ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันพุธที่ 30 เมษายน 2025 เวลา 22:20:09

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

315,832 กระทู้ ใน 27,428 หัวข้อ โดย 14,887 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: bigboys
* หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
+  Vlovepeugeot ชมรมคนรักเปอโยต์ (เปอร์โยต์) ประเทศไทย
|-+  หมวดหมู่ทั่วไป [ General topics ]
| |-+  LPG & NGV (ผู้ดูแล: gasman)
| | |-+  ประสบการณ์กับการติดตั้ง และใช้งาน LPG มาเล่าสู่กันฟัง
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ประสบการณ์กับการติดตั้ง และใช้งาน LPG มาเล่าสู่กันฟัง  (อ่าน 10838 ครั้ง)
zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 06 ธันวาคม 2007 เวลา 12:50:28 »


ประสบการณ์กับการติดตั้ง และใช้งาน LPG มาเล่าสู่กันฟัง

ปัจจุบันมีรถที่ใช้งานไป ซ่อมไป(ส่วนใหญ่ทำเอง) อยู่สองคัน
คันแรก PG505 เครื่องเดิม คาร์บูเรเตอร์
คันทีสอง PG405 เครื่อง 3s-fe หัวฉีด เพิ่งได้มาตอนนี้กำลังปรับปรุงอยู่(แต่ระบบเผาไหม้เกื่อบนิ่งแล้ว)
ทั้ง 2 คันใช้ระบบ Fix Mixer และกรองเปลือยทั้งคู่

เอาเรื่องของ PG505 ก่อน
สภาพเครื่องเปลี่ยนลูกสูบ แหวนมาก่อนไม่กี่เดือนก่อนติดตั้ง LPG เพราะปะเก็นฝาสูบแตก(รู้นานแล้วแต่ไม่แก้ซักที)
เลยถือโอกาสซ่อมบำรุงระบบไอดีทั้งหมด ตั้งแต่ปั๊มติก ท่อเบนซิน(เพราะมาใช้แกสโซฮอล95) คาร์บูเรเตอร์ ท่อไอดี
จนแน่ใจว่าไม่มีมีรูรั่วในระบบไอดี
คาร์บูเรเตอร์อันเดิมปรับปรุงเอาเองด้วยประสบการณ์ดี ๆ จากเวบนี้จนมันทำงานได้อย่างที่ควรเป็น
ความสมบูรณ์ขนาดวอร์มตอนเช้าเป็นไอเสียจะมีไอน้ำปนออกมา ปลายท่อไอเสียมีเขม่าน้อยมาก
รอบเดินเบาตามสเปค 750 rpm เปิดแอร์ได้โดยไม่มีระบบชดเชยรอบเดินเบา
อัตราการบริโภค ถ้าวิ่งยาว ๆ ด้วยความเร็วประมาณ 90-110 แบบกดนิ่ง ๆ เคยทำได้ 13 Km/Litre
*ก่อนติดตั้งLPG ต้องแน่ใจว่าระบบแกสโซลีนไม่มีปัญหา
รถหลายคันที่ระบบแกสโซลีนมีปัญหา คราบเบนซินเยิ้มตั้งแต่ปากคาร์บู จนถึงปลายท่อไอดี
ไปติดตั้ง LPG แล้วจนป่านนี้ยังแก้ปญหาไม่จบ *

สภาพปัจจุบันก็ยังทำได้อยู่ แต่นาน ๆ จะทดสอบระบบแกสโซลีน(เบนซิน)ที ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านแทบจะใช้ LPG 100%
เรียกว่าสตารท์แกส วิ่งแกส กันตลอด ที่ทดสอบเพราะการติดตั้ง LPG ทำให้ต้องติดกรองเปลือยแทนกรองอากาศอันเดิม
ผ่านมา 2 ปีกว่า พบว่าจะมีเศษฝุ่นอย่างละเอียดเข้าไปอุดตันในคาร์บูประจำ อาจเป็นเพราะไม่ค่อยมีเบนซินไปชะล้างออกมา
ก็เล่นปล่อยกันให้คาร์บูแห้ง (เวลาใช้แกสมันต้องปิดปั๊มเบนซิน แล้วใช้เบนซินให้หมดคาร์บู)
เวลาติดเครื่องด้วยเบนซิน แล้วมีอาการเดินเบาไม่สะดวกก็ต้องถอดคาร์บูมาล้างช่องเดินเบา

เรื่องของการติดตั้ง LPG
ระบบ Fix Mixer หม้อต้มยี่ห้อ Alitalia (หน้าตาเหมือน Toma เดะ)
เริ่มต้นจากการถอดกรองอากาศอันเดิมออก ใช้ท่ออากาศของ Izusu กลับด้านและปรับปรุงนิดหน่อย
ทำให้ครอบปากคาร์บูรูปวงรีได้อย่างสนิท ข้างบนแตะฝากระโปรงพอดี(ตอนนี้ถูกันจนเป็นมันแล้ว)
ด้วยความจำเป็นทำให้ตำแหน่งของ Mixer ต้องห่างออกมาจากปากคาร์บูพอประมาณ
* ตอนนี้สรุปเอาจากประสบการณ์จาก 2 คัน ว่า Mixer ควรอยู่ห่างจากปีกผีเสื้อซักหน่อยจะดีกว่า*
พอติดตั้งเสร็จมีปัญหาคือ ใช้ LPG ได้ดี แต่มีปัญหากับ การใช้เบนซิน
ก็เริ่มหาความรู้เพิ่มเติมจาก www.gasthai.com และเวบนี้
สมมติฐานแรก อากาศน้อยเพราะมีอาการตื้อในรอบสูง รอบเดินเบาเร่งกว่าปกติ พอปรับนมหนูอากาศก็สะอึกสะอื้น
และสิ่งที่เพิ่มเข้ามาในระบบไอดี คือ Fix Mixer
 Mixer ที่ติดตั้งเป็นของรถหัวฉีดที่ร้านบอกว่าใช้กับ Honda Accord ขนาด รูรีดอากาศ 24 มม.
(ตอนนั้นคำนึงถึงขนาดที่จะต้องใส่เข้าไปในท่ออากาศให้พอดีเป็นหลัก)

หน้าที่ของ Mixer คือสร้างแรงดูดให้เกิดที่หม้อต้ม โดยเพิ่มความเร็วของอากาศผ่านช่องที่แคบลง
หลังช่องนั้นจะเกิดสูญญากาศบริเวณ LPG จะได้ไหลออกมาผสมกับอากาศ และสู่ห้องเผาไหม้
ตามความกว้างของช่องเปิดจากลิ้นเร่ง(ปีกผีเสื้อ)ของคาร์บู
ที่เกิดจากสูญญากาศเมื่อลูกสูบเคลื่อนตัวลง และวาวล์ไอดีเปิดออก
*ถ้ารวมกับหม้อต้มแล้ว มันก็คือ คาร์บูเรเตอร์แบบหยาบ ๆ สำหรับ LPG นั่นเอง*
แต่ผลที่เกิดขึ้นกับ คาร์บูเรเตอร์
1. ปริมาณอากาศน้อยลงเพราะพื้นที่ของช่องอากาศถูกปิดไปมากกว่าครึ่งของที่ออกแบบไว้
ถึงแม้ว่าช่องอากาศจะถูกออกแบบให้เผื่อไว้มาก ๆ ก็ตาม
2. อากาศพุ่งแรงขึ้นจะกระทบกับระบบ Mixer เบนซินในคาร์บู เพราะในระบบนั้นมีการสร้างแรงดูดที่เป็นต้นแบบ
ของ Mixer อยู่เหมือนกันเพียงแต่ต้องการแรงเดินทางของอากาศตามแรงดูดจากลูกสูบตามปกติที่ออกแบบไว้เดิม
เมื่ออากาศถูกเร่งความเร็วจาก LPG Mixer แล้ว Mixer ของคาร์บูจะดูดเบนซินมากขึ้นแต่อากาศน้อยลง
เพราะกว่าอากาศจะเดินทางผ่าน LPG Mixer ได้หมดสิ้นและพอดีกับอัตราส่วนผสมที่ควรเป็น วาวล์ไอดีก็ปิดแล้ว

ผลที่เกิดแค่ 2 สมมติฐานก็จูนกันหน้ามืดเดี่ยวปรับนมหนูอากาศ เดี๋ยวปรับองศาจุดระเบิด ไม่ลงตัวซักที
(จะเลิกใช้เบนซินก็ทำไม่ได้ ตอนนั้นปั๊มแกสไม่ได้มีทุกจังหวัดเหมือนตอนนี้ จะไปไกล ๆ ทีต้องศึกษาแผนที่ปั๊มแกสกันก่อน
และถ้าระบบแกสเสียแล้วจะเอารถกลับบ้านได้อย่างไร ยิ่งไปเสียในที่ๆไม่ควรจะเสีย)
การที่จะไปแก้ไขระบบเบนซินตาม LPG ยิ่งจะไปกันใหญ่

ดังนั้นอันดับแรกที่คิด คือ ปรับรูปร่างของ LPG Mixer ให้แก้ปัญหาตามสมมติฐาน 2 ข้อแรก
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« ตอบ #1 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 06 ธันวาคม 2007 เวลา 13:26:12 »


รูปหน้าตัดของ Mixer เดิมก่อนปรับปรุง
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« ตอบ #2 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 06 ธันวาคม 2007 เวลา 13:28:43 »


รูปหน้าตัดของ Mixer
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« ตอบ #3 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 07 ธันวาคม 2007 เวลา 10:01:38 »


ทางเดินของอากาศใน MIXER
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« ตอบ #4 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 07 ธันวาคม 2007 เวลา 10:27:23 »


จากภาพอากาศจะพุ่งเข้ามาแทนที่สูญญากาศในกระบอกสูบ
เริ่มจากหม้อกรองอากาศ ท่ออากาศ ถึงปากของ LPG Mixer โดยความเร็วสูง ยิ่งรอบจัดยิ่งเร็ว
ส่วนใหญ่ ปากของ LPG Mixer(แบบครอบท่อ) จะมีรอยบากไว้เผื่อสำหรับนำท่ออากาศใส่ไว้ข้างใน(หรือเปล่า ไม่แน่ใจ)
แต่นี่เป็นจุดแรกทีเป็นอุปสรรคในการเดินทางของอากาศ ใน LPG Mixer
ถ้ามองเผิน ๆ อากาศน่าจะเดินทางมาถึงรอยบากแล้วก็เลาะขึ้นมาตามพื้นผิว
ตามภาพ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« ตอบ #5 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 07 ธันวาคม 2007 เวลา 10:44:31 »


ถ้าอากาศเดินทางช้า ๆ ค่อยไหล(นึกถึงภาพน้ำที่ไหลข้ามฝาย เขื่อน หรือน้ำตกก็ได้)
น้ำจะเดินทางตามพื้นผิวได้เรื่อย ๆ เพราะไม่มีแรงต้านจากแนวปะทะที่เป็นมุมฉากกั้นไว้
ถ้าน้ำมาปริมาณมาก ๆ  แรง ๆ และมาพร้อมๆ กัน ตรงมุมฉากจะเป็นจุดอับที่มแทบไม่มีการเคลื่อนที่
จะไปข้างบนก็โดนน้ำข้างบนที่เดินทางสะดวกกว่าข้ามไปหมด ส่วนที่ตามหลังมาก็อัดให้ไป
คงจะหมุนวนอยู่แถวนั้น
รูปแบบการเคลื่อนที่ของอากาศ ใน LPG Mixer ที่มีรอยบากตรงปากน่าจะเป็นแบบนี้
ซึ่งจะถูกบีบและเคลื่อนที่อย่างทุลักทุเล เอาแน่นอนไม่ได้
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« ตอบ #6 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 07 ธันวาคม 2007 เวลา 11:21:29 »


สิ่งที่ปรับปรุงครั้งแรก คือ เอา Mixer ไปให้โรงกลึง ปาดรอยบากด้านในออก
ไปจนถึงช่องรีดอากาศ จากภาพจะเห็นเป็นเส้นตรง แต่จริงแล้วให้ช่างกลึง
ปลายทั้งสองเป็นเส้นโค้งนิด ๆ ลักษณะคล้ายปากแตร
(ตอนนั้นพยายามเลียนแบบลักษณะของคาร์บูให้มากที่สุด)
ช่องรีดอากาศเลยโดนขยายออกไปอีกนิดหน่อย
ขัดผิวด้วยกระดาษทรายให้เรียบ ใส่กลับเข้าไปในท่ออากาศ อุดรู LPG เข้าให้สนิท
ทดสอบด้วยการเดินเครื่องด้วยเบนซิน
ผลจากการใช้สัมผัสแบบช่างเถอะ การเดินเครื่องเรียบขึ้นอย่างรู้สึกได้
เลยโมเมเอาว่ามาถูกทางแล้ว
จัดการถอด Mixer ออกมาขัดถูกันด้วยกระดาษทราย
โดยการขยายช่องรีดอากาศของ LPG Mixer แบบตรง ๆ ก่อน แล้วค่อยถูปรับให้มน
ถอดออก ใส่เข้า ลองอยู่หลายครั้ง
จนเหมาเอาว่ามันเดินเครื่องด้วยเบนซินที่มี LPG Mixer มาขวางทางไว้นั้นดีแล้ว
(ความจริงพอใจแล้วมากกว่า)
* ตอนหลังตรงบริเวณปากช่องรีด ถูกขัดให้เป็นร่องเฉียง ๆ คล้ายๆ เกลียว อีก 3 ร่อง
เพราะจริง ๆ แล้วอากาศเดินทางผ่านช่องรีดมีลักษณะเป็นหมุนเป็นเกลียวมากกว่า
เลยคิดว่าน่าจะส่งเสริมให้มันหมุนตามทิศทางที่เราบังคับเลยจะดีกว่า*

แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« ตอบ #7 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 07 ธันวาคม 2007 เวลา 11:24:29 »


*เดี๋ยวนี้จะพบว่า LPG Mixer แบบฝังในท่อจะไม่มีรอยบากด้านในเพราะไม่จำเป็น
ซึ่งได้หามาใช้ใน PG405 แล้ว*
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« ตอบ #8 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 07 ธันวาคม 2007 เวลา 12:32:38 »


ถึง PG 505 คันนี้จะไม่ใช่รถยนต์ที่ใช้ และดูแลรักษาคันแรก
แต่เป็นรถที่ต้องทำเกี่ยวกับเครื่องยนต์เองเกือบทั้งหมด เพราะช่างที่เมืองผมอยู่ส่วนใหญ่เห็นเปอโยต์แล้วส่ายหน้า
ไม่ค่อยคุ้มค่าที่จะซ่อมให้ อะหลั่ยก็หายาก ซ่อมทีต้องทิ้งรถไว้เกะกะที่ในอู่หลายวัน
ดีที่มีที่พึ่งจากประสบการณ์ในเวบนี้ เลยต้องดูแลกันเอาเอง สงสัยอะไรก็มาค้นหากระทู้เก่า ๆ บ้าง ถามเอาบ้าง
เอาไปลองทำแบบลองผิดลองถูก ด้วยใช้ข้อมูล เช่น Spec รอบเดินเบา ระยะวาล์ว
ทำเอามันสามารถวิ่งได้ไกล ๆ แบบมั่นใจได้
(โดยมีเครื่องมือและอะหลั่ยบางอย่างติดหลังรถตลอดเวลา)
แต่ก็รักและผูกพันกันดีจนบัดนี้

การจูนอัพ ระบบ LPG
การปรับ ระบบ LPG โดยใช้ Fix Mixer
ในความคิดของตัวเองแล้ว Fix Mixer ถูกจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วงรอบเครื่องระยะหนึ่งเท่านั้น
*ไม่ขอยืนยันความคิดนี้
สำหรับ PG505 เลือกเอาช่วงที่ 750-3000 รอบ โดยยึดเอาการเดินเครื่องด้วยเบนซินเป็นหลักในการเทียบเคียง
(ตอนนั้นสายไมล์ขาด คะเนเอาว่า วิ่งเกียร์ห้าที่ 3000 รอบ มันก็เร็วพออยู่แล้ว
ต่อมาอยากรู้ว่าอัตราบริโภคจึงไปขวนขวายหาสายไมล์มาใส่ ลงทุนเยอะพอสมควร
เพราะสั่งอะหลั่ยไปที่ร้านส่งสายไมล์คนละรุ่นมาให้ ยาวกว่าซักครึ่งเมตรได้แล้วบอกว่าขด ๆ ม้วน ๆ เอาได้ไหม
เลยต้องเอาไปเปลี่ยนเอง พอดีใช้แกส ประหยัดต้นทุนไปเยอะ )

แนวคิดในการปรับจูนระบบ LPG โดยใช้ Fix Mixer
1. ให้ LPG มาผสมกับอากาศในอัตราส่วนที่พอเหมาะในรอบเครื่องต่าง ๆ
2. ให้สามารถตอบสนองการเร่งได้ใกล้เคียงกับการใช้เบนซิน
3. เกิดปัญหาต่อระบบเครื่องยนต์น้อยที่สุด
*ข้อควรระวังอย่างยิ่ง อย่าปรับจูนให้กินแกสน้อยที่สุด หรือประหยัดสุด ๆ เพราะมันปรับง่าย
แต่ผลเสียที่ตามมาอาจจะมากจนคาดไม่ถึง เอาให้ใกล้เคียงกับเบนซินที่สุดก็พอ

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับจูน
1. คุณภาพและลักษณะการทำงานของระบบอุปกรณ์ลดความดัน LPG ที่เรียกว่า หม้อต้ม
ตัวนี้สำคัญที่สุด
2. ลักษณะของ Fix Mixer
ลักษณะของ Fix Mixer เช่น ความลาดชันของช่องรีด ขนาดรูรีด รูแกสออก ความเรียบของพื้นผิว ล้วนแต่ให้ผลต่อการปรับจูน
3. ระยะห่างของ Fix Mixer ถึงปากทางเข้าของคาร์บูเรเตอร์ หรือลิ้นเร่งของระบบหัวฉีด
4. ระยะจาก LPG Out ของหม้อต้ม ถึง Fix Mixer
5. ลักษณะของวาล์วกลางสาย
6. อุณหภูมิของน้ำร้อน อุณหภูมิของอากาศ

เกณฑ์ความพึงพอใจโดยอาศัยสัมผัส
ให้ใช้การเดินเครื่องด้วยเบนซินเป็นหลักเทียบเคียง ทั้งการเดินเบา อัตราเร่ง อุณหภูมิของน้ำ
ถ้าให้การประสิทธิภาพของการเดินเครื่องด้วยเบนซิน เป็น 100
น่าจะปรับให้การเดินเครื่องด้วย LPG ได้ใกล้เคียงกับ 100
*ถึงแม้มันจะทำให้เร่งได้ดีกว่าใช้เบนซินก็ตาม แต่เป็นทางเลือกที่ไม่น่าทำ
 
 
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
SO Good
สิงห์ประถม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 53


« ตอบ #9 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 07 ธันวาคม 2007 เวลา 22:42:46 »


  ต่อครับ.....เป็นประโยชน์มากๆครับ.....
ผมกำลังจะติดแก๊สครับ....ไว้ขอคำแนะนำบ้างนะครับ....505 เหมือนกัน.....ครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« ตอบ #10 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2007 เวลา 10:28:21 »


ภาพหม้อต้ม และอุปกรณ์ต่าง ๆ
หม้อต้มยี่ห้อ Alitalia (หน้าตาและระบบเหมือนกับTomasetto)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
ภณ(PON)
สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม
Administrator
เซียนสิงห์
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,041



เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2007 เวลา 10:47:37 »


ดีครับ ดีมากๆๆ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

รูปงาน Meeting ครบ 10 ปี
http://www.vlovepeugeot.com/forum/index.php?topic=22111.0

คิดถึง Mi16 จังเลยอือๆ
โชคดีโชคร้ายไม่มี....แตกต่างเพียงมุมมองในสถานการณ์

มีปัญหาเรื่องรถก็โทรคุยกันได้ ช่วยบอกชื่อท่าน รุ่นรถก่อนถาม
และเคารพสิทธิส่วนบุคคลผมด้วยครับ เบอร์ 084-556-8หกหกหก
วิดีโอของชมรมนะครับ : http://www.youtube.com/vlovepeugeot
สนใจสมัครนักเขียน : http://www.allwhatever.com
zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« ตอบ #12 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2007 เวลา 12:34:20 »


ข้อควรคำนึงก่อนปรับจูน LPG Fix Mixer
1. ควรแน่ใจว่าการเดินเครื่องด้วยเบนซินมีความสมบูรณ์ โดยเฉพาะระบบที่เกี่ยวข้องกับอากาศ
   ตั้งแต่ความสะอาดของใส้กรองอากาศ ท่อลมและVaccum ต่างๆที่เกี่ยวข้องไม่ให้มีการรั่ว ซึม อุดตัน หัก งอ 
   เพราะเคยต้องกลับมาตรวจสอบ และแก้ไขใหม่ทั้งหมด ด้วยการทำความสะอาด Vaccum ท่อลม เปลี่ยนท่อลมที่แข็ง แตก บริเวณจุดเชื่อมต่อ
2. ควรตรวจสอบ ทำความสะอาด ระบบจุดระเบิด เช่นล้างหัวเทียน ทำความสะอาดหัวนกกระจอก ขั้วสายหัวเทียน ปลั๊กหัวเทียน
    Vaccumปรับองศา(มีท่อลมต่อไปที่คาร์บูเรเตอร์)
    รวมทั้งปรับตั้งองศาจุดระเบิดให้พอดีหรือใกล้เคียงมากที่สุด
3. ควรปรับจูนหลังจากระบบโช้คเปิดแล้ว หรือให้วาล์วหลังปั๊มน้ำเปิดแล้ว (อุณหภูมิน้ำร้อนประมาณ 72-75 C)

หน้าที่ของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปรับจูน
1. หม้อต้ม มีหน้าที่ ควบคุมแรงดัน LPG ให้คงที่ เพิ่มอุณหภูมิของ LPG (ตามอุณหภูมิของน้ำร้อนในระบบ) ควบคุมการจ่าย LPG
2. Fix Mixer มีหน้าที่ สร้างเพิ่มแรงดูดให้ LPG จากหม้อต้ม ผ่าน Power Value ไปยังปั๊มในหม้อต้ม
   และผสม LPG กับอากาศเป็นไอดีส่งเข้าห้องเผาไหม้ไปในที่สุด
3. Power Valve (หรือวาล์วกลางสาย) มีหน้าที่ ควบคุมแรงดูดจาก Fix Mixer ไปยังปั๊มในหม้อต้ม
    ซึ่งเป็นการควบคุมปริมาณ LPG ที่จะออกจากปั๊มในหม้อต้มไปยัง Fix Mixer ด้วยเช่นกัน
    ตัวนี้จะสัมพันธ์กับความสามารถในการดูดของ Fix Mixer เช่น ถ้า Fix Mixer สามารถสร้างแรงดูดได้มาก ก็จะต้องการพื้นที่ในการเปิดวาล์วน้อยลง
    (เคยเปลี่ยน Fix Mixer ที่มีลักษณะต่างกัน ขณะที่อย่างอื่นเหมือนเดิม ต้องลด Power Valve ถึง 2 รอบเพื่อให้ทำงานสัมพันธ์กับปั๊ม)
   และจะมีผลต่อการทำงานของปั๊มในหม้อต้ม(ซึ่งควบคุมด้วย Sensitive Screw)
   *Power Valve ควรใช้แบบที่มีสปริงดันสกรูเพื่อความสะดวกในการปรับตั้ง และช่วยไม่ให้อากาศรั่วเข้าไปในขณะปรับตั้ง
   * ระยะท่อจากหม้อต้มถึงFix Mixer จะมีส่วนต่อการปรับ Power Valve และ Sensitive Screw ด้วยเช่นกัน
     จากภาพนั่นเป็นการติดตั้งที่ให้ระยะสั้นมาก ๆ การปรับ  Power Valve และ Sensitive Screw เพียงเล็กน้อยจะมีผลตอบสนองทันที
4.  Sensitive Screw ถ้าแปลความหมายจะเป็นตัวควบคุมความไวต่อการตอบสนองต่อแรงดูดจาก Fix Mixer ผ่าน Power Valve
     ส่วนใหญ่แล้ว การหมุนเข้า(ทิศทางตามเข็มนาฬิกา)ทำให้การตอบสนองช้าลง ซึ่งจะต้องใช้รอบเครื่องสูงขึ้นเพื่อให้ปั๊มทำงานจ่ายแกส
     การหมุนออก(ทิศทางทวนเข็มนาฬิกา)ทำให้การตอบสนองเร็วขึ้นลง ซึ่งจะใช้รอบเครื่องต่ำลงเพื่อให้ปั๊มทำงานจ่ายแกส
     * ทิศทางการหมุนนี้อาจจะต่างกันสำหรับหม้อต้มยี่ห้ออื่นให้ศึกษาจากคู่มือด้วย
     ส่วนใหญ่แล้วจะตั้งไม่ให้ปั๊มทำงาน(หรือทำงานน้อยทีสุด)ในรอบเดินเบา และทำงานเมื่อเร่งเครื่องทันที
     * เคยใช้หม้อต้มที่มีปั๊มสองชั้น ปั๊มตัวเล็กมีท่อต่อไปยังท่อไอดีโดยตรง พอแผ่นยางปั๊มตัวนี้รั่วใช้รอบเดินเบาไม่ได้เลย
        ยังซ่อมไม่ได้ เสียดายจัง
    ตัวนี้ทำงานสัมพันธ์กับ Power Valve มากที่สุดมักจะต้องปรับตั้งไปด้วยกัน
    เช่น ถ้าSensitive ทำงานตอบสนองจากรอบเดินเบาได้แล้วในการจูนขณะจอด แต่เมื่อวิ่งแล้วรถไม่มีกำลัง เร่งไม่ขึ้น มีอาการเข็ก น็อก
   ก็ต้องเปิด Power valve ให้ปรับส่วนผสมของแกสเพิ่มขึ้นด้วย เป็นต้น
5. Idle Screw เป็นส่วนควบคุมปริมาณแกสให้พอดีกับอากาศในรอบเดินเบา และจะทำงานตลอดเวลาเมื่อเปิด Solinoid Valve ให้ทำงาน
    โดยจะปล่อยแกสจากหม้อต้มเข้าไปในท่อไอดีตรง ๆ เปิดมากแกสจะเข้าไปมากส่วนผสมจะหนาขึ้น
    ถ้ามากเกินเครื่องจะดับ(หรือทำท่าจะดับ)เพราะส่วนผสมหนา น้อยลงเครื่องจะเร่งขึ้น น้อยเกินเครื่องก็ดับเพราะส่วนผสมบาง
    และถ้าเครื่องมีปัญหากับระบบเดินทางหายใจต่าง ๆ เมื่อตั้งแล้วจะบัดเดี๋ยวดี บัดเดี๋ยวร้าย จูนไม่นิ่ง
6. Solinoid Valve เป็นวาล์วปิดเปิดให้แกสเข้าสู่หม้อต้มด้วยไฟฟ้า ถ้าปิดระบบแล้ว Solinoid Valve ยังปล่อยแกสออกมา หรือรั่ว ซึมเข้าไปในหม้อต้มได้
    จะอันตรายมาก เพราะเมื่อปิดเครื่อง ปิดระบบแล้ว แกสจะรั่วผ่านออกมาค้างที่ท่อไอดี ในห้องเครื่อง ถ้ามีการจุดประกายไฟก็บึม
    ถึงจะไม่เกี่ยวกับการปรับจูนมากนัก แต่ต้องตรวจสอบการทำงานของมันเป็นระยะ ๆ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« ตอบ #13 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2007 เวลา 15:18:52 »


เทคนิคในการปรับตั้ง LPG Fix Mixer
ซึ่งเป็นเทคนิคสำหรับการปรับตั้งโดยอาศัยสัมผัส เป็นเครื่องวัดและประเมินผล
สัมผัสที่ว่าคือ การฟัง เสียงเครื่อง สะดุดหรือไม่ สะดวกหรือเปล่า เสียงปลายท่อหวานแค่ไหนเวลาเร่ง
การดู เขม่าปลายท่อ ละอองน้ำที่ปนกับไอเสีย
การดม กลิ่นแกสปลายท่อ
การแตะ ความร้อนที่หม้อต้ม
แต่ยังไม่เคยใช้ลิ้นสัมผัส
ส่วนเครื่องวัดที่ติดรถมา เช่น วัดรอบ วัดอุณหภูมิ จำเป็นต้องใช้งานได้อย่างปกติ
ที่สำคัญที่สุด อย่าลืมต้องมีแกสอยู่ในถังและเปิดใช้ได้อย่างปกติ

1. การจูนระบบ LPG Fix Mixer กับเครื่องคาร์บูเรเตอร์ที่ไม่มีระบบเร่งรอบเมื่อเปิดแอร์
รถยนต์ระบบคาร์บูเรเตอร์ เมื่อจะเปลี่ยนจากเบนซินมาใช้ LPG จำเป็นต้องใช้เบนซินให้หมดคาร์บูเรเตอร์ก่อน
โดยการปิดปั๊ม(สำหรับปั๊มไฟฟ้า) หรือใช้ Solinoid Valve ปิดท่อเบนซินเข้าคาร์บูเรเตอร์
แต่เบนซินที่ยังค้างอยู่ในคาร์บูเรตอร์ก็ยังถูกนำไปใช้สร้างไอดีจนกว่าจะหมด
* ยังไม่รู้ว่ามีการปิดระบบเบนซินแบบทันมีทันใดได้
เมื่อเครื่องเย็นสนิท
1. ถ้าสตาร์ทแกสได้ก็สตารท์แกส ถ้าไม่ได้ก็สตาร์ทด้วยเบนซินรอจนความร้อนประมาณ 75 C
เพราะความร้อนของน้ำในเครื่องประมาณนี้จะถือว่าเครื่องจะเริ่มมสามารถใช้ไอดีเพื่อการเผาไหม้อย่างมีประสิทธิภาพ
วาล์วน้ำหลังปั๊มจะเปิดให้น้ำถ่ายเทความร้อนที่หม้อน้ำ ไม่จำเป็นต้องวนอยู่แถว ๆ เสื้อสูบ ฝาสูบ ท่ออุ่นไอดี
เราก็จะถือเอาเป็นเกณฑ์ว่ามันก็นทำงานกับแกสได้ดีเหมือนกัน
และที่สำคัญต้องแน่ใจว่าระบบโชคอากาศ(อัตโนมัติด้วยความร้อน และหรือไฟฟ้า)ต้องหยุดทำงานแล้ว
ถ้าเป็นระบบโชคอัตโนมือ(ดึงสาย) ก็เลยใช้เสียก่อน
2. เปลี่ยนมาใช้ระบบแกส ณ จุดความร้อนนี้ ถ้าเกจ์ความร้อนเสีย ก็ใช้มือสัมผัสเอาที่หม้อน้ำ(ไม่ควรใช้อวัยวะอื่นเพราะไม่สะดวก)
ตอนนี้ให้ทดสอบความร้อนของหม้อต้มแกส แตะที่ท่อน้ำร้อนเข้าหม้อต้มควรจะรู้สึกว่ามีความร้อนพอ ๆ กับท่อน้ำที่หม้อน้ำ
ถ้าร้อนน้อยกว่ามาก หรือแทบจะไม่ร้อนเลย ให้แก้ไขจุดนี้ก่อน
*ปกติท่อน้ำร้อนที่ต่อเข้าหม้อต้มควรต่อจากท่อน้ำร้อนจากฝาสูบ
ถ้าเป็น PG 505 ให้หาจุดต่อจากฝาสูบ เข้าหม้อต้ม ออกจากหม้อต้ม ไปเข้าโช้ค แล้วออกไปที่แท่นอุ่นไอดี ไปที่สายน้ำหลังปั๊มน้ำ
(แต่จริง ๆ เวลาเครื่องทำงานทิศทางการไหลของน้ำจะกลับกัน คือ จากปั๊มมาแท่นอุ่นไอดี ไปโช้ค เข้าหม้อต้ม ไปฝาสูบ ลงเสื้อสูบ กลับไปปั๊ม)
จนกว่าวาล์วน้ำจะเปิด

3. การตั้งส่วนผสมรอบเดินเบา
  3.1 ตรวจสอบว่า Idle Screw ถูกเปิดอยู่หรือไม่ (ถ้ามันเปิดอยู่จะได้ยินเสียงแกสไหลดังซี๊ด ถ้าไม่ได้ยินแสดงว่าไม่เปิดหรือเปิดน้อย)
       ให้หมุนออก(เท่าที่ตั้งมาจะประมาณ 1/4 รอบ หรือน้อยกว่า) เอาแค่พอให้ได้ยินเสียงเบา ๆ
  3.2 ปิดการทำงานของไดอะแฟรมปั๊มแกสหม้อต้ม โดยการค่อย ๆ หมุน Sensitive Screw เข้าไป
       ถ้ากำลังเดินเครื่องอยู่มีการลดรอบเครื่องลงให้สันนิษฐานว่ามีการทำงานของปั๊มขณะเครื่องเดินเบา ก็ค่อยลดลงไปอีกจนรอบเครื่องนิ่งก็พอ
  3.3 ปรับส่วนผสมรอบเดินเบา โดยค่อย ๆ หมุน Idle Screw ออกมาก่อน จนถึงจุดเกือบจะดับก็ค่อย หมุนกลับเข้าไป
       ให้ใกล้เคียงกับรอบเดินเบาของการเดินเครื่องด้วยเบนซินที่สุด
       ซึ่งเป็นการตั้งค่าส่วนผสมรอบเดินเบา ง่าย ๆ แค่นี้
4. การตั้งส่วนผสมรอบเดินหนัก(เร่งรอบ)
 4.1 กรณีที่มีระบบเร่งรอบ(อัตโนมัติ)เมื่อเปิดแอร์ และเปิดใช้ได้ตามปกติด้วยการเดินเครื่องด้วยเบนซิน
  4.1.1 ตอนนี้คาดว่าปั๊มแกสในหม้อต้มยังไม่ทำงาน(เพราะถูกบังคับด้วย Sensitive Screw ไว้แล้วตาม 3.2)
          ให้ค่อย ๆ ปรับ Sensitive Screw จนกว่าเครื่องจะเร่งรอบขึ้นเองโดยการกระตุ้นของระบบเร่งรอบ(อัตโนมัติ)เมื่อเปิดแอร์
          เอาแค่มันเร่งขึ้นก็พอ เพราะเมื่อปั๊มมันเริ่มทำงานได้เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแรงดูด(ที่คาดว่าต่ำที่สุดตามความต้องการของเครื่อง)
          มันจะสามารถทำงานได้ต่อไปในรอบเครื่องที่สูงขึ้น
  4.1.2 ปรับ Power valve โดยค่อยหมุนเข้าทีละนิดก่อนเพื่อลดการทำงานหาจุดต่ำสุดระหว่างการทำงานร่วมกันของ Power valve และ Sensitive
         *ให้ใช้สีทำเครื่องหมายบนสกรูของ Power valve หมุนเข้าทีละนิดและหยุดรอผลก่อนประมาณ 10 วินาทีก่อน
         เมื่อพบจุดต่ำสุด คือ เครื่องเริ่มสะดุดเดินไม่นิ่ง (มากเกินก็สะดุดเหมือนกัน) ให้คืนกลับมาเล็กน้อย
         * ตอนนี้เป็นตอนที่หาผลสรุปยากมากว่าจุดใดเป็นจุดที่จะสามารถกำหนดส่วนผสม และตอบสนองการเร่งได้ดีที่สุด
         ส่วนใหญ่จะต้องทดสอบโดยการวิ่งจริง ถ้าไม่มีกำลังขณะเร่ง ก็เปิด Power valve ให้มากขึ้นทีละนิด
4.2 กรณีที่ไม่มีระบบเร่งรอบ(อัตโนมัติ)เมื่อเปิดแอร์
    ขั้นตอนก็คล้าย ๆ กัน เพียงแต่ต้องหมุนล้อบังคับลิ้นเร่งเอาเอง แต่ค่อย ๆ หมุนเร่งขึ้น
    ถ้ายังเร่งไม่ขึ้น ก็ปรับ Sensitive Screw ทีละนิดจนกว่าจะกว่าสามารถขยับขึ้นก็เร่งได้ เป็นพอ
    (ระวังสายเร่งหย่อนเกินเวลาเหยียบคันเร่งจะมีช่วงหายไปนิดหนึ่ง)

กรณีที่เกิดขึ้นเท่าที่เคยพบในปรับตั้งที่คิดว่าไม่สมบูรณ์
ปัญหาที่พบมาเนื่องจากบางครั้งไม่ได้ทดสอบแก้ปัญหาตามสมมติฐานที่ละอย่าง และบางครั้งไปเกี่ยวข้องกับระบบหลักที่ไม่สมบูรณ์
เวลาแก้ปัญหาถ้าจูนนิดหน่อยแล้วไม่ดีขึ้น ส่วนใหญ่ไปแก้ระบบหลัก เช่น ล้างไส้กรองอากาศ อาการก็หายไป
ดังนั้นจะต้องอาศัยการเดินเครื่องด้วยเบนซินเป็นการเทียบตลอด
ถ้าวิ่งด้วยเบนซินแล้วไม่เกิดอาการ ค่อยปรับแก้ระบบ LPG แต่ถ้ามีอาการคล้าย ๆ กันแล้วจะแก้ที่ระบบหลักก่อน

1. ไม่มีกำลังในรอบต่ำ ทดสอบโดยการวิ่งเกียร์สูงในรอบเครื่องเกือบจะถึงรอบเดินเบาแล้วมีอาการกระตุก เปิด Powedr valve น้อยไป
2. ความร้อนสูงเร็ว ผิดปกติ เปิด Powedr valve น้อยไป
3. เร่งได้แรงผิดปกติ เกินเบนซิน เปิด Power valve มาก Sensitive ทำงานเร็ว
ระวังอาการหลายอย่างไม่ได้เกิดจากการจูน แต่เกิดจากส่วนที่เกี่ยวข้อง
เช่น ท่อลมรั่ว แกสสกปรก เขม่าอุดตันใน Vaccum เซนเซอร์เสีย สายสัญญานหลุด
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« ตอบ #14 เมื่อ: วันจันทร์ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2008 เวลา 22:21:11 »


LPG ใน P405 GR
เครื่อง TOTOTA 3S-FE
Fix Mixer แบบฝังในท่อขนาดรูรีดอากาศ ประมาณ 27.5 มม.
(ต้องประมาณเอาเพราะใช้ไม้บรรทัดวัดเอาจากเส้นผ่านศูนย์กลางของประแจบล็อกขนาดที่สอดใส่รูรีดได้)
หม้อต้ม LO GAS ไม่มีกรองแกส

เนื่องจากเครื่องตัวนี้ค่อนข้างมีปัญหามาตั้งแต่ พย.50
ตั้งแต่จานจ่ายเสื่อม สายปลั๊กหัวเทียนชำรุด ท่ออากาศรั่ว Vaccumแอร์เสีย
ต่อท่อลมไม่ถูก ท่อระบายหลังเครื่อง เขม่าในท่อลม ชุดเร่ง(ลิ้นปีกผีเสื่อ)สกปรก สายออกซิเจนเซนเซอร์ขาด
ต้องทยอยแก้ไขมาเรื่อย ๆ พร้อมกับการ Modify Fix Mixer ตั้งแต่ขนาดรูรีด 24 มม. ค่อยไล่มาทีละ 0.5 มม.
จนปัจจุบันมีขนาด ประมาณ 27.5 มม.
ทำท่าเหมือนจะลงตัว อัตราการบริโภคอยู่ประมาณ 9 กม./ลิตร (ขนาดล้อ 195/50/16)
แต่ก็ยังไม่นิ่งจนกระทั่งเมื่อวานเกิดจินตนาการเกี่ยวกับรูปร่างของ Fix Mixer
ว่าการ Modify Fix Mixer มีข้อบกพร่องเกี่ยวกับ
ระยะห่างจากคอขอดของรูรีดอากาศ กับช่องปล่อยแกส

ความเป็นมามีดังนี้
ช่วงที่ปรับรูรีดครั้งแรกที่ทำท่าเหมือนว่าจะพอดีแล้ว คือ ที่ประมาณ 25.5 มม.
แต่ช่วงนั้นเป็นระยะที่อากาศเย็นความหนาแน่นของมวลอากาศสูง หรืออาจจะเกิดจากเซนเซอร์ในชุดเร่งทำงานยังไม่สมบูรณ์ก็ได้
แต่เมื่อเข้าเดือนมกราคม อากาศเริ่มอุ่นขึ้น
อาการเครื่องสะดุด(ในการใช้เบนซินและแกส)เริ่มปรากฏ เขม่าปลายท่อเริ่มมากขึ้น
สันนิษฐานว่าอากาศไม่พอ จึงขยายรูรีดเป็น 26 ไปจนถึง 27.5
ขณะเดียวกันก็ทำความสะอาดท่อลมในระบบไอดีจนเขม่าเหลือน้อย
แต่อาการกลับไม่ดีขึ้นเท่าที่ควรจะเป็น
จนมานึกถึงการขยายรูรีด ทำให้ช่องปล่อยแกสเข้ามีระยะใกล้เข้าชิดกับคอขอดมากเกินไป
ทำให้ช่องสูญญากาศมีระยะสั้นเกินไปการดูดแกสในรอบต่ำทำได้น้อย ทำให้มีการสะดุดในจังหวะเร่งรอบ(เช่นตอนเปลี่ยนเกียร์)
จึงลองคิดเพิ่มระยะช่องปล่อยแกสกับคอขอดโดยการกลึงปาดหลัง(มีภาพ)
เอาใส่กลับเข้าไปโดยไม่ปรับตั้งอะไรเลย ผลปรากฏว่าอาการสะดุดในจังหวะเร่งรอบตอนเปลี่ยนเกียร์ไม่เกิดขึ้นอีก
จึงได้นำมาบอกกล่าว หวังว่าจะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้บ้างไม่มากก็น้อย
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« ตอบ #15 เมื่อ: วันจันทร์ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2008 เวลา 22:23:13 »


ไดอะแกรมการปรับระยะสูญญากาศ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« ตอบ #16 เมื่อ: วันจันทร์ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2008 เวลา 22:36:43 »


จากไดอะแกรม
1. แนว Fix Mixer เดิมเส้นสีดำ จะเห็นว่าช่องปล่อยแกส(เส้นสีน้ำเงิน)มีระยะห่างจากคอขอด
ทำให้เกิดสูญญากาศบริเวณนี้ ซึ่งมีปริมาณช่องว่างพอสมควร
2. เมื่อขยายรูรีดอากาศ(ในแนวเส้นสีแดง) จะเห็นว่าช่องปล่อยแกส(เส้นสีน้ำเงิน)มีระยะห่างจากคอขอดน้อยมาก
ทำให้มีปริมาณช่องว่างน้อยเกินไปสำหรับการกระตุ้นแผ่นไดอะแฟรมของหม้อต้มในรอบต่ำ
3. ส่วนแนวปาดช่องรีด (แนวเส้นสีชมพู) เป็นการรักษาพื้นที่ในการรีดอากาศหลังการขยายช่องรีด
4. เพื่อรักษาระยะห่างจากคอขอดกับช่องปล่อยแกสจึงสร้างแนวปาดรักษาระยะช่องปล่อยแกส(แนวเส้นสีส้ม)
จะทำให้ช่องปล่อยแกสต่ำลงมาเพิ่มระยะช่องว่างหลังคอขอดได้อีก
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« ตอบ #17 เมื่อ: วันอังคารที่ 05 กุมภาพันธ์ 2008 เวลา 13:02:55 »


การปรับจูนหลังการปรับ Fix Mixer
ที่อุณหภูมิน้ำประมาณ 72 C รถจอด
ใช้รอบเดินเบาประมาณ 1000 รอบ(ไม่แน่ใจว่าเกจ์วัดรอบทำงานเที่ยงหรือไม่)
1. เปิด Idle Screw เพิ่มอีกประมาณ 1/8 รอบ (ต้องชดเชยการทำงานของปั๊มในหม้อต้ม)เพื่อรักษาอัตราส่วนผสมไอดี
2. ลดSensitive Screw ได้อีก ครึ่งรอบ(แสดงว่าFix Mixer ตอบสนองต่อแรงดูดอากาศในรอบต่ำดีขึ้น)
ยังไม่ปรับ Power Valve

ผลการทำงานของเครื่องยนต์ขณะใช้ระบบแกส
การตอบสนองในการเร่งรอบจากรอบต่ำไม่มีการสะดุด
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
สิงห์ รฟท.
สิงห์ประถม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 38


« ตอบ #18 เมื่อ: วันพุธที่ 06 กุมภาพันธ์ 2008 เวลา 12:31:01 »


สวัสดีครับ คุณzebre...
...ผมเข้ามาอ่านแล้ว ได้ประโยชน์มากเลยครับ...
...พอดีมีเพื่อนที่ใช้ PG505 ปี85 เครื่องคาร์บิว 2000 cc. เขาจะติด LPG อยู่...เขาอยากจะทราบว่าจะแปลงกรองอากาศเพื่อจะติด Fix Mixer ได้อย่างไร เห็นบอกว่าให้ "ใช้ท่ออากาศของ Izusu กลับด้านและปรับปรุงนิดหน่อยทำให้ครอบปากคาร์บูรูปวงรีได้อย่างสนิท" ไม่ทราบว่าพอจะมีรูปถ่ายไว้ให้ดูบ้างไหมครับ...และค่าอุปกรณ์ราคาสักเท่าไร...
...อีกอย่างที่เกี่ยวกับการตัดการใช้น้ำมันช่วงที่ใช้ LPG และตัดกลับมาใช้น้ำมันอย่างเดิม ช่วงที่ไม่ใช้ LPG มีเทคนิคทำอย่างไร ใช้อุปกรณ์ และวิธีทำอย่างไรครับ...
...Fix Mixer ที่ใช้เป็นแบบชนิดไหน(เป็นแบบเฉพาะที่ใช้กับ PG505 เลยหรือเปล่าครับ) ขนาด และราคาเท่าไรครับ...
...ขอขอบพระคุณแทนเพื่อนที่ใช้ PG505 ด้วยนะครับ...สำหรับผมใช้ PG306 ก็กำลังจะหาข้อมูลเพื่อติด LPG อยู่เหมือนกันครับ...ขอบพระคุณมากครับ...สิงห์ รฟท. ([email protected])...(ถ้าจะกรุณาให้เบอร์โทร.ติดต่อได้จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
credor
เซียนสิงห์
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,293


เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: วันพุธที่ 06 กุมภาพันธ์ 2008 เวลา 16:02:54 »


แจ๋วเลยครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« ตอบ #20 เมื่อ: วันพุธที่ 06 กุมภาพันธ์ 2008 เวลา 21:46:33 »


Fix Mixer LPG ใน P505
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« ตอบ #21 เมื่อ: วันพุธที่ 06 กุมภาพันธ์ 2008 เวลา 21:48:42 »


ภาพ LPG แบบ Fix Mixer ใน PG505
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« ตอบ #22 เมื่อ: วันพุธที่ 06 กุมภาพันธ์ 2008 เวลา 21:50:29 »


Mixer 1
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zebre
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 201


« ตอบ #23 เมื่อ: วันพุธที่ 06 กุมภาพันธ์ 2008 เวลา 21:52:17 »


Mixer ด้านอากาศเข้า
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.20 | SMF © 2006-2008, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF | Sitemap Valid XHTML 1.0! Valid CSS!