สัญญาณจากปีกผีเสื้อ คือค่าความเปลี่ยนแปลงของกำลังดันไฟ (โวล์ท) รถรุ่นเก่าที่คุณ SUM บอกมา ไม่ทราบว่าเก่าขนาดไหน มีอีเลคทรอนิคส์ควบคุมหรือเปล่า (ECU) ถ้าไม่มีก็จะไม่มีการติดตั้งตัวต้านทานที่ปีกผีเสื้อ การทำงานเหมือนลูกบิดหรีเสียงของวิทยุอะไรทำนองนี้ คือ ECU จะส่งกระแสไฟประมาณ 3 ถึง 5 โวล์ท ไปที่ตัวต้านทานนี้ แกนของเจ้าตัวนี้จะต่อเข้ากับแกนปีกผีเสื้อ คือมันจะขยับไปมาเมื่อเราเร่งเครื่อง ก็อย่างที่บอกว่ามันเหมือนวอลลุ่มวิทยุ เร่งมากก็เหมือนกับเร่งเสีย กระแสไฟก็จะผ่านมาก เร่งน้อยหรือไม่ได้เร่งเลย ก็เหมือนกํบหรี่วอลลุ่ม คือกระแสไฟก็ออกน้อย กระแสไฟมากน้อยนี้ ก็จะเป็นสัญญาณไปแจ้งให้กับ ECU ซึ่งมันจะทำการคำนวนว่า ขณะที่เร่งคือปล่อยกระแสไฟมามากนี้ จำนวนรอบอยู่ที่ใดคือหากรอบต่ำแต่เร่งแรง ECU มันก็จะไปสั่งให้การจุดระเบิดล่วงหน้าไปมากหน่อย รถก็มีแรงพุ่ง สมมุติว่า ในขณะรถช้า แต่เราอยากเร่งแซง เราก็เหยียบมากหน่อย กระแสไฟที่ปล่อยออกจากปีกผีเสื้อสมมุติว่า 3 โวล์ท ในขณะที่รอบอยู่ที่ 1000 รอบต่อนาที การจุดระเบิดก็ถูกสั่งให้จุดก่อนประมาณ 15 องศา อย่างต่อเนื่อง เราก็ยังเหยียบในอัตราส่วนเท่าเดิมคือ 3 โวล์ท แต่รอบเครื่องมันไต่ขึ้นมาอยู่ที่ 3000 รอบต่อนาทีแล้ว ECU คำนวนว่า พอแล้ว ก็จะลดการจุดระเบิดล่วงหน้าเป็นอัตราปกติคือประมาณ 7 ถึง 10 องศาก่อนศูนย์ตายบน เครื่องก็วิ่งเรียบ
MAP มาจากคำว่า Inlet Manifold Pressure มีหน้าที่อยู่ 2 อย่างคือ แจ้งสัญญาณ เป็น โวล์ทเหมือนกัน ไปที่ ECU ลักษณะเป็นเหมือนวอลลุ่มเช่นกัน คือเปลี่ยนค่ากำลังดันไฟ (โวล์ท) ตามแต่แรงดูดของลมในช่องอากาศเข้าเครื่อง ลมดูดมาจากการที่ลูกสูบเคลื่อนตัวลงในจังหวะดูด ซึ่งจะมีแรงดูดมหาศาล ลองหลับตานึกดูนะว่า 2 รอบเครื่องจตะมีการดูดของลูกสูบ 1 ครั้ง เครื่องยนต์วิ่งที่ 3000 รอบต่อนาที่ หมายถึง ใน 1 นาที่ ลูกสูบจะดูโถง 1500 ครั้ง เอา 60 หารเข้าไป จะเป็น 25 ครั้งต่อวินาที แยะนะ และหัวเทียนก็ต้องจุดประกาย 1500 ครั้งต่อนาทีหรือ 25 ครั้งต่อวินาทีเช่นกัน มันทำไม่ได้หรอก จุดแค่ 15 ครั้งต่อวินาทีก็หรูแล้ว เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ใครอยากประหยัดน้ำมันก็หาหัวเทียนดีๆ หน่อย อาจจะแพงแต่ก็คุ้ม เพราะมันจุดได้เกือบทุกครั้ง การเผาไหม้ก็จะดีกว่า เราไม่รุ้สึกหรอกว่าบางครั้งมันไม่ได้จุดระเบิด ก็อย่างที่บอก 25 ครั้งต่อการดีดนิ้วทีเดียว มันจะขาดไปสัก 5 ครั้ง 10 ครั้ง เราก็ไม่ค่อยรู้สึก มารู้ก็ตอนบ่นว่า กินน้ำมันจัง
กลับมาพูดเรื่อง MAP คือเมื่อมีลมดูด ค่ากำลังดันไฟ (โวล์ท) เปลี่ยน เมื่อ ECU รับรู้ ก็จะไปทำการคำนวนกับรอบเครื่องและสัญญาณจากปีกผีเสื้อ มันก็เป็นตัวแปรในการเปลี่ยนองศาการจุดระเบิดล่วงหน้าได้เหมือนกัน อีกหน้าที่หนึ่ง (เฉพาะรถบางรุ่นที่มีหัวฉีด) มันจะเป็นตัวปรับแรงดันในท่อร่วมหัวฉีด ให้แรงดันน้ำมันมากน้อย รถบางยี่ห้อ เช่น เบ็นซ์ บีเอ็ม จะเป็นคำสั่งจังหวะของการฉีดหัวฉีด บางขณะที่ลมดูดมาก จะกำหนดให้ฉีด 2 ครั้ง อะไรทำนองนี้
สัญญาณวัดรอบ รถรุ่นเก่าๆ ที่ใช้คอล์ย Coil และมีจานจ่าย จะเป็นระบบคอนแทก หรือระบบแม่เหล็ก ก็จะมีการป้อนสัญญาณไฟลบมาที่ขั้วลบของคอล์ยเป็นจัวหวะ pulse คนไทยเราเรียกว่า "พั้น" คือมาเป็นจุดๆ ก็มีการอ่านกันว่า ในหนึ่งวินาที่จะมากี่จุด แล้วมันก็จะแปลงค่าของจุดที่มาเป็นกำลังดัน (โวล์ท) ไปป้อนแม่เหล็กให้ดูดเข็มขึ้นลงขนาดไหน เราก็สามารถมองค่าได้ว่ากีรอบต่อนาที ส่วนรถรุ่นใหม่ๆ ที่มี ECU จะไปต่อที่ คอล์ย ไม่ได้ คอล์ยจะไหม้ เขาจะมีขาออกจาก ECU ไปที่เกจวัดรอบให้ อย่าต่อเอง ให้ผู้รู้ต่อให้ดีกว่า เสียไม่กี่สตางค์ คอล์ยไหม้ก็เสียหลายพันบาท สัญญาณวัดรอบนี้ ช่างที่ติดตั้ง NGV เขาเอาไปกำหนดค่าของการเริ่มเปิดระบบใช้ก๊าซ เนื่องจากธรรมชาติของ NGV จะจุดระเบดช้า กำลังจะตกนิดหน่อย หากเปลี่ยนจากการใช้น้ำมันเบ็นซินไปใช้ NGV ที่รอบต่ำ โอกาสที่เครื่องจะดับมีมาก เขาจึงกำหนดให้มีการเปลี่ยนกันที่ประมาณ 1700 ถึง 2000 รอบต่อนาที เครื่องจะไม่ดับ เปลี่ยนแล้วก็เปลี่ยนเลย จะหยุดใช้ NGV ก็ต่อเมื่อก๊าซหมด หรือดับเครื่อง และ NGV ไม่สามารถสตาร์ทเครื่องได้อย่าง LPG เพราะมันติดไฟยากกว่า
Lambda ก็ทำหน้าที่เหมือนกันกับ MAP เป็นตัวตรวจว่า ในท่อไอเสียมีความหนาแน่นของอ๊อกซิเจนเท่าไร ซึ่งจะแปลงสัญญาณส่งให้ ECU เป็นกำลังดันไฟ (โวล์ท) เหมือนกัน แต่ออกมาน้อนมาก ตั้งแต่ 0.01 โวล์ล ถึง 1 โวล์ท เท่านั้น ค่าสมบูรณ์อยู่ที่ประมาณ 0.45 โวล์ท หากเกินกว่านั้นแปลว่า อ๊อกซิเจนมีน้อย คือส่วนผสมหนาเกินไป มันก็จะลดแรงดันในท่อน้ำมันร่วมของหัวฉีด ให้ฉีดน้ำมันน้อยหน่อย หากค่าออกมาน้อยกว่า 0.45 โวล์ท ก็แปลว่าส่วนผสมบาง คือมีอ๊อกซิเจนมากเกินไป มันกํจะไปเพิ่มแรงดันในท่อร่วมของหัวฉีด เพื่อให้ฉีดน้ำมันมากขึ้น ก็เท่านั้น
Lambda กับ Oxygen sensor ทำหน้าที่เหมือนกัน แต่ตัวมันไม่เหมือนกัน คือ กว่ามันจะทำงานได้ ต้องได้รับความร้อนถึง 350 องศาเซลเซียส ก่อน เพื่อให้ Ceramic Compound ที่อยู่ในตัวมันร้อนก่อน ก็ประมาณ 3 นาทีหลังจากสตาร์ทเครื่อง ทีนี้ ในต่างประเทศบางแห่งหนาวมากๆ ลบกว่า 10 องศา เรียกว่าถุยน้ำลายยังไม่ถึงพื้นก็แข็วตัวแล้ว เขาจึงคิดค้นสร้างให้มี Heater ในตัว พวกนี้เรียกตามชื่อผู้ค้นคิดว่า Lambda จะมีสายไฟ 3 ถึง 4 เส้น 2 สาย จะเป็นไฟขั้วลบ และบวก ไปเลี้ยงขดลวดความร้อนในตัว เหมือนกับไดย์เป่าผม อีกอันหนึ่ง เรียกว่า Oxygen Sensor มีสายเดียว ทำหล้าที่ปล่อยไฟขั้วลบออกมา แต่มันมาไม่เต็ม ต้องผ่านตัวต้านทาน ซึ่งจะเปลี่ยนค่าไปตามความเข้มของอ๊อกซิเจนตามที่ได้อธิบายแต่ต้น เมืองไทยเราไม่จำเป็นต้องใช้แบบที่มีขอลวดความร้อนข้างใน มันแพงกว่าธรรมดามาก แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังนิยมใช้เพราะชื่อมันฟังแล้วเท่ดี คุยกับเขาได้ว่าติด Lambda
ผมมันมือใหม่ในที่นี้ ก็เลย แนบรูปภาพไม่เป็น ไม่อย่างนั้นจะ แนบ รูป Sensor พวกนี้มาให้ดูกัน อยากรู้อะไรก็ถามมานะครับ ยินดีอธิบายให้เป็นวิทยาทาน ผมเป็นวิศวกรเครื่องยนต์จาก Munich-GERMANY ครับ

