Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /home/idomy/domains/vlovepeugeot.com/public_html/forum/Sources/Load.php(249) : runtime-created function on line 3
 หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
 
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2024 เวลา 20:21:18

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

315,832 กระทู้ ใน 27,428 หัวข้อ โดย 14,887 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: bigboys
* หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
+  Vlovepeugeot ชมรมคนรักเปอโยต์ (เปอร์โยต์) ประเทศไทย
|-+  มีปัญหา /สอบถาม /ให้คำแนะนำ รถยนต์ peugeot แต่ละรุ่น
| |-+  40X
| | |-+  หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 [2] 3 4 5 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9  (อ่าน 119236 ครั้ง)
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #24 เมื่อ: วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 17:57:23 »


3.   ระบบการจุดระเบิด (Ignition System) 
     ระบบการจุดระเบิด (Ignition System) ประกอบด้วย Coil จุดระเบิด, หัวเทียน, หน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ECU), On Board Diagnostic system (EOBD : European On Board Diagnosis, diagnosis of anti-pollution equipment)

   ผังแสดงระบบการจุดระเบิด


* 300.jpg (59.24 KB, 650x287 - ดู 7174 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #25 เมื่อ: วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 17:58:36 »


3.1   Twin Static Ignition Coil - คอยล์จุดระเบิด
     Ignition Coil เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงไฟฟ้าแรงดันต่ำให้เป็นไฟฟ้าแรงดันสูง ส่งไปยังหัวเทียนเพื่อให้เกิดประกายไฟใช้ในการจุดระเบิดส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ ที่ถูกอัดอยู่ในตอนบนของกระบอกสูบ
      โครงสร้างของ Ignition Coil ประกอบด้วย ขดลวด Primary เส้นโตๆพันอยู่รอบแกนเหล็กแผ่นที่ซ้อนกันอยู่และมี ขดลวด Secondary เส้นเล็กมากพันอยู่รอบนอกของขดลวด Primary อีกที โดยที่ขดลวด Secondary นี้จะมีจำนวนรอบที่พันไว้มากกว่าขดลวด Primary มาก และระหว่างแกนเหล็กแผ่น, ขดลวด Primary, ขดลวด Secondary และเปลือกนอกจะถูกหล่อเทด้วยเรซิ่นที่เป็นฉนวนไฟฟ้า
       แต่ด้วยมี Ignition coil 2 ชุดประกอบต่อกันอยู่เป็นชุดตัวเดียวกันจึงเรียกชื่อเป็น Twin Static Ignition Coil โดยที่ขดลวด Secondary ของชุดที่1 จะส่งไปยังหัวเทียนสูบที่ 1 และ 4   และขดลวด Secondary ของชุดที่2 จะส่งไปยังหัวเทียนสูบที่ 2 และ 3
        การทำงานของคอยล์จุดระเบิด อาศัยหลักการเหนี่ยวนำร่วมกล่าวคือเมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ขดลวด Primaryจะค่อยๆเกิดสนามแม่เหล็กขึ้นรอบขดลวดไปเหนี่ยวนำให้แผ่นแกนเหล็กกลายเป็นแม่เหล็กอย่างช้าๆเช่นกันและสนามแม่เหล็กนี้จะไปเหนี่ยวนำให้เกิดแรงดันฟ้าไฟฟ้าขึ้นที่ขดลวด Secondary อย่างช้าๆ จึงเกิดแรงดันไฟฟ้าขึ้นต่ำๆ แต่ทันทีที่ตัดการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ขดลวด Primary สนามแม่เหล็กที่ขดลวดและแผ่นแกนเหล็กจะยุบตัวหมดลงทันทีทันใดจึงเหนี่ยวนำให้เกิดแรงดันฟ้าไฟฟ้าขึ้นที่ขดลวด Secondary มีค่าสูงมากในทันที   ซึ่งชุดควบคุมการจุดระเบิดในตัว ECU ได้คำนวณชดเชยเวลาการหน่วงนี้ไว้ให้ด้วย
        โดย ECU จะมีชุดควบคุมการจ่ายไฟให้กับขดลวด 2 ชุด สำหรับขดลวด Primary ชุดที่ 1 และชุดที่ 2 ทำงานสลับกันทุกครึ่งรอบของเครื่องยนต์ที่หมุนไป ทั้งนี้ขึ้นกับสัญญาณที่รับจาก Engine speed and Crankshaft Sensor และ Camshaft position Sensor ตามลำดับการจุดระเบิดของสูบที่ 1 (ทางด้านเกียร์)-3 - 4 - 2   
 
ภาพประกอบโครงสร้าง, วงจรไฟฟ้าและภาพตัดจากของจริง


* 310.jpg (84.89 KB, 750x495 - ดู 6513 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #26 เมื่อ: วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:00:24 »


     จากภาพล่าง แสดงจังหวะ การฉีดและจุดระเบิดจะพบว่าในทุกๆ 180 องศา หรือครึ่งรอบที่ Crankshaft หมุนไปจะมีการฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูบใดสูบหนึ่งเพียงครั้งเดียวแต่จะมีการจุดระเบิดเกิดขึ้นพร้อมกันทีละ 2 สูบ คือที่ปลายของจังหวะ อัดและที่ปลายจังหวะคาย โดยการจุดระเบิดที่ปลายจังหวะคายนี้จะเป็นการจุดทิ้งเปล่า (Wasted spark)

ภาพแสดงจังหวะ การฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและการจุดระเบิด


* 311.jpg (101 KB, 750x318 - ดู 6136 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #27 เมื่อ: วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:01:51 »


3.   Spark Plugs ? หัวเทียน
   หัวเทียนทำหน้าที่บังครับ (555 - Auto Edit ทำพิษแล้ว = บัง-คั บ = to force) ให้ประจุไฟฟ้าแรงสูงที่มาจาก Ignition Coil กระโดดข้ามช่องว่างระหว่างเขี้ยวจนเกิดประกายไฟขึ้นไปจุดระเบิดให้กับไอน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกอัดอยู่ในส่วนบนของกระบอกสูบ
 ด้วยมีประจุไฟฟ้าแรงดันสูงมากผ่านวิ่งผ่านไปยังเขี้ยวของหัวเทียนและหัวเทียนต้องทนทานต่อความร้อนและแรงดันที่เกิดจากการระเบิดในห้องเผาไหม้สูงมากจึงต้องใช้ Ceramic มาเป็นฉนวนอยู่ภายในเพื่อบังครับให้ประจุไฟฟ้าทั้งหมดพุ่งตรงไปที่ปลายเขี้ยวเท่านั้น
      บางเครื่องยนต์ต้องใช้หัวเทียนร้อน(Hot plug) ที่ออกแบบมาให้ฉนวน Ceramic มีพื้นที่สัมผัสกับเกลียวโลหะน้อยซึ่งทำไห้การถ่ายเทความร้อนจาก Ceramic ผ่านเกลียวหัวเทียนไปเสื้อฝาสูบได้น้อย แต่หัวเทียนเย็น (Cold Plug) จะออกแบบให้มีพื้นที่สัมผัสมากกว่าจึงระบายความร้อนได้ดีกว่า

ภาพตัดและชนิดของหัวเทียน


* 320.jpg (55.64 KB, 500x329 - ดู 6181 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #28 เมื่อ: วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:03:11 »


    ทั้งนี้ผู้ผลิตเครื่องยนต์จะเป็นผู้กำหนดการใช้หัวเทียนที่เหมาะสมให้ โดยปกติเครื่องยนต์ที่มีสมรรถนะสูงจะมีความร้อนในห้องเผาไหม้สูงด้วยจึงต้องใช้หัวเทียนเย็น ถ้าใช้หัวเทียนร้อนซึ่งมีความร้อนสะสมอยู่ที่ปลายหัวเทียนนั้นสามารถทำเกิดการเผาไหม้ขึ้นก่อนการสั่งให้ทำการจุดระเบิดได้ ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเลือกใช้
หัวเทียนที่ถูกต้อง เช่น
EW engines . . . . . .  Bosch FR8ME, Sagem RFN52HZ or Eyquem RFG 52 l2DP, Champion REC9YCL
Electrode gap  . . . .  0. 9 mm

ภาพแสดงรหัสของหัวเทียน Bosch FR8ME สำหรับเครื่องยนต์รหัส EW- 


* 321.jpg (42.54 KB, 750x221 - ดู 5861 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
lovepg
control
สิงห์มืออาชีพ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 566


« ตอบ #29 เมื่อ: วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:11:42 »


ขออีกรอบ สุดยอดดดดดดด โอ๊วๆๆๆ ยอดจริงๆๆ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
best 406
สิงห์ปริญญาโท
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 360



« ตอบ #30 เมื่อ: วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:38:24 »


คุณzuzarz ครับ ขอข้อมูล 406 D8 ด้วยซิครับ ขอบคุณครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

http://www.vlovepeugeot.com/forum/index.php?topic=26892.msg283916;/ทายาทสิงห์406-(ภาคต่อ)#new
studee
สิงห์ปริญญาโท
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 322



« ตอบ #31 เมื่อ: วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 19:28:35 »


สุดยอคครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

toetoe
สิงห์มัธยม
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 123



« ตอบ #32 เมื่อ: วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2009 เวลา 22:18:33 »


แจ่มทั้งรูปประกอบและสาระ ขอบคุณที่ร่วมแบ่งปันครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #33 เมื่อ: วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2009 เวลา 12:24:30 »


  ต้องขออภัยชาว D8 ด้วยนะครับ ที่ผมหาข้อมูลมาเฉพาะ ea9 น่ะครับ และหวังว่าคงมีสาระประโยชน์บ้างและขอความกรุณาจากผู้รู้ช่วยกันแบ่งปันความรู้ด้วยนะครับ และขอขอบคุณทุกๆท่านที่ติดตามนะครับ  โปรดติดตามตอนต่อไป
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #34 เมื่อ: วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2009 เวลา 17:57:53 »


4.  ระบบการฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง (Injection System)
   ระบบการฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบด้วย Double Injection relay, Engine speed Sensor, Camshaft Position Sensor, Vehicle Speed Sensor, Coolant Temperature Sensor, Air Temperature Sensor, Oxygen Sensor, Throttle Position Sensor, Power assisted steering pressure switch และหน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ECU)

 4.1 ? Multi-Function Double Relay
       Multi-Function Double Relay ถูกควบคุมการทำงานโดยตรงจาก ECU โดยแบ่งการถูกควบคุมการทำงานออกเป็น 3 สถานะคือ   : - เมื่อสวิทช์กุญแจอยู่ที่ตำแหน่ง
    1 -  Ignition On (ก่อนการสตาร์ทเครื่อง) -  จ่ายไฟจาก Battery  + 12 Volt  ให้กับอุปกรณ์เหล่านี้หัวฉีด, คอยล์จุดระเบิด, ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง, วาล์วระบายไอน้ำมัน, ลวดความร้อนของ Oxygen Sensor, EGR Valve, และ ECU โดยจะจ่ายไฟให้เป็นเวลา 2-3 วินาทีก่อนที่จะตัดไปถ้าเครื่องยนต์ยังไม่ติด
    2 -  Engine Running (ขณะเดินเครื่อง)  -  จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ตามข้อ1 ทั้งหมดตลอดเวลา
    3 -  Ignition Off (หลังการดับเครื่องยนต์) ? จ่ายไฟเลี้ยงเฉพาะ ECU ตลอดเวลา เพื่อเก็บรักษารหัสข้อบกพร่องที่ได้เกิดขึ้นไว้ และ ECU จะยังสั่งจ่ายไฟให้ Relay ทั้ง 2 ตัว เพื่อหน่วงเวลาให้พัดลมทำงานที่รอบต่ำต่ออีก 6 นาทีหลังดับเครื่องยนต์ถ้าความร้อนเกิน 105?C


* 400.jpg (38.96 KB, 400x323 - ดู 6154 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #35 เมื่อ: วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:00:26 »


  4.2   Engine Speed and Crankshaft Position Sensor แบบ Inductive Type Pulse Generator ?เซ็นเซอร์ตรวจจับความเร็วรอบเครื่องยนต์และตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง
     Engine Speed and Crankshaft Position Sensor มีหน้าที่ส่งสัญญาณคลื่นความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับให้ ECU    แล้ว ECU ก็จะแปลงคลื่นสัญญาณนี้ให้เป็น Digital (Analog-to-Digital Converter =ADC)   คือการเปลี่ยนคลื่นสัญญาณให้มีสถานะเป็น 0 (ปิด) กับ 1 (เปิด) เพื่อกำจัดสิ่งรบกวน (noise) และง่ายต่อการนำไปประมวลผล
เพื่อให้ทราบแน่ชัดถึง   : -
      -  ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ หรือความเร็วรอบเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน(misfire detected)
      -  ตำแหน่งของเพลาข้อเหวี่ยงที่เคลื่อนที่ไปและตำแหน่งอ้างอิงสำหรับศูนย์ตายบน (TDC) ของสูบที่ 1
      -  ECU ใช้สัญญาณคลื่นความถี่นี้เป็นจุดอ้างอิงในการคำนวณเพื่อกำหนดองศาการจุดระเบิดก่อนถึง TDC (Ignition Advance) ให้กับแต่ละสูบ
     ส่วนการที่ ECU จะสั่งจุดระเบิดให้กับสูบใดนั้น จะต้องได้รับข้อมูลสัญญาณคลื่นไฟฟ้ามาจาก Engine speed sensor และ Camshaft Sensor  มาเปรียบเทียบประมวลผลร่วมกันเสมอ
      การทำงานของอุปกรณ์แบบ Inductive Type Pulse Generator นี้ใช้หลักการ  การเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กที่ตัดกับขดลวด ทำให้มีการเหนี่ยวนำและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นในขดลวด จากโครงสร้างจะเห็นว่ามีขดลวด (5) พันอยู่บนแกนเหล็กอ่อน (4) ที่ต่อติดกับแม่เหล็กถาวร (1) จึงมีเส้นแรงแม่เหล็กตัดผ่านขดลวด แต่จะยังไม่มีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นเพราะความเข้มของเส้นแรงแม่เหล็กยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง จนเมื่อปลายฟันเฟืองที่ทำจากเหล็กของ Flywheel เคลื่อนที่ไปใกล้หรือขณะที่กำลังเคลื่อนที่ผ่านออกจากปลายแกนเหล็กที่มีขดลวดพันอยู่   เส้นแรงแม่เหล็กจากแกนเหล็กก็จะวิ่งผ่านไปยังฟันเฟือง   ทำให้ความเข้มของสนามแม่เหล็กที่ขดลวดเปลี่ยนแปลงไป จึงเกิดการเหนี่ยวนำและมีไฟฟ้ากระแสสลับเกิดขึ้นในขดลวดเป็นคลื่นความถี่ตามแต่ละฟันที่ผ่านไป
      ด้วย Flywheel ring gear ที่ติดอยู่กับเพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์ EW10J4 ทำจากเหล็กขึ้นรูปเป็นถาดยกขอบ โดยขอบนี้จะถูกตัดออกเป็นซี่ฟันที่ห่างเท่าๆกันรวมทั้งวงมี 60 ฟัน และมี 2 ฟันที่ถูกเอาออกไปเพื่อใช้เป็นจุดอ้างอิงเพื่อบอกตำแหน่ง TDC ของลูกสูบที่ 1 ฉะนั้นเมื่อฟันของมู่เล่ผ่านหน้าเซ็นเซอร์ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสลับขึ้นในขดลวด โดยที่ความถี่และความกว้างของคลื่นสัญญาณนี้จะเป็นสัดส่วนกับอัตราความเร็วรอบของเครื่องยนต์   ด้วยฟันของมู่เล่มี 60-2 = 58 ฟัน นั่นคือทุกๆหนึ่งฟันที่เคลื่อนที่ไปหมายถึงเพลาข้อเหวี่ยงได้เคลื่อนที่ไป 360/60 = 6 ?  และจุดกึ่งกลางของคลื่นที่หายไปจะถูกใช้เป็นจุดอ้างอิง (Reference mark) ของศูนย์ตายบน (TDC) ของสูบที่ 1 นั่นเอง

ภาพประกอบโครงสร้างของอุปกรณ์, คลื่นสัญญาณไฟฟ้าที่ได้และ Flywheel ของเครื่องยนต์ EW10J4


* 420.jpg (94.58 KB, 850x421 - ดู 6587 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #36 เมื่อ: วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:03:39 »


4.3   Camshaft Position Sensor แบบ Hall Effect Sensor - เซ็นเซอร์เพลาราวลิ้น
   Camshaft Position Sensor จะส่งสัญญาณเป็นคลื่นไฟฟ้าสี่เหลียม เป็นจังหวะเช่นเดียวกันกับการ เปิด-ปิด สวิทช์ไฟฟ้าเพื่อ   : -
   1. ให้ทราบว่าถึงจังหวะที่จะต้องฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับหัวฉีดที่ถูกต้องตรงตามลำดับการจุดระเบิด
       การที่ ECU จะสั่งฉีดน้ำมันให้กับสูบใดนั้น จะต้องได้รับข้อมูลสัญญาณคลื่นไฟฟ้ามาจาก Engine speed sensor และ Camshaft Sensor  มาเปรียบเทียบประมวลผลร่วมกันเสมอ โดยทั้ง 2 Sensor มีความสัมพันธ์กันดังนี้คือ Crankshaft หมุน2 รอบ, Camshaft หมุน 1 รอบ
   2. ให้จดจำตำแหน่งของตำแหน่งศูนย์ตายบน (TDC) ของแต่ละลูกสูบ
   3. ให้ทราบว่าสูบใดไม่มีการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ (Combustion misfire)
ECU ก็จะสั่งการให้ฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับหัวฉีดประจำกระบอกสูบสูบตามลำดับการจุดระเบิดได้อย่างถูกต้อง  
 
     การทำงานของอุปกรณ์    เมื่อปี ค.ศ. 1879  นาย Edwin H. Hall นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้ค้นพบปรากกฎการณ์ทางไฟฟ้าอย่างหนึ่งคือ เมื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านแผ่นตัวนำไฟฟ้าไปทิศทางหนึ่ง   แล้วมีสนามแม่เหล็กตัดผ่านในแนวตั้งฉากกับแผ่นตัวนำนั้นก็จะเกิดแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ขึ้นในทิศทางตั้งฉากกับทิศทางของกระแสไฟฟ้าเดิม
     ต่อมาหลักการนี้ก็ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้ Silicon ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำมาเป็นแผ่น Hall (Hall Plate) และนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาขยายสัญญาณและไปกระตุ้นการ ปิด-เปิด สวิทช์อิเล็กทรอนิกส์ โดยได้สร้างรวมไว้ภายในตัวของ IC (Integrated Circuit) ทั้งหมด ในตัวของ Sensor นี้ประกอบด้วยแท่งแม่เหล็กถาวรติดอยู่ที่ปลายของ Sensor และอีกปลายหนึ่งของแม่เหล็กอยู่ตั้งฉากกับ Hall effect IC ซึ่งในสภาวะปกติ สวิทช์อิเล็กทรอนิกส์จะยังไม่ทำงานจนกว่าความเข้มสนามแม่เหล็กจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น        
     ด้วยที่ปลายข้างหนึ่งของเพลาราวลิ้นไอเสีย(Exhaust Camshaft) ของเครื่องยนต์ EW10J4   จะมีรอยบาก (Notch) โลหะลักษณะเป็นฟันเฟือง 4 ฟันอยู่ตรงข้ามกันตามและจะหมุนไปพร้อมกับเพลาราวลิ้นและมีอยู่ฟันหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าอีก 3 ฟันที่มีขนาดเท่าๆกัน เมื่อแต่ละฟันหมุนไปตรงกับแท่งแม่เหล็กของ Hall Effect Sensor ก็จะทำให้ความเข้มของสนามแม่เหล็กเปลี่ยนแปลงไป สวิทช์อิเล็กทรอนิกส์จะปิด-เปิด         จึงเกิดเป็นสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสี่เหลียม เป็นจังหวะเช่นเดียวกันกับการ เปิด-ปิด สวิทช์ไฟฟ้านั่นเอง
     แต่เนื่องด้วยตำแหน่งของจุด TDC ที่อยู่บนเพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft) จะต้องสัมพันธ์กับจังหวะการปิด-เปิดของลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียที่มีเพลาราวลิ้น (Camshaft) แยกออกจากกันเป็น 2 เพลา จึงต้องมีสายพานราวลิ้น (Timing Belt) เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์นี้ โดยเพลาทั้ง 3 มีความสัมพันธ์กันดังนี้คือ Crankshaft หมุน2 รอบ, Camshaft จะหมุนเพียงหมุน 1 รอบ   ดังนั้น ECU จำเป็นต้องใช้สัญญาณจากทั้ง Crankshaft และ Camshaft Position Sensorในการคำนวณกำหนดจังหวะ-เวลาและลำดับของลูกสูบ (1-3-4-2) ในการฉีดน้ำมันและการจุดระเบิด  
     ดังนั้นจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้เพลาทั้ง 3 อยู่ในตำแหน่งที่กำหนดเท่านั้น เมื่อทำการเปลี่ยนสายพานราวลิ้น
 
ภาพประกอบการทำงานของ  Hall Effect Sensor


* 431.jpg (87.95 KB, 950x389 - ดู 5928 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #37 เมื่อ: วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:04:32 »


ภาพประกอบตำแหน่งเพลาและฟันของเพลาลูกเบี้ยว (Exhaust Camshaft)


* 432.jpg (76.73 KB, 750x399 - ดู 6188 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #38 เมื่อ: วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:06:03 »


     ในเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ประกอบด้วยจังหวะ ดูด-อัด-ระเบิด-คาย นั้นในช่วงปลายของจังหวะคายและต้นจังหวะดูดของแต่ละลูกสูบ วาล์วไอเสียและวาล์วไอดีจะเปิดทั้งคู่ (Overlap) และมีการจุดระเบิดทิ้งเปล่า (Wasted Spark) แล้วตามด้วยการเริ่มฉีดน้ำมัน (Injection)   ดังนั้นจากเรื่องราวของ Engine Speed and crankshaft Sensor และ Camshaft Sensor ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นพอจะสรุปให้เห็นภาพเป็นวัฏจักรของเหตุการณ์ Ignition - Injection ? Valve timing ได้ดังนี้

ภาพประกอบสรุป วัฏจักรของ Ignition / Injection / Valve timing
  ขออภัยในความผิดพลาดขออนุญาตแก้ไขภาพประกอบ 433 ครับ


* 433.jpg (117.62 KB, 1000x562 - ดู 5495 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #39 เมื่อ: วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:30:55 »


พบกันไหม่ในวันพรุ่งนี้ครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #40 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:06:00 »


4.4   Vehicle Speed Sensor แบบ Hall Effect Sensor ? เซ็นเซอร์ตรวจจับความเร็วรถ
    Vehicle Speed Sensor มีหน้าที่ส่งสัญญาณเป็นคลื่นไฟฟ้าสี่เหลียม เป็นจังหวะเช่นเดียวกันกับการ เปิด-ปิด สวิทช์ไฟฟ้า ให้ ECU เพื่อ:-
   - นำไปคำนวณบอกความเร็วของรถยนต์
   - กำหนดการเปลี่ยนเกียร์ให้เหมาะสมกับความเร็วรถ   

    การทำงานของอุปกรณ์  ใช้หลักการทำงานของ Hall Effect Sensor เช่นเดียวกันกับการทำงานของCamshaft Sensor ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น


ภาพประกอบ Vehicle Speed Sensor


* 440.jpg (48.09 KB, 400x319 - ดู 6303 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #41 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:06:59 »


4.5  Inlet Air Temperature Sensor ? เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิอากาศ   
   ได้กล่าวไว้ข้างต้นในข้อ 1.4 แล้ว
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #42 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:11:14 »


4.6   Coolant Temperature Sensor – เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นเครื่องยนต์
    Coolant Temperature Sensor   มีหน้าที่คอยตรวจวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นในเครื่องยนต์ แล้วส่งสัญญาณเป็นแรงดันไฟฟ้า (Volt) ให้ ECU ใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลเพื่อปรับเปลี่ยนระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นงานหลัก โดยเมื่อเครื่องยนต์มีอุณหภูมิต่ำก็จะเพิ่มระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้นานขึ้น
      การทำงานของอุปกรณ์นี้ใช้หลักการเดียวกันกับ Inlet Air Temperature Sensor แต่ทำให้อยู่ในโครงสร้างที่แข็งแรงทนทานกว่ามาก
     Coolant Temperature Sensor นับเป็นอุปกรณ์หลักที่มีความสำคัญมากต่อการทำงานของ ระบบควบคุมเครื่องยนต์ - Engine Management Systems (EMS) เพราะ ECU จะใช้สัญญาณนี้ไปประมวลผลและส่งสัญญาณออกไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในระบบอื่นๆอีกหลายอย่างเช่น
   -  เพิ่มระยะเวลาในการฉีดเพื่อให้ได้ส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงหนาขึ้นในช่วงการอุ่นเครื่องยนต์จนกว่าจะถึงอุณหภูมิทำงานของเครื่องยนต์
   -  ให้ปิด EGR Valve ในช่วงการอุ่นเครื่องยนต์ เพื่อไม่ให้รอบเดินเบาไม่เรียบเครื่องยนต์สั่นไม่มีกำลัง
   - ให้ปิด Purge Valve ไม่ให้ไอน้ำน้ำมันเชื้อเพลิงในกระป๋องถ่านเข้าห้องเผาไหม้ ในช่วงการอุ่นเครื่อง
   -  บอกให้ ECU คงไว้ซึ่งอัตราส่วนผสมน้ำมันที่หนา ไม่ต้องสนใจสัญญาณที่ได้จาก Oxygen Sensor จนกว่าจะถึงอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์
   - ให้พัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำทำงานที่ความเร็วรอบต่างๆกันเมื่อถึงอุณหภูมิที่กำหนด ซึ่งมีสำคัญจำเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันการเกิด Overheat กับเครื่องยนต์
   - ให้ชะลอการ Lock up ในชุด Torque Converter ของเกียร์อัตโนมัติไว้ก่อน ในช่วงการอุ่นเครื่องยนต์ เพื่อการลดภาระที่เกิดจากชุดเกียร์ไปสู่เครื่องยนต์
   -  ส่งข้อมูลให้เกจวัดอุณหภูมิแสดงค่าที่หน้าปัดแสดงผล

ทั้งนี้เพื่อเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์ขณะใช้รอบเดินเบาและการขับขี่ในช่วงก่อนถึงอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์      ด้วย Coolant Temperature Sensor มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการทำงานหลายอย่าง ดังนั้นถ้า Sensor นี้ทำงานบกพร่องจะทำให้เกิดปัญหากับสมรรถนะของเครื่องยนต์ในช่วงการอุ่นเครื่องและระบบควบคุมมลภาวะ รวมถึงการสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น และแม้แต่วาล์วน้ำ (Thermostat) ที่เปิดตลอดเวลาก็จะส่งผลให้เครื่องยนต์ร้อนช้าขึ้นด้วยเข้ามาร่วมเป็นปัจจัยเสริมของปัญหานี้ด้วยเช่นกัน

   ค่าความต้านทานที่  20 ° C = 6250   Ω,   ค่าความต้านทานที่ 80 ° C = 600   Ω

กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าความต้านทานไฟฟ้ากับอุณหภูมิ


* 460-Rev.jpg (110 KB, 850x749 - ดู 4834 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #43 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:12:41 »


4.7   Knock Sensor - เซ็นเซอร์ตรวจจับการเขก
   Knock Sensor ที่ติดตั้งอยู่กับเสื้อสูบใต้ท่อร่วมไอดี  มีหน้าที่คอยตรวจจับการเขกของเครื่องยนต์ที่เกิดจากการจุดระเบิดก่อนที่ลูกสูบจะถึง TDC มากเกินไปทำให้แรงดันภายในห้องเผาไหม้กระแทกลงที่หัวลูกสูบ แล้วส่งสัญญาณเป็นแรงดันไฟฟ้า (Volt) ให้ ECU ประเมินและสั่งการให้ปรับเปลี่ยน องศาการจุดระเบิดและเพิ่มปริมาณการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงไปพร้อมๆกันด้วย   ดังนั้นเมื่อ ECU ได้รับสัญญาณสั่นสะเทือนสูงกว่าค่ากำหนดแสดงว่ามีการเขกเกิดขึ้น ก็จะสั่งให้ปรับเปลี่ยนการจุดระเบิดให้เข้าใกล้ TDC มากยิ่งขึ้น จนกว่าเครื่องยนต์จะหยุดการเขก (Knocking)
     ด้วยเครื่องยนต์เบนซินได้พัฒนาให้มีอัตรากำลังอัดสูงเพื่อตอบสนองความต้องในการประหยัดเชื้อเพลิง, มีสมรรถนะสูงและยังต้องคำนึงถึงกฎข้อบังคับในการปลดปล่อยมลภาวะอีกด้วย จึงหมิ่นเหม่ต่อการเกิดการเขกที่เป็นอันตรายต่อเครื่องยนต์
     ทั้งนี้อัตราส่วนผสมของ อากาศ/น้ำมัน = 14.7 ต่อ 1 โดยน้ำหนักจะเป็นอัตราส่วนตามทฤษฎีที่ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์
     การทำงานของอุปกรณ์  ภายในตัวของ   Knock Sensor จะมีแผ่น Piezo-Electric ซึ่งมีคุณสมบัติในการแปลงแรงสั่นสะเทือนให้เป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับตามความถี่และความรุนแรงของการสั่นสะเทือน ติดอยู่บนแผ่นDiaphragm ที่จะคอยดูดซับเพื่อกรอง (Filter) คลื่นความถี่ของการจุดระเบิดปกติออกไปบางส่วนก่อน   

ภาพประกอบโครงสร้างของอุปกรณ์, คลื่นสัญญาณไฟฟ้าที่ได้


* 470.jpg (35.81 KB, 650x211 - ดู 5521 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #44 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:16:53 »


   4.8   Throttle Position Sensor - เซ็นเซอร์บอกตำแหน่งลิ้นปีกผีเสื้อ (ขอแก้ไขข้อมูลเป็นไปตามกระทู้ ตอบ # 81-92)
    Throttle position Sensor มีหน้าคอยบอกตำแหน่งการปิด-เปิดของลิ้นปีก แล้วส่งสัญญาณเป็นแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ให้ ECU ทราบว่าขณะนั้นเครื่องยนต์รับภาระมากน้อยเท่าใด
     เมื่อเครื่องยนต์มีภาระมากขึ้นความดันในท่อร่วมไอดีจะเพิ่มขึ้นตามการเปิดลิ้นปีกผีเสื้อ เครื่องยนต์ก็จะดูดอากาศได้มากขึ้น จึงมีความต้องการปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นด้วย และในขณะเดียวกัน ECU จะต้องกำหนดให้ทำการจุดระเบิดให้กับลูกสูบที่กำลังอัดอากาศเมื่อเข้าใกล้ TDC มากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์เขก (Knocking)
     การทำงานของอุปกรณ์ ใช้แผ่นความต้านทานไฟฟ้าคงที่ค่าหนึ่ง ที่มีชุดหน้าสัมผัสโลหะเคลื่อนที่อยู่บนแผ่นนั้น ทำให้ค่าความต้านทานถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน และเป็นสัดส่วนต่อกัน ซึ่งเรียกตัวต้านทานแบบนี้เรียกว่า Potentiometer ดังนั้นเมื่อเรายึดก้านของชุดหน้าสัมผัสนี้เข้ากับแกนของลิ้นปีกผีเสื้อค่าความต้านทานก็จะเปลี่ยนตามการเคลื่อนที่ของลิ้นปีกผีเสื้อตามแรงดึงจากสาย Cable ของแป้นคันแร่ง
    ECU จะนำค่าที่ได้ไปประโยชน์ดังนี้
       -  เพื่อปรับเปลี่ยนระยะเวลาการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสมกับสภาวะและภาระการใช้งานเครื่องยนต์
       -  ตัดการทำงานของคอมเพรสเซอร์แอร์และระบบคุมมลภาวะเมื่อลิ้นปีกผีเสื้อเปิดกว้างสุดขณะ Kick Down
       -  ตัดการทำงานของหัวฉีดเมื่อลิ้นปีกผีเสื้อกลับสู่ตำแหน่งปิดขณะถอนคันเร่งเพื่อลดความเร็ว
       -  บอกให้หน่วยควบคุมเกียร์ทราบภาระของเครื่องยนต์หรือเมื่อต้องการ Kick Down
   เมื่อ Throttle Position Sensor ทำงานบกพร่องจะแสดงอาการดังนี้เช่น รอบเดินเบาแกว่งขึ้นลง, กำลังเครื่องยนต์ไม่คงที่ทำให้ความเร็วรถ พุ่งๆ-แผ่วๆ, เครื่องยนต์กระพือหรือสะดุดขณะเร่งเครื่อง, ความเร็วรอบตกวูบวาบ และอาจมีไฟ Engine Check ขึ้นร่วมด้วย

ภาพประกอบ Throttle position Sensor


* 480.jpg (38.98 KB, 600x325 - ดู 5870 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #45 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:19:00 »


4.9   Power Steering Fluid Pressure Switch - สวิทซ์แรงดันน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์
    Power Steering Fluid Pressure Switch    มีหน้าที่คอยตรวจจับแรงดันน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ เมื่อแรงดันสูงขึ้นถึงค่ากำหนด (35 Bar.)หน้าสัมผัสภายในตัวสวิทซ์ก็จะต่อติดกัน   ส่งสัญญาณให้  ECU ทราบว่าขณะนั้นเครื่องยนต์มีภาระมากขึ้นทำให้รอบเครื่องตก เช่นขณะหมุนพวงมาลัยจนสุดด้านใดด้านหนึ่งในขณะใช้รอบเดินเบาหรือเมื่อความเร็วรถต่ำกว่า 4 ก.ม. /ชม. หรือขณะเข้าจอด เป็นต้น     ECU ก็จะสั่งให้มอเตอร์เดินเบาเปิดให้อากาศผ่านเข้าได้มากขึ้นเพื่อชดเชยรอบเครื่อง
    การทำงานของอุปกรณ์ Power Steering Fluid Pressure Switch แบบ Diaphragm นี้ประกอบด้วยแผ่น Diaphragm, สปริง, ก้านกระทุ้ง (Plunger), แผ่นโลหะหน้าสัมผัสและขั้วต่อไฟฟ้า
    หลักการทำงานมีดังนี้คือ สปริงจะออกแรงดันให้แผ่นโลหะหน้าสัมผัสแยกตัวออกจากขั้วต่อไฟฟ้าและกดก้านกระทุ้งให้ต่ำลงมาแนบติดกับ Diaphragm กระแสไฟฟ้าจึงยังผ่านไปไม่ได้   ต่อเมื่อแรงดันน้ำมันสูงขึ้นจนชนะแรงต้านของสปริงก็จะดันให้ Diaphragm โป่งขึ้นไปดันให้ก้านกระทุ้งและแผ่นโลหะหน้าสัมผัสขึ้นไปแตะกับขั้วต่อไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจึงผ่านไปได้   

 ภาพประกอบหลักการทำงานของ Power Steering Fluid Pressure Switch 


* 490.jpg (48.65 KB, 650x275 - ดู 5809 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #46 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:23:31 »


 :พักสบาย: พบกันใหม่พรุ่งนี้ครับ[/color]


* Lotus.jpg (79.71 KB, 600x375 - ดู 5342 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
studee
สิงห์ปริญญาโท
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 322



« ตอบ #47 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2009 เวลา 19:55:59 »


นักเรียน กราบบบบ......

ขอบบบ คูณณณณ ครับบบบ คูณครู......
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

หน้า: 1 [2] 3 4 5 ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.20 | SMF © 2006-2008, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF | Sitemap Valid XHTML 1.0! Valid CSS!