Lambda และ Oxygen sensor มีการสนองตอบการทำงานเหมือนกัน คือวัดส่วนผสมของ Oxygen ที่ยังหลงเหลืออยู่โดยการเผาไหม้ ค่าที่จะออกมาเป็นค่าความต้านทาน สามารถวัดค่าความต่างได้โดยการป้อนไฟ 5 VDC เข้ากับเกจวัด และตัว sensor ทั่วๆ ไปจะอยู่ที่ ค่าสูงสุด 1.0 VDC คือค่าจะวิ่งระหว่าง 0.01 จนถึง 1.0 VDC
ค่าต่างๆ จะบอกความหนาบางของส่วนผสมดังนี้
ระหว่าง 0.45 ถึง 1.00 โวล์ท หมายถึง ส่วนผสมหนา
ระหว่าง 0.01 ถึง 0.45 โวล์ท หมายถึงส่วนผสมบาง
ส่วนผสมที่เหมาะสมอยู่ที่ 0.45 โวล์ท หรือที่เขาเรียกว่า Stoichiometric Mixture
การทำงานของ Sensor นี้จะสามารถเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานได้ด้วยการทำปฎิกริยาจากสารเคมีที่เคลือบอยู่ และตัวสารเคมีนี้จะทำงานได้ต่อเมื่อได้รับความร้อนจากท่อไอเสียประมาณ 3 นาทีหลังสตาร์ทเครื่องครั้งแรก แต่ในต่างประเทศ(เมืองที่หนาวมากๆ) บางครั้งความร้อนในท่อไอเสียก็ไม่สูงพอ เขาจึงสร้างเจ้า Sensor นี้เป็น 2 ระบบ คือ ระบบธรรมดา ที่เรียกว่า Oxygen Sensor มีสายไฟออกมาเส้นเดียว และอีกระบบเรียกว่า Lambda มีสายไฟออกมา 3 หรือ 4 เส้น
Oxygen Sensor : อาศัยความร้อนจากท่อไอเสีย มีตัวถังเป็น Ground (ต้องรอให้ร้อนจึงจะทำงาน)
Lambda : มีไฟ 12 โวล์ท เข้าไปเลี้ยงเพื่อเป็น Heater ให้ความร้อนตัวเอง ไม่สนว่าอากาศภาย นอกจะหนาวหรือร้อน (ไม่ต้องรอ ทำงานได้เลย)
ผู้จะใช้ก็ควรที่จะมีพิจารณญานว่าจะจ่ายแพงเพื่อติดตั้ง Lambda หรือไม่
ตามปกติแล้ว Sensor ตรวจวัดความหนาบางของส่วนผสมนี้ จะต้องใช้ร่วมกับ ECU เพื่อเป็นข้อมูลในการจ่ายเพิ่มหรือหรี่น้ำมัน และส่วนใหญ่เครื่องยนต์ที่ใช้ คาร์บูเรเตอร์ จะไม่ได้ควบคุมด้วย ECU และ คาร์บุเรเตอร์ ก็ไม่สามารถคตวบคุมให้ส่วนผสมหนาหรือบางด้วยตนเอง เพราะในขณะที่ช่างเขาตั้งคาร์บิว เป็นที่เครื่องเดินเบาเท่านั้น เมื่อเครื่องใช้งาน จริง น้ำมันจะไหลผ่านนมหนู ส่วนผสมจะหนาหรือบางขึ้นอยู่กับรูของนมหนู ใช้ไปนานๆ รูมันก็กว้างขึ้น ก็ต้องไปเปลี่ยนตัวใหม่ ระดับน้ำมันในประเปาะกักน้ำมันก็มีผล ก็ต้องไปตั้งที่ลูกลอย แล้วมันก็ตายตัว
สรุป Oxygen Sensor หรือ Lambda ไม่ได้ช่วยอะไรเลย เพียงแค่รู้ว่าในขณะที่วัด สถานะของคาร์บิวเป็นอย่างไร เท่านั้นเอง

