาถึงแบบซีเควนเชียล ระบบการจุดระเบิดควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์อย่างแม่นยำ ระบบเชื้อเพลิงจากแก๊สแอลพีจีก็มีการพัฒนาควบคู่ไปบนพื้นฐานเดียวกันอีกเช่นกัน โดยเฉพาะ การทำอย่างไรให้ได้สมรรถนะได้ใกล้เคียงกับน้ำมันเชื้อเพลิง ขณะเดียวกันอัตราการสิ้นเปลืองแบบลิตรต่อกิโลเมตรจะขยับเข้ามาใกล้เคียงกับน้ำมันเชื้อเพลิง บนจุดเด่นที่แก๊สแอลพีจีมีราคาต่ำกว่าเกือบครึ่ง

ผลก็คือ มีการพัฒนาทั้งระบบ มีการผลิตหม้อต้มแก๊สควบคุมด้วยอิเล็กคทรอนิกส์สามารถกำหนดให้แก๊สเปลี่ยนสถานะเป็นไอในความเข้มข้นที่เหมาะสม ระบบควบคุมการจ่ายแก๊สและระบบรางพร้อมหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ของแอลพีจีที่ได้รับการพัฒนาขึ้น ติดเสริมไปในแต่ละปากกระบอกสูบ โดยอาศัยการแปลงสัญญาณของกล่องควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ที่พ่วงกับกล่องอิเล็กทรอนิกส์เดิมของรถ เพื่อคำนวณการจ่ายแก๊สในแต่ละสูบใหม่ ช่วยให้การจ่ายเชื้อเพลิงและการเผาไหม้เป็นไปอย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยในการใช้งานเครื่องยนต์จะสตาร์ทด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงก่อน เมื่อถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมก็จะเปลี่ยนสู่ระบบแก๊สแอลพีจีโดยอัตโนมัติ

เท่าที่เคยมีการทดสอบในต่างประเทศด้วยไดโนเทสต์ ผลความแตกต่างของแรงม้าระหว่างก่อนและหลังติดตั้งที่ดีที่สุดทำได้ถึง 1-2% ก็มีมาแล้ว ขณะที่ความแตกต่างไม่เกิน 15% ก็ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ใช้งานที่ดีทีเดียว

ที่สำคัญ ระบบการจ่ายแก๊สด้วยหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์แบบนี้ สามารถป้องกันอันตรายของการใช้แก๊สในเครื่องยนต์ระบบวาล์วแปรผันจนถึงขั้นฝาสูบแตกที่พบกันได้มากในแท็กซี่บ้านเราได้ 100% ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวนั้นเกิดจากการติดตั้งแก๊สด้วยระบบเก่า มีเพียงท่อแก๊สยื่นผ่านอะแดพเตอร์ไปยังปากท่อร่วมไอดี แล้วปล่อยให้แรงดูดในแต่ละสูบดึงเข้าไปในห้องเผาไหม้แต่ละกระบอกสูบ และเมื่อแท็กซี่รุ่นใหม่ใช้ระบบวาล์วแปรผัน ไอดีที่เพิ่มมากขึ้นขณะที่อุณหภูมิในแต่ละสูบสูงได้ที่ อากาศจุดระเบิดนอกห้องเผาไหม้จึงเกิดตลอดเวลา เรียกว่า นับเป็นแสนครั้งต่อชั่วโมง ส่งผลให้ฝาสูบ หรืออุปกรณ์ของแท็กซี่ หรือรถยนต์ที่ใช้ระบบวาล์วแปรผันเหล่านั้น แตกหักเสียหาย จนต้องถอดเครื่องทิ้งกองพะเนินเทินทึกเป็นภูเขาย่อมๆ อยู่ตามอู่แท็กซี่ทั้งหลายนี้เอง

หลักการของระบบการจ่ายแก๊สแบบนี้ ก็เป็นแบบเดียวกับที่ใช้ในแท็กซี่ที่ใช้เอ็นจีวี หรือที่ในต่างประเทศเรียกเอ็นจีซี (Natural gas compressor) ครับ เพียงแต่ระบบจะมีการปรับองศาการจุดระเบิดใหม่ให้สอดคล้องกับคุณสมบัติของแก๊สครับ

แต่ถ้าใครยังสงสัยว่าแล้วทำไมรถที่ใช้เอ็นจีวีแล้วกำลังตกไปราว 20% นั้น เอาไว้ราคาน้ำมันดีเซลพุ่งขึ้นจนรับไม่ได้แล้ว เดี๋ยวค่อยมาเฉลยกันต่อในหัวข้อ “เครื่องยนต์ดีเซลจะใช้ แอลพีจีหรือเอ็นจีวี" ดีกว่ากันนะครับ


จากการทดสอบปริมาณการปล่อยมลสารจากไอเสียของเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงอื่นเปรียบเทียบกับ ก๊าซธรรมชาติของ Research and Development Institute Saibu Gas Co., Ltd. พบว่า รถ NGV ปล่อยก๊าซ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ไนโตรเจนออกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์ น้อยกว่ารถที่ใช้น้ำมันเบนซิน โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์เพียง 300 ส่วนในล้านส่วน 4/ ในขณะที่รถเบนซินมีการปล่อยสูงถึง 1,400 ส่วนในล้านส่วน อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับรถที่ใช้ LPG แล้ว รถ NGV จะปล่อยก๊าซ ไฮโดรคาร์บอนมากกว่ารถ LPG เล็กน้อย

ตารางเปรียบเทียบมลสารจากไอเสียของเครื่องยนต์ที่ใช้ NG, LPG, Gasoline
ที่ความเร็ว 300 รอบต่อนาที

ชนิดมลสาร ก๊าซธรรมชาติ
(NG) ก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) เบนซิน(Gasoline)
คาร์บอนมอนอกไซด์ (ร้อยละโดยปริมาตร) 0.04 0.04 0.08
ไฮโดรคาร์บอน (ส่วนในล้านส่วน) 1,700 1,600 2,200
ไนโตรเจนออกไซด์ (ส่วนในล้านส่วน) 300 900 1,400
คาร์บอนไดออกไซด์ (ร้อยละโดยปริมาตร) 8.5 11.7 14.5

ที่มา : การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

6. มาตรฐานของถังบรรจุก๊าซ
ถังที่ใช้บรรจุก๊าซธรรมชาติสำหรับรถ NGV โดยทั่วไปจะแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ ถังที่ทำด้วย เหล็กหรืออลูมิเนียม และถังที่ทำด้วยพลาสติกและเสริมด้วยวัสดุใยแก้ว แต่เนื่องจากถังบรรจุก๊าซมักมีขนาดใหญ่ และน้ำหนักมาก จึงมีการพัฒนาเพื่อให้น้ำหนักเบาลงและมีความทนทานมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรม มีการผลิตถังอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน คือ

ชนิดที่1 ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม
ชนิดที่2 ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้ว 5/ หรือเส้นใยคาร์บอน 6/ ล้อมรอบตัวถัง
ชนิดที่3 ทำด้วยแผ่นอลูมิเนียมที่บางกว่าชนิดที่ 2 และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วหรือเส้นใยคาร์บอนตลอดตัวถัง
ชนิดที่4 ทำด้วยแผ่นพลาสติกและหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วและเส้นใยคาร์บอนผสมกัน

ชนิดแรกจะมีน้ำหนักมากที่สุด แต่ต้นทุนต่ำสุด ส่วนชนิดที่ 3 และ 4 มีน้ำหนักเบากว่า แต่ต้นทุนค่อนข้างสูง โดยสามารถเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วนร้อยละให้เห็นความแตกต่างได้ดังนี้

ชนิดที่ วัสดุที่ใช้ทำตัวถัง ต้นทุน (%) น้ำหนัก (%)
1 เหล็ก 40 100
2
2 เหล็ก, วัสดุใยแก้ว
อลูมิเนียม, วัสดุใยแก้ว 80
95 65
55
3
3 อลูมิเนียม, วัสดุใยแก้ว
อลูมิเนียม, เส้นใยคาร์บอน 90
100 45
25
4 พลาสติก, วัสดุใยแก้วผสมเส้นใยคาร์บอน 90 30

ที่มา : Norman L. Newhouse, Ph.D., P.E. Manager, Design Engineering และ Dale B. Tiller, P.E. Manager, NGV Product Development "Development of All-Composite NGV Fuel Containers" May 1998.

http://pttinternet.pttplc.com/ngv/technology/technology.html

8. ประสบการณ์ในประเทศไทย
ประเทศไทยได้มีการนำก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) มาใช้ในยานยนต์ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2513 และเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในปี พ.ศ. 2523 เนื่องจากราคา LPG มีราคาถูกกว่าน้ำมัน ส่วนใหญ่จะใช้ในรถแท๊กซี่และ รถสามล้อเครื่อง โดยมีการดัดแปลงเครื่องยนต์ที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม วิธีการดัดแปลงยังอยู่ในขั้นพื้นฐาน และมาตรฐานทางด้านความปลอดภัยยังไม่ดีพอ รวมทั้ง กฎระเบียบในด้านความปลอดภัยยังไม่รัดกุม จึงมักก่อให้เกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้หรือเกิดระเบิดได้ นอกจากนี้ สถานีเติม LPG ค่อนข้างขาดแคลน เนื่องมาจาก ต้นทุนในการก่อสร้างและราคาที่ดินในกรุงเทพฯ จึงส่งผลให้ตลาดรถยนต์ที่ใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิง ไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเท่าที่ควร แต่ในปัจจุบันเนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น จึงมีรถแท๊กซี่เปลี่ยนไปใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิงมากขึ้นถึงร้อยละ 70 - 80 ของจำนวนแท๊กซี่ที่มีอยู่ขณะนี้ประมาณ 58,000 คัน

ราคา LPG ทั้งชุด เพื่อใช้กับ เครื่อง หกสูบ หัวฉีด ซีเควนเชี่ยล 4000 ซีซี ของ stargas ยังไม่รวมภาษี และค่าขนส่ง เขาเสนอราคามา ที่ 1500 ปอนด์ แต่ถ้าจะใช้ถังแก๊ส และถังน้ำมัน ลักษณะเดียวกับคุณนินจา คือติดถังทั้งสองใต้ท้องรถ ราคาจะเพิ่มเป็น 2100 ปอนด์ รับประกัน 40000 กม. ผมคงไม่มีปัญญาแน่ แต่ถ้ารวมกันหลายๆชุดราคาคงจะลงได้มากกว่านี้แน่ ระบบของ stargas จะควบคุมการจ่ายแก๊สตามอัตราแปรผันของรอบเครื่อง จะมี ecu คอยควบคุม โซลีนอยด์ และหม้อต้ม ให้ทำการจ่ายแก๊สหรือน้ำมันจากระบบ โดยอัตโนมัติ อัตราการสิ้นเปลืองเขาบอกว่า 300 ไมล์ ต่อแก็ส 1 ถัง (72ลิตร) ข้อมูลนี้สามารถดูและขอเพิ่มเติมได้จาก www.star-gas.it ครับ
โดยคุณ : . - 505blue [ 6 ก.ย. 2005 , 13:03:24 น.]

ตอบ คนที่ 2
ข้อเสียของถัง LPG อีกข้อคือไม่สามารถใช้เติม NGVได้เนื่องจากถังLPGออกแบบมาเพื่อให้รับแรงดันที่ต่ำถ้านำไปเติม NGV ก็จะเสี่ยงต่อการระเบิดได้เนื่องจาก แก๊สNGV มีแรงดันสูงกว่า LPGถึง20เท่าฉะนั้นถังที่เติม NGVได้จะต้องถูกออกแบบมาเพื่อให้รับแรงดันได้สูงคือต้องเป็นลัษณะผนังหนารับแรงดัน(thick wall pressure vassel)และที่สำคัญถ้าเกิดคุณมีถัง LPGใช้ LPG แล้วคุณต้องการเติมแก๊สคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าปั๊มไหนเป็นปั๊ม LPG หรือ NGV เพราะปั๊มแก๊สบ้านเราผมไม่เห็นปั๊มไหนจะระบุอย่างชัดเจนหรือมีมาตรฐานที่ชัดเจนที่จะบอกข้อมูลลูกค้าเลยว่าปั๊มเค้าเป็น LPG หรือ NGV ผมว่าก็ยังมีมั่วๆกันอยู่พอสมควรกรณีคุณมีถัง LPG แล้วดันไปเข้าปั๊ม NGVเติม NGV ผมว่าอาจจะเกิดปัญหาเรื่องถังระเบิดได้เหมือนกัน
โดยคุณ : บุย [ 7 ก.ย. 2005 , 21:06:52 น.]

ตอบ คนที่ 3
ปั๊ม LPG หรือ NGV ไม่มั่วๆหรอกครับมีป้ายชัดเจน หัวเติมก็ไม่เหมือนกันใส่กันไม่ได้ ปั๊มเขาไม่เติมมั่วครับ

คุณ 505blue ข้อมูลแน่นดีอย่างน้อยก็หาแหล่งข้อมูลเป็นถึงจะไม่ได้เขียนเองมาช่วยผมแต่งหนังสือไหมผมกะทำช่วยชาติแบ่งความรู้ไม่เอากำไรรายได้ให้เด็กพิการ
คุณ รุต มาดูรถผมก่อนได้นะ

ผมติดเอง ใน Mi16 หม้อต้มAISAN รุ่นไฟฟ้า พร้อมถัง 3200 บาทมาทำเอง วิ่งในเมือง กม.ละ 1.7บาท นอกเมือง 0.9บาท ผมเองไม่ได้เดือดร้อนกับราคาน้ำมันเพราะใช้รถวันหยัดเท่านั้นแต่อยากเล่นกันรถตอนนี้ก็ทำให้เข้าใจ Mi16 ดีขึ้น กำลังทำหัวฉีดแก๊สกับกล่อง ECU อยู่ลองดูที่ http://www.weekendhobby.com/offroad/jeep/lpgweblist.asp ผมลองกันกับกลุ่ม Jeep อยากหาคนร่วมทดลองทำหัวฉีดกัน ตอนนี้รถผมวิ่งแก๊สอย่างเดียวไม่เคยเปลี่ยนเป็นน้ำมันเลยก็ไม่มีปัญหานะ ใครอยากติดเองหรือมาช่วยกันทำผมยินดีแนะนำ เพราะราคาที่เขาติดกันผมว่าแพงเกินไปได้กำไร5-6000 บาทเหมือนเราหนีเสือปะจรเข้ ทีจุฬา 26 ลองไปดูแล้วจะไม่อยากไปติดเลยพูดเหมือนไปง้อให้ทำ ทำเองผมยังมั่นใจกว่าผมกะว่าออกจากงานมาทำบ้างดีกว่ารายได้ดีจริง ถ้ารัก peugeot จริงมาช่วยกันทำที่บ้านผมไหม
โดยคุณ : Kob Mi16 [ 7 ก.ย. 2005 , 22:05:45 น.]

ตอบ คนที่ 4
คุณ Kob Mi16 ครับ สนใจอยากจะติดมั่ง ถ้าติดเอง ค่าติดตั้งชุดละเท่าไหร่ครับ 505 คาบูน่ะครับ

แล้วถ้าเราจัดเป็นชุดแล้วรับติด ยุ่งยากมั๊ยครับ ผมอยากทำชุดประหยัดให้พวกเราติดแบบมั่นใจ + สบายกระเป๋าน่ะครับ
โดยคุณ : shamp [ 8 ก.ย. 2005 , 09:15:05 น.]

ตอบ คนที่ 5
ผมว่าของใหม่หมดไม่ไม่เกินหมื่น ก็ซื้อมาเองเลยครับแล้วมาช่วยกันทำผมอยากแนะนำให้ทำเอง ไม่งั้นจ่างทำไม่น่าเกินสองพัน
โดยคุณ : Kob Mi16 [ 10 ก.ย. 2005 , 00:02:07 น.]



Ending By Admin!!!